กโนม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
The GNOME Project
นักพัฒนาThe GNOME Project
รุ่นเสถียร
3.32.1[1]  (10 เมษายน 2019; 4 ปีก่อน (2019-04-10))
ที่เก็บข้อมูล
ระบบปฏิบัติการหลายระบบปฏิบัติการ
ประเภทDesktop environment
สัญญาอนุญาตGPL และ LGPL
เว็บไซต์gnome.org

โครงการ GNOME เป็นการสร้างแพลตฟอร์มทางคอมพิวเตอร์ ที่เป็นซอฟต์แวร์เสรี โดยมีเป้าหมายคือสร้างชุดเครื่องมือที่ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างโปรแกรมขึ้นมาได้ง่าย รวมไปถึงสิ่งแวดล้อมเดสก์ท็อป (desktop environment - ซอฟต์แวร์ที่ใช้เรียกซอฟต์แวร์อื่น ทำหน้าที่จัดการกับไฟล์และระบบหน้าต่าง)

มีซอฟต์แวร์จำนวนมากที่ถูกพัฒนาขึ้นใต้โครงการ GNOME ซึ่งมักจะถูกนำไปรวมเป็นส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการบางชนิด เช่น ลินุกซ์ หรือ โซลาริส เป็นต้น

GNOME เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ GNU และเป็นสภาวะการทำงานแบบเดสก์ท็อปหลักของ GNU ด้วย GNOME

ประวัติ[แก้]

โครงการ GNOME เริ่มขึ้นในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1997 โดย Miguel de Icaza และ Federico Mena เพื่อเป็นทางเลือกของระบบเดสก์ท็อป KDE เนื่องจากว่าโครงการ KDE ในขณะนั้นได้พัฒนาบน widget toolkit ชื่อ Qt ซึ่งขณะนั้นไม่ได้เป็นซอฟต์แวร์เสรี[2]

GNOME เลือกใช้ widget toolkit ชื่อ GTK+ ซึ่งใช้สัญญาอนุญาตแบบ GNU Lesser Public License (LGPL) ดังนั้น GNOME จึงมีสัญญาอนุญาตใช้งาน 2 แบบคือ LGPL สำหรับไลบรารีต่างๆ และ GPL สำหรับระดับแอปพลิเคชัน

เดิมที GNOME ย่อมาจาก 'ภูติแคระ' ซึ่ง Elliot Lee ผู้คิดชื่อนี้ต้องการให้ GNOME มีลักษณะเป็นเฟรมเวิร์คแบบ distributed object เช่นเดียวกับ OLE[3] ของไมโครซอฟท์ ปัจจุบันโครงสร้างของ GNOME ไม่ได้ใช้แนวคิดนี้แล้ว ชื่อเต็มของโครงการจึงถูกเลิกใช้ไป สมาชิกบางคนของโครงการได้เปลี่ยนวิธีเขียนชื่อจาก GNOME มาเป็น Gnome แทน[4]

โครงสร้าง[แก้]

GNOME ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก [5] ได้แก่

  • GNOME desktop environment - ระบบเดสก์ท็อปที่มุ่งเน้นผู้ใช้ทั่วไป
  • GNOME development platform - เฟรมเวิร์คในการพัฒนาโปรแกรมสำหรับใช้งานบนระบบเดสก์ท็อป

เป้าหมายของโครงการ GNOME คือสร้างซอฟต์แวร์ที่ใช้ได้อย่างเสรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย เป็นมิตรกับผู้ใช้ สนับสนุนการใช้งานของผู้ด้อยความสามารถ และสนับสนุนภาษาต่างๆ ให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้

ทางด้านการจัดการโครงการนั้น มีการตั้งมูลนิธิ GNOME ขึ้นมาในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1998 เพื่อทำงานบริหารจัดการและประชาสัมพันธ์ ทางมูลนิธิจะเปิดรับสมัครคณะกรรมการใหม่เป็นประจำทุกปีในเดือนพฤศจิกายน

นักพัฒนาและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับ GNOME จะจัดงานประชุมขึ้นปีละครั้งชื่อว่า GUADEC เพื่อพูดคุยหาทิศทางการพัฒนา GNOME ในอนาคต [6]

แพลตฟอร์ม[แก้]

จากเดิมที่ตั้งใจให้ทำงานได้กับ GNU ปัจจุบัน GNOME สามารถทำงานบนระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ได้เกือบทุกชนิด และถูกนำไปใช้เป็นฐานในการพัฒนา Java Desktop System ซึ่งเป็นส่วนติดต่อผู้ใช้ตัวใหม่ของระบบปฏิบัติการโซลาริสแทนระบบ Common Desktop Environment นอกจากนี้ GNOME ยังถูกเลือกให้เป็นระบบเดสก์ท็อปหลักของลินุกซ์หลายยี่ห้อ เช่น Fedora และ Ubuntu รายชื่อของลินุกซ์ที่ใช้ GNOME สามารถอ่านได้จากเว็บไซต์ของ GNOME[7]

GNOME ยังมีในแบบ LiveCD ซึ่งนำไปใช้บนคอมพิวเตอร์โดยไม่ต้องติดตั้ง มีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้ใช้หน้าใหม่ได้สัมผัสกับ GNOME และทำความคุ้นเคยก่อนติดตั้งใช้งานจริง[8]

ส่วนประกอบทั้งหมดของ GNOME สามารถทำงานได้บน Cygwin ซึ่งช่วยให้โปรแกรมของ GNOME ทำงานบนระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์วินโดวส์ได้

แอปพลิเคชัน[แก้]

โปรแกรมเหล่านี้เป็นโปรแกรมที่ถูกออกแบบมาใช้กับโครงการ GNOME

รวมเป็นส่วนหนึ่งของ GNOME[แก้]

โปรแกรมกลุ่มนี้จะออกพร้อมกับ GNOME desktop

ไม่ได้รวมเป็นส่วนหนึ่งของ GNOME[แก้]

โปรแกรมเหล่านี้ใช้เทคโนโลยีพื้นฐานของ GNOME และมักจะถูกใช้คู่กับ GNOME เช่นกัน

อ้างอิง[แก้]

  1. Catanzaro, Michael (2019-04-10). "GNOME 3.32.1 released!". GNOME Mail Services (Mailing list). สืบค้นเมื่อ 2019-05-12.
  2. Richard Stallman (2000-09-05). "Stallman on Qt, the GPL, KDE, and GNOME". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-19. สืบค้นเมื่อ 2005-09-09.
  3. Pennington, Havoc (1999). "GTK+ / Gnome Application Development". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-11. สืบค้นเมื่อ 2006-09-08.
  4. "Desktop Development mailing list". สืบค้นเมื่อ 2006-05-07.
  5. "About GNOME". สืบค้นเมื่อ 2005-09-08.
  6. "About GUADEC".
  7. "Distributions that ship GNOME as their Default Desktop". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-17. สืบค้นเมื่อ 2007-02-18.
  8. "The official GNOME LiveCD".

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]