ขี้กาแดง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ขี้กาแดง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Cucurbitales
วงศ์: Cucurbitaceae
สกุล: Gymnopetalum
สปีชีส์: G.  integrifolim
ชื่อทวินาม
Gymnopetalum integrifolim
ชื่อพ้อง

Trichosanthes japonica

ขี้กาแดง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gymnopetalum integrifolim Kurz.) ชื่ออื่น ๆ แตงโมป่า มะกาดิน ขี้กาขาว

ลักษณะ[แก้]

เป็นไม้เถาเลื้อย ลำเถาอวบน้ำและสากมีขนสีขาวสั้นตั้งตรงเกาะติดหนาแน่น ใบเป็นใบเดี่ยว การเกาะติดของใบบนกิ่งแบบเวียนและมีหนวดที่โคนก้านใบ ใบรูปไข่เกือบกลม 5 เหลี่ยม ขนาดประมาณ 10 x 15 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนเว้าเป็นติ่งหู ขอบหยักบิดเป็นคลื่น แผ่นใบผิวหยาบสากเป็นลอนตามรอยกดเป็นร่องของเส้นใบ หลังใบมีขนสั้นสีขาวจำนวนมาก ก้านใบสีเขียวอ่อนแกมเหลืองยาว มีขนชนิดเดียวกัน ดอกเป็นดอกเดี่ยวแยกเพศกัน เกิดที่ซอกใบ ดอกสีขาวกลีบดอกส่วนโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดส่วนปลายแยกเป็นกลีบ 4 - 5 กลีบ ดอกเพศเมียที่ฐานดอกมีรังไข่ทรงกลม ดอกเพศผู้ไม่มีรังไข่ ผลทรงกลมโตเท่าผลส้มเขียวหวาน ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียว มีริ้วสีขาวจาง ๆ ผลสุกนั้นจะมีสีแดงห้อนเป็นระย้า ผลสุกใช้ตากแห้งจะแข็งและหนา ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดทรงกลมรีแบนมีเยื่อหุ้มเมล็ดเป็นเมือกใสสีเขียวเข้มเกือบดำ เยื่อหุ้มเมล็ดจะมีสีเขียวเข้ม [1]

ขี้กาแดงเป็นพืชมีพิษ ผลเมื่อรับประทานแล้วทำให้ท้องเดินอย่างแรง[2] เมล็ดมีพิษ ถ้ารับประทานเพียงเล็กน้อยทำให้เสียชีวิตได้

สรรพคุณ[แก้]

  • ใบ รสขม ตำพอกฝี ทาแก้โรคผิวหนังอักเสบ
  • หัว รสขม บำรุงหัวใจ แก้ม้ามย้อย ตับโต หรืออวัยวะในช่องท้องบวมโต
  • ราก รสขม บำรุงน้ำดี แก้ไข้ ดับพิษไข้ แก้ปวดศีรษะ แก้จุกเสียด บดทาฝีฝักบัว แก้ตับโต ม้ามย้อย อวัยวะในช่องท้องบวมโต
  • ผล รสขม บำรุงน้ำดี แก้พิษเสมหะและโลหิต ถ่ายพิษเสมหะให้ตก แก้พิษตานซาง แก้ตานขโมย ขับพยาธิ เป็นยาถ่ายอย่างแรง ใช้ควันรม แก้หืด
  • ทั้งเถา รสขม ต้มอาบ แก้เม็ดผดผื่นคัน แก้ไข้หัว ไข้พิษ ไข้กาฬ ต้มดื่ม บำรุงน้ำดี ขับเสมหะ ดับพิษ แก้ไอเป็นเลือด[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2007-11-11.
  2. เศรษฐมนตร์ กาญจนกุล. ไม้มีพิษ. กทม. เศรษฐศิลป์. 2552
  3. ขี้กาแดง โดย www.chiangmainews.co.th [ลิงก์เสีย]