กูเกิล เวิร์กสเปซ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก กูเกิล แอปส์)
กูเกิล เวิร์กสเปซ
นักพัฒนากูเกิล
วันที่เปิดตัวกุมภาพันธ์ 2006; 18 ปีที่แล้ว (2006-02) (ในชื่อ "Gmail for Your Domain")
ประเภทชุดโปรแกรมออฟฟิศออนไลน์
สัญญาอนุญาตไทรอัลแวร์ (ขายปลีก, การซื้อลิขสิทธิ์แบบจำนวนมาก)
เว็บไซต์workspace.google.com

กูเกิล เวิร์กสเปซ (อังกฤษ: Google Workspace;[1] เป็นที่รู้จักกันก่อนในชื่อ กูเกิลแอปส์; อังกฤษ: Google Apps และต่อมา จีสวีต; อังกฤษ: G Suite) เป็นชุดโปรแกรมการประมวลผลแบบคลาวด์ สำหรับเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและการทำงานร่วมกัน และเป็นซอฟต์แวร์ซอฟต์แวร์ที่กูเกิลให้บริการโดยผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิก

ชุดโปรแกรมนี้รวมเว็บแอปพลิเคชันยอดนิยมของกูเกิล ซึ่งรวมถึง จีเมล, กูเกิล ไดรฟ์, กูเกิล แฮงเอาท์, กูเกิล ปฏิทิน และกูเกิล เอกสาร[2]แม้ว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะให้บริการสำหรับผู้บริโภคแบบไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ Google Apps for Work เพิ่มคุณลักษณะสำหรับธุรกิจโดยเฉพาะ เช่น ที่อยู่อีเมลแบบกำหนดเองที่โดเมนของคุณ (@บริษัทของคุณ.com) พร้อมพื้นที่จัดเก็บอย่างน้อย 30 GB สำหรับเอกสารและอีเมล รวมถึงการสนับสนุนทางโทรศัพท์และอีเมลทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง[3] ในฐานะที่เป็นโซลูชันการประมวลผลแบบคลาวด์ Google Apps จึงมีแนวทางที่แตกต่างไปจากซอฟต์แวร์ที่เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานที่วางจำหน่ายทั่วไป โดยจะจัดเก็บข้อมูลของลูกค้าในเครือข่ายศูนย์ข้อมูล[4] ปลอดภัยของกูเกิลแทนการจัดเก็บแบบดั้งเดิมที่เก็บรักษาไว้ในเซิร์ฟเวอร์ภายในองค์กรที่ตั้งอยู่ภายในบริษัท[5]

กูเกิลได้ระบุไว้ว่ามีองค์กรกว่า 5 ล้านองค์กรทั่วโลกใช้ Google Apps โดย 60 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทที่ติดอันดับ Fortune 500 ก็ใช้โปรแกรมดังกล่าวเช่นเดียวกัน[6]

ประวัติ[แก้]

  • 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 - คนสร้างคือไอโก๋[7]
  • 28 สิงหาคม พ.ศ. 2549 - Google เปิดตัว Google Apps for Your Domain ซึ่งเป็นชุดแอปสำหรับองค์กร ซึ่งพร้อมให้บริการในรูปแบบผลิตภัณฑ์เบต้าซึ่งรวมถึง Gmail, Google Talk, Google ปฏิทิน และ Google Page Creator ซึ่งถูกแทนที่ด้วย Google Sites เดฟ จิราวด์ รองประธานบริหารและผู้จัดการฝ่ายองค์กรธุรกิจของ Google ในขณะนั้นได้สรุปประโยชน์ของ Google Apps สำหรับลูกค้าภาคธุรกิจไว้ว่า "องค์กรต่างๆ สามารถวางใจให้ Google เป็นผู้เชี่ยวชาญในการมอบบริการอีเมล การรับส่งข้อความ และบริการอื่นๆ บนเว็บที่มีคุณภาพสูง ในขณะที่พวกเขามุ่งเน้นการทำงานด้านความต้องการของผู้ใช้และธุรกิจในแต่ละวันของพวกเขา"[8]
  • 10 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - Google Apps เปิดตัวรุ่นใหม่สำหรับสถานศึกษาโดยเฉพาะ โดยใช้ชื่อว่า Google Apps for Education[9]
  • 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 - Google เปิดตัว Google Apps Premier Edition ซึ่งแตกต่างจากเวอร์ชันฟรีโดยมอบพื้นที่จัดเก็บที่มากขึ้น (10 GB ต่อบัญชี), API สำหรับการประยุกต์แอพพลิแคชั่นทางธุรกิจ และข้อตกลงระดับบริการที่มีความพร้อมให้บริการ 99.9% เวอร์ชันนี้มีค่าใช้จ่ายบัญชีละ 50 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี Google ระบุว่าบริษัทที่ใช้ Google Apps Premier Edition เป็นรายแรกๆ ได้แก่ พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล, San Francisco Bay Pediatrics และ Salesforce.com[10]
  • 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 - Google เปิดตัว Google Apps Premier Edition ซึ่งแตกต่างจากเวอร์ชันฟรีโดยมอบพื้นที่จัดเก็บที่มากขึ้น (10 GB ต่อบัญชี), API สำหรับการประยุกต์แอพพลิแคชั่นทางธุรกิจ และข้อตกลงระดับบริการที่มีความพร้อมให้บริการ 99.9% เวอร์ชันนี้มีค่าใช้จ่ายบัญชีละ 50 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี Google ระบุว่าบริษัทที่ใช้ Google Apps Premier Edition เป็นรายแรกๆ ได้แก่ พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล, San Francisco Bay Pediatrics และ Salesforce.com[11]
  • 25 มิถุนายน พ.ศ. 2550 - Google ได้เพิ่มคุณลักษณะอีกหลายรายการลงใน Google Apps ซึ่งรวมถึงการย้ายเมล ที่ทำให้ลูกค้าสามารถโอนข้อมูลของอีเมลที่มีอยู่จากเซิร์ฟเวอร์ IMAP อื่นๆได้[12] บทความของแซดดีเน็ต กล่าวว่าตอนนี้ Google Apps มอบเครื่องมือสำหรับการเปลี่ยนจากเอ็กซ์เชนจ์ เซิร์ฟเวอร์และโลตัส โน้ต และจัดให้กูเกิลเป็นตัวเลือกแทนที่ไมโครซอฟท์ และไอบีเอ็ม[13]
  • 3 ตุลาคม พ.ศ. 2550 - 1 เดือนหลังจากการควบรวมบริษัท Postini เข้าเป็นส่วนหนึ่งแล้ว Google ประกาศว่าพวกเขาได้เพิ่มฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยของอีเมลและการปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อบังคับลงใน Google Apps Premier Edition ตอนนี้ลูกค้าสามารถกำหนดค่าการกรองสแปมและไวรัส ออกนโยบายการเก็บรักษา กู้คืนข้อความที่ลบไปแล้ว และอนุญาตให้ผู้ดูแลระบบสามารถเข้าถึงอีเมลทุกฉบับ[14]
  • 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 - Google เปิดตัว Google Sites ซึ่งเป็นเครื่องมือง่ายๆ ของ Google Apps สำหรับสร้างอินทราเน็ต และเว็บไซต์ทีม[15]
  • 9 มิถุนายน พ.ศ. 2553 - Google เปิดตัว Google Apps Sync สำหรับ Microsoft Outlook ซึ่งเป็นปลั๊กอินที่ทำให้ลูกค้าสามารถซิงค์อีเมล ปฏิทิน และรายชื่อติดต่อระหว่าง Outlook และ Google Apps ได้[16]
  • 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 - Google ประกาศว่าบริการต่างๆ ที่รวมอยู่ใน Google Apps อันได้แก่ Gmail, Google ปฏิทิน, Google เอกสาร และ Google Talk จะไม่เป็นเวอร์ชันเบต้าอีกต่อไป[17]
  • 9 มีนาคม พ.ศ. 2553 - Google เปิดตัว Google Apps Marketplace ซึ่งเป็นร้านค้าออนไลน์สำหรับแอปพลิเคชันสำหรับธุรกิจจากบุคคลภายนอกที่สามารถประสานใช้งานร่วมกับ Google Apps เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าและซอฟต์แวร์ในการทำธุรกิจในระบบคลาวด์ ผู้ขายที่เข้าร่วม ได้แก่ Intuit, Appirio และ Atlassian[18]
  • 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 - Google เปิดตัว Google Apps for Government ซึ่งเป็น Google Apps รุ่นที่ออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการด้านนโยบายและความปลอดภัยที่มีลักษณะเฉพาะของภาครัฐ ยังมีการประกาศอีกว่า Google Apps เป็นชุดโปรแกรมของแอปพลิเคชันระบบคลาวด์ชุดแรกที่ได้รับการรับรองและการตรวจสอบตามกฎหมายว่าด้วยเรื่องการจัดการการรักษาความปลอดภัยข้อมูลของรัฐบาลกลาง (FISMA)[19]
  • 26 เมษายน พ.ศ. 2554 - เกือบ 5 ปีหลังจากการเปิดตัวของ Google Apps ทาง Google ได้ประกาศว่าองค์กรที่มีผู้ใช้มากกว่า 10 รายจะไม่มีสิทธิ์ใช้ Google Apps เวอร์ชันฟรีได้อีกต่อไป พวกเขาต้องลงชื่อสมัครใช้เวอร์ชันแบบชำระเงิน ซึ่งตอนนี้ใช้ชื่อว่า Google Apps for Business บริการนี้ใช้แผนการเรียกเก็บเงินแบบยืดหยุ่น โดยมอบตัวเลือกให้ลูกค้าจ่ายคนละ 5 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือนโดยปราศจากการผูกมัดทางสัญญา[20]
  • 28 มีนาคม พ.ศ. 2555 - Google เปิดตัว Google Apps Vault หรือ ห้องนิรภัย ซึ่งเป็นระบบสืบค้นทางอิเล็กทรอนิกส์และบริการการจัดเก็บ โดย Google ห้องนิรภัยนี้จัดเป็นแพ็คเกจเสริมสำหรับลูกค้า Google Apps for Business[21]
  • 24 เมษายน พ.ศ. 2555 - Google เปิดตัว Google ไดรฟ์ ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มสำหรับการจัดเก็บและแชร์ไฟล์ ผู้ใช้ Google Apps for Business ทุกคนจะได้รับพื้นที่จัดเก็บบนไดรฟ์ขนาด 5 GB และมีตัวเลือกที่จะซื้อเพิ่มเติม[22] ผู้สังเกตการณ์กล่าวว่า Google ได้ก้าวเข้าสู่ตลาดบริการการจัดเก็บข้อมูลในระบบคลาวด์ โดยแข่งขันกับผู้ให้บริการอย่าง Dropbox และ Box[23]
  • 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555 - Google ประกาศว่า Google Apps เวอร์ชันฟรีจะไม่มีให้บริการสำหรับลูกค้าใหม่อีกต่อไป[24]
  • 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - Google ได้เพิ่มโควต้าพื้นที่จัดเก็บบนไดรฟ์ให้กับลูกค้าของ Google Apps Google รวมพื้นที่ 25 GB ใน Gmailและ 5 GB ในไดรฟ์ ทำให้ผู้ใช้ 1 รายสามารถใช้พื้นที่รวม 30 GB สำหรับทุกผลิตภัณฑ์ของ Apps รวมถึง Gmail และ Google ไดรฟ์[25]
  • 10 มีนาคม พ.ศ. 2557 - Google ได้เปิดตัว Google Apps Referral Program ซึ่งจะมอบโบนัสการแนะนำมูลค่า 15 ดอลลาร์สหรัฐฯ ให้กับบุคคลที่เข้าร่วมโครงการเมื่อพวกเขาแนะนำผู้ใช้ใหม่ 1 คนให้มาใช้บริการ Google Apps[26]
  • 25 มิถุนายน พ.ศ. 2557 - Google เปิดตัว Drive for Work ซึ่งเป็นข้อเสนอใหม่จาก Google Apps ที่มอบพื้นที่จัดเก็บไฟล์แบบไม่จำกัด การรายงานการตรวจสอบขั้นสูง และการควบคุมความปลอดภัยแบบใหม่ในราคา 10 ดอลลาร์ต่อเดือน[27]
  • 2 กันยายน พ.ศ. 2557 - Google Enterprise ฝ่ายผลิตภัณฑ์สำหรับองค์กรธุรกิจได้รับการเปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการเป็น Google for Work “เราไม่เคยริเริ่มที่จะสร้างธุรกิจแบบ "องค์กร" ดั้งเดิม แต่เราต้องการสร้างวิธีใหม่ในการทำงาน” เอริก ชมิดต์ ประธานบริหารของ Google อธิบาย "ตอนนี้จึงได้เวลาแล้วที่เราจะใช้ชื่อที่ตรงกับความพยายามของเรา" Google Apps for Business เปลี่ยนชื่อเป็น Google Apps for Work เพื่อสะท้อนการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่นี้[28]
  • 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 - โดเมนรองของ Google Apps เวอร์ชันฟรีไม่ได้รับการสนับสนุนอีกต่อไป Google Apps เวอร์ชันฟรีจะสนับสนุนโดเมนเสมือนโดเมนหลักเท่านั้น[29]

ผลิตภัณฑ์[แก้]

ผลิตภัณฑ์และบริการที่มากมายของ Google Apps for Work ประกอบไปด้วย Gmail, Google ปฏิทิน, Google ไดรฟ์, แฮงเอาท์, Google เอกสาร, Google ชีต, Google สไลด์, Google ฟอร์ม, Google Sites, Google+ และ Google Apps ห้องนิรภัย หากไม่นับ Google Apps ห้องนิรภัย[30] ผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะรวมอยู่ในแผนการให้บริการพื้นฐานในราคารายละ 5 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน หรือรายละ 50 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี ส่วน Drive for Work ซึ่งเป็นแพ็กเกจพรีเมียมจะรวม Google Apps ห้องนิรภัยและพื้นที่จัดเก็บแบบไม่จำกัดในราคารายละ 10 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน[31]

Gmail[แก้]

Gmail ได้กลายมาเป็นบริการอีเมลบนเว็บที่เป็นที่นิยมที่สุดในโลก หลังจากที่เปิดตัวในวงจำกัดในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2547 [32]ผู้บริโภคทุกคนสามารถใช้งาน Gmail ได้ในปี 2550 Google ระบุว่าตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นมา มีผู้คนถึง 425 ล้านคนใช้ Gmail[33]

Gmail เวอร์ชันฟรีสำหรับผู้บริโภคได้รับการสนับสนุนโดยโฆษณาแบบข้อความที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของข้อความในอีเมลของผู้ใช้[34] คุณลักษณะยอดนิยม ได้แก่ พื้นที่จัดเก็บฟรี 15 GB การสนทนาที่แสดงเป็นชุดข้อความ และความสามารถในการค้นหาที่แม่นยำ และอินเทอร์เฟซที่คล้ายกับแอป[35]

แม้ Gmail ใน Google Apps for Work จะคล้ายคลึงกับเวอร์ชันฟรี แต่มีคุณลักษณะที่เพิ่มขึ้นมากมายซึ่งออกแบบมาสำหรับผู้ใช้ภาคธุรกิจ.[36]

คุณลักษณะเหล่านี้ได้แก่

  • อีเมลแบบกำหนดเองที่มีชื่อโเมนของลูกค้า (@บริษัทของคุณ.com)
  • รับประกันความพร้อมในการใช้งาน 99.9% และไม่มีกำหนดหยุดให้บริการเพื่อทำการซ่อมบำรุง[37]
  • พื้นที่จัดเก็บขนาด 30 GB หรือไม่จำกัดที่แชร์ใน Google ไดรฟ์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแผนการให้บริการที่เลือก
  • ไม่มีโฆษณา
  • การสนับสนุนทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง
  • Google Apps Sync สำหรับ Microsoft Outlook[36]

Google ไดรฟ์[แก้]

บริการการจัดเก็บไฟล์และการซิงค์ของ Google เปิดตัวในวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2555,[38] กว่า 6 ปีหลังจากที่มีข่าวลือเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นี้[39] คำประกาศอย่างเป็นทางการของ Google อธิบายว่า Google ไดรฟ์เป็น "สถานที่ที่คุณสามารถสร้าง แชร์ ทำงานร่วมกัน และเก็บทุกสิ่งของคุณ"[38]

Google ไดรฟ์ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถอัปโหลดไฟล์ประเภทใดก็ได้ลงในระบบคลาวด์ แชร์ไฟล์กับคนอื่นๆ และเข้าถึงไฟล์นั้นจากคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์อัจฉริยะเครื่องใดก็ได้ ผู้ใช้สามารถซิงค์ไฟล์ระหว่างคอมพิวเตอร์และระบบคลาวด์ได้ง่ายๆ ด้วยแอปพลิเคชันบนเดสก์ท็อปสำหรับ Mac และพีซี แอปนี้จะวางโฟลเดอร์พิเศษลงบนคอมพิวเตอร์ของพวกเขาและการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดที่เกิดขึ้นกับไฟล์จะซิงค์ทั่วทั้งไดรฟ์ บนเว็บ และอุปกรณ์ทุกเครื่อง Google ไดรฟ์เวอร์ชันฟรีสำหรับผู้บริโภคจะมอบพื้นที่จัดเก็บขนาด 15 GB สำหรับร่วมใช้ระหว่าง Gmail ไดรฟ์ และ รูปภาพใน Google+[40]

เมื่อได้รับการนำเสนอเป็นส่วนหนึ่งของ Google Apps for Work ฉะนั้น Google ไดรฟ์จึงมาพร้อมกับคุณลักษณะเพิ่มเติมที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานธุรกิจ คุณลักษณะเหล่านี้ได้แก่

  • พื้นที่จัดเก็บขนาด 30 GB หรือไม่จำกัดที่แชร์ใน Gmail ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแผนการให้บริการที่เลือก
  • การสนับสนุนทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง
  • การควบคุมการแชร์ที่รักษาให้ไฟล์เป็นส่วนตัวจนกว่าลูกค้าจะตัดสินใจที่จะแชร์
  • การตรวจสอบและการรายงานขั้นสูง[41]

Google เอกสาร, ชีต, สไลด์ และฟอร์ม[แก้]

Google Apps มีโปรแกรมแก้ไขออนไลน์สำหรับการสร้างข้อความเอกสารหรือรูปแบบไฟล์เอกสาร, สเปรดชีต, งานนำเสนอ และแบบสำรวจ[42] ชุดเครื่องมือนี้เปิดตัวครั้งแรกในวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ในชื่อ Google เอกสารและสเปรดชีต[43]

Google เอกสาร ชีต สไลด์ และฟอร์มนั้นสามารถทำงานภายในเว็บบราว์เซอร์ใดก็ได้ หรือบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ใดก็ได้ที่สามารถเปิดใช้เว็บ ทั้งนี้ ผู้ใช้สามารถสามารถแชร์ แสดงความคิดเห็น และแก้ไขเอกสาร สเปรดชีต สไลด์ และฟอร์มร่วมกันได้แบบเรียลไทม์ คุณลักษณะเพิ่มเติมรวมถึงประวัติการแก้ไขแบบไม่จำกัด ซึ่งเก็บบันทึกการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดไว้อย่างปลอดภัยในที่เดียว และการเข้าถึงได้แบบออฟไลน์เพื่อให้ผู้ใช้สามารถทำงานได้แม้ไม่มีอินเทอร์เน็ต[44]

ในวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2557 Google ได้เปิดตัวการแก้ไขแบบดั้งเดิมสำหรับไฟล์ Microsoft Office ใน Google เอกสาร ชีต และสไลด์[45] นักเขียนของ Mashable ได้แสดงความคิดเห็นคล้ายๆ กับบทความอื่นๆ ว่า "Google กำลังวางจุดยืนของแอปให้เป็นทางออกในแง่ราคาที่เอื้อมถึงมากขึ้นสำหรับบริษัทที่ต้องแก้ไขไฟล์ Office เป็นครั้งคราว"[46]

Google Sites[แก้]

เปิดตัวขึ้นในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 Google Sites ช่วยให้ผู้คนสามารถสร้างและแก้ไขหน้าเว็บได้แม้ว่าจะไม่มีความรู้เกี่ยวกับ HTML หรือการออกแบบเว็บก็ตาม[47] ผู้คนสามารถสร้างไซต์เองตั้งแต่ต้นหรือสร้างจากเทมเพลตก็ได้ อัปโหลดเนื้อหา เช่น รูปภาพและวิดีโอ[47] และควบคุมสิทธิ์ในการเข้าถึงโดยเลือกผู้ที่สามารถดูและแก้ไขแต่ละหน้าได้[48]

Google Sites เปิดตัวในฐานะส่วนหนึ่งของชุดโปรแกรม Google Apps แบบชำระเงิน แต่ต่อมาไม่นานก็พร้อมให้บริการกับผู้บริโภคทั่วไปเช่นกัน ลูกค้าภาคธุรกิจใช้ Google Sites ในการสร้างไซต์ โครงการอินทราเน็ตของบริษัท และไซต์ที่เข้าถึงได้จากสาธารณะ[49]

Google ปฏิทิน[แก้]

ออกแบบมาเพื่อรวมเข้ากับ Gmail ซึ่งเป็นบริการปฏิทินออนไลน์ของ Google ที่เปิดให้ใช้งานสำหรับผู้บริโภคทั่วไปในวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2549 โดยปฏิทินใช้มาตรฐาน iCal เพื่อให้สามารถใช้งานกับแอปพลิเคชันปฏิทินอื่นๆ[50]

ปฏิทินออนไลน์ของ Google เป็นปฏิทินผสานรวมระบบทางออนไลน์ที่สามารถแชร์ร่วมกันได้และออกแบบมาสำหรับการทำงานเป็นทีม[51] บริษัทต่างๆ สามารถสร้างปฏิทินแบบเฉพาะทีมและแชร์ร่วมกับทุกคนในบริษัทได้[52] ผู้ใช้สามารถมอบหมายปฏิทินไปให้อีกคนหนึ่งจัดการปฏิทินหรือกิจกรรมใดที่เฉพาะเจาะจงก็ได้[53] ผู้ใช้สามารถตรวจดู Google ปฏิทินเพื่อดูว่าห้องประชุมหรือทรัพยากรที่ใช้ร่วมกันนั้นว่างไหม และทำการจองได้

คุณลักษณะที่เป็นประโยชน์ของ Google ปฏิทิน ได้แก่

  • แชร์ปฏิทินกับเพื่อนร่วมทีมและคนอื่นๆ เพื่อตรวจสอบเวลาว่างของกันและกัน
  • ซ้อนทับปฏิทินของทีมงานลงในมุมมองเดียวเพื่อหาเวลาที่ทุกคนว่างพร้อมกัน
  • ใช้แอปบนอุปกรณ์เคลื่อนที่หรือซิงค์กับปฏิทินในตัวของอุปกรณ์เคลื่อนที่
  • เผยแพร่ปฏิทินไปยังเว็บ และรวมไว้ใน Google Site
  • การย้ายข้อมูลจาก Exchange, Outlook หรือ iCal หรือจากไฟล์ .ics และ .csv อย่างง่ายดาย
  • จองห้องและทรัพยากรที่ใช้ร่วมกัน[52]

Google แฮงเอาท์[แก้]

15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 Google ได้ประกาศว่าพวกเขามีเครื่องมือใหม่ในการส่งข้อความ ข้อความเสียง และวิดีโอแชทจะมาแทนที่ Google Talk, Google Voice และบริการ Google+ แฮงเอาท์[54] Google แฮงเอาท์อนุญาตให้ผู้บริโภคเข้าร่วมในการสนทนาจากคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ได้สูงสุด 10 คน สำหรับเวอร์ชันฟรีและ 15 คนสำหรับเวอร์ชันธุรกิจ[55] ผู้เข้าร่วมสามารถแชร์หน้าจอ รวมถึงดูและทำงานร่วมกันได้[56] บริการแฮงเอาท์ ออนแอร์ ทำให้ผู้คนสามารถสตรีมการถ่ายทอดสดไปยัง Google+, YouTube และลงในเว็บไซต์ของพวกเขาได้[57]

เวอร์ชันของแฮงเอาท์ที่รวมอยู่กับ Google Apps for Work[58] รองรับผู้เข้าร่วมประชุมสูงสุด 15 สายและผู้ดูแลระบบสามารถเลือกที่จะจำกัดแฮงเอาท์สำหรับคนที่อยู่ในโดเมนเดียวกันเท่านั้น ซึ่งจะป้องกันการเข้าถึงจากผู้เข้าร่วมภายนอกได้[59]

แอปแฮงเอาท์จัดเก็บข้อความทางออนไลน์ไว้ในระบบคลาวด์ของ Google และมอบตัวเลือกที่จะปิดประวัติหากพวกเขาไม่อยากถูกบันทึก[60] การผสานรวมกับ Google+ จะบันทึกรูปทุกรูปที่ถ่ายด้วยกันในอัลบั้มส่วนตัวหรือแชร์บน Google+[60]

30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 Google ประกาศว่าลูกค้าของ Google Apps จะสามารถใช้แฮงเอาท์ได้ แม้ว่าพวกเขาจะไม่มีโปรไฟล์ Google+ ก็ตาม[61] Google ยังร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กับผู้ให้บริการวิดีโอแชทรายอื่นๆ เพื่อรวมบริการเข้าด้วยกัน เช่น Blue Jeans Network และ Intercall[62] Google ได้ประกาศว่าแฮงเอาท์จะอยู่ภายใต้ข้อกำหนดในการให้บริการเดียวกันกับผลิตภัณฑ์ Google Apps for Work อื่นๆ อย่างเช่น Gmail และไดรฟ์ ลูกค้าของ Apps for Work ยังจะได้รับการสนับสนุนทางโทรศัพท์ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง การรับประกันความพร้อมในการใช้งาน 99.9% และใบรับรอง ISO27001 และ SOC 2[63]

ในวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2557 Google ได้ประกาศผ่านโพสต์ Google+ ว่าพวกเขาได้นำคุณลักษณะที่คนเรียกร้องมากที่สุดกลับมาใช้งานสำหรับแฮงเอาท์ใน Gmail แล้ว ผู้ดูแลระบบของ Apps สามารถควบคุมให้ข้อความแสดงสถานะปรากฏเป็นการภายในเท่านั้น[64]

Google+[แก้]

บริการเครือข่ายสังคมของ Google ในชื่อ Google+ (Google พลัส) เปิดตัวขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ในรูปแบบการทดลองใช้งานแบบต้องได้รับคำเชิญเท่านั้น[65] ผู้สังเกตการณ์กล่าวว่านี่เป็นความพยายามล่าสุดของ Google ที่จะสู้กับยักษ์ใหญ่แห่งโลกโซเชียลอย่าง Facebook[66] แม้ว่าในตอนนั้น Google+ ได้แซง Twitter ขึ้นมาเป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจาก Facebook แล้ว[67] แต่ Google+ ก็ได้รับคำวิจารณ์ว่าทำให้ผู้ใช้ผิดหวังและไม่สามารถสร้าง referral traffic ได้ตามความคาดหมาย[68]

27 ตุลาคม พ.ศ. 2554 Google ได้ประกาศว่า Google+ จะพร้อมใช้งานสำหรับผู้ที่ใช้ Google Apps ที่มหาวิทยาลัย ที่ทำงาน และที่บ้าน[69]

29 สิงหาคม พ.ศ. 2555 Google ประกาศว่าหลังจากที่ได้รับคำติชมจากลูกค้าภาคธุรกิจที่เข้าร่วมในโครงการนำร่อง พวกเขาจึงปรับแต่งคุณลักษณะของ Google+ สำหรับองค์กรโดยเฉพาะ คุณลักษณะเหล่านี้รวมถึงการแชร์แบบส่วนตัวภายในองค์กรและผู้ดูแลระบบสามารถจำกัดการมองเห็นโปรไฟล์และโพสต์ได้[70]

5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 Google ได้เพิ่มระดับความปลอดภัยเพิ่มเติมสำหรับชุมชนที่จำกัดที่ผู้เข้าร่วมจะต้องเป็นคนในองค์กรเท่านั้น ผู้ดูแลระบบมีตัวเลือกในการตั้งค่าชุมชนแบบจำกัดเป็นค่าเริ่มต้นและเลือกว่าเมื่อใดคนจากนอกองค์กรจึงจะสามารถเข้าร่วมได้[71]

บทบาทของ Google+ ในฐานะเครือข่ายธุรกิจได้รับคำติชมคละกันไปต่างๆ นานาตั้งแต่การมีคุณลักษณะที่ช่วยให้ธุรกิจขนาดเล็กเป็นที่รู้จัก [72]ทำให้คนสับสนจากการสร้างแบรนด์[73] ไปจนถึงการเป็นผู้เล่นที่สำคัญในกลยุทธ์การตลาดโซเชียลสำหรับธุรกิจ[74] บทความทางออนไลน์มากมายเน้นย้ำว่าการใช้ Google+ ช่วยให้ธุรกิจติดอันดับในผลการค้นหาของ Google เนื่องจากโพสต์และแชร์ของ Google+ จะได้รับการจัดทำดัชนีโดย Google ทันที[75]

Google Apps ห้องนิรภัย[แก้]

Google Apps ห้องนิรภัยเป็นบริการการจัดเก็บถาวรและ eDiscovery ที่พร้อมให้บริการกับลูกค้า Google Apps โดยเฉพาะและเปิดตัวในวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555[76] ห้องนิรภัยช่วยให้ลูกค้าสามารถค้นหาและจัดเก็บข้อความอีเมลที่อาจเกี่ยวข้องกับการดำเนินคดี บริการนี้ยังช่วยจัดการข้อมูลทางธุรกิจเพื่อรักษาความต่อเนื่อง ความสอดคล้อง และปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับได้[77] ตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ลูกค้าของห้องนิรภัยสามารถค้นหา ดูตัวอย่าง และส่งออกไฟล์ Google ไดรฟ์ได้[78]

Google Apps ห้องนิรภัยนี้รวมเป็นส่วนหนึ่งของ Drive for Work พร้อมพื้นที่จัดเก็บแบบไม่จำกัดในราคารายละ 10 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน[79]

ราคา[แก้]

เมื่อผู้ที่มีโอกาสเป็นลูกค้าลงชื่อสมัครใช้ Google Apps for Work จะได้รับระยะทดลองใช้งานฟรี 30 วันสำหรับผู้สูงสุด 10 คน[80] หลังจากช่วงทดลองใช้ สามารถเลือกว่าจะใช้แผนรายปีในราคา 50 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบัญชี หรือแผนแบบยืดหยุ่นในราคาบัญชีละ 5 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือนหรือ 60 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี โดยแผนทั้งสองจะเรียกเก็บค่าบริการเป็นรายเดือน[31]

เมื่อเลือกใช้แผนยืดหยุ่น ลูกค้าจะมีตัวเลือกที่จะเพิ่มพื้นที่จัดเก็บแบบไม่จำกัดและ Google Apps ห้องนิรภัยในราคาบัญชีละ 10 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน สำหรับองค์กรที่มีผู้ใช้ไม่เกิน 5 คน พื้นที่จัดเก็บจะจำกัดอยู่ที่ 1 TB ต่อคนเมื่อใช้ตัวเลือกนี้[31]

ความปลอดภัย[แก้]

Google ได้กล่าวว่าพวกเขาไม่ได้เป็นเจ้าของข้อมูลของลูกค้า ข้อมูลจะได้รับการจัดเก็บอยู่ในศูนย์ข้อมูลของ Google และมีเพียงพนักงานและเจ้าหน้าที่ไม่กี่คนเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้[81] จะไม่มีการเปิดเผยข้อมูลมูลนี้กับผู้อื่นและจะเก็บข้อมูลไว้ตราบเท่าที่ลูกค้าให้เก็บ และลูกค้าสามารถนำข้อมูลไปได้หากพวกเขาย้ายออกจาก Google Apps[82]

Google Apps มีการรักษาความปลอดภัยระดับองค์กรและการปฏิบัติตามข้อบังคับ ซึ่งรวมถึง SSAE 16/ISAE 3402 Type II, SOC 2-audit, ใบรับรอง ISO 27001 และปฏิบัติตามหลักการด้านความเป็นส่วนตัว Safe Harbor รวมถึงสามารถสนับสนุนข้อกำหนดที่เฉพาะเจาะจงขององค์กรได้ เช่น กฎหมายว่าด้วยการควบคุมและการส่งผ่านข้อมูลทางด้านการประกันสุขภาพ (HIPAA)[83] Google กล่าวว่าโปรแกรมบล็อกสแปมจะรวมอยู่ใน Google Apps พร้อมการตรวจสอบไวรัสในตัวและจะทำการตรวจสอบเอกสารก่อนอนุญาตให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดข้อความใดๆ[81]

Google ยืนยันว่าไฟล์ทั้งหมดที่อัปโหลดลงใน Google ไดรฟ์ได้รับการลงรหัส และอีเมลทุกฉบับที่ส่งและรับก็ได้รับการลงรหัสขณะที่เคลื่อนย้ายภายในระหว่างศูนย์ข้อมูล[84] ในบล็อกโพสต์ Google for Work กล่าวว่าพวกเขามุ่งปฏิบัติตามสัญญาในการปกป้องข้อมูลของลูกค้าและจะไม่แสดงโฆษณาหรือสแกนข้อมูลของลูกค้าเพื่อการโฆษณา[84]

การใช้งาน[แก้]

Google อ้างว่าองค์กรกว่า 5 ล้านแห่งกำลังใช้ผลิตภัณฑ์ของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นเวอร์ชันฟรีหรือแบบชำระเงิน[85] ประธานของ Google for Work อมิต ซิงห์ กล่าวว่ากว่า 60% ของบริษัทที่ติดอันดับ Fortune 500 กำลังใช้บริการของ Google for Work[86] ลูกค้ามีหลากหลายทางทุกธุรกิจทั่วโลก รวมถึง Uber, [87]AllSaints, [88]BuzzFeed, [89]Design Within Reach, [90]Virgin, PwC[91] และอีกมากมาย รายชื่อลูกค้าอีกมากมายของ Apps อยู่บนหน้าลูกค้าของ Apps[92]

ตัวแทนจำหน่ายและผู้แนะนำ[แก้]

Google มีระบบตัวแทนจำหน่ายที่ครบครันที่ช่วยผู้มีโอกาสเป็นลูกค้าเข้ามาใช้งาน Google Apps ไดเรกทอรีพาร์ทเนอร์จะช่วยในการค้นหาพาร์ทเนอร์ ในวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2557 Google เปิดตัวโครงการแนะนำ โดยจะมอบเงินให้กับผู้แนะนำมูลค่า 15 ดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับการเปิดบัญชีสมัครใช้ในนามของผู้แนะนำ[93] โครงการนี้เริ่มในสหรัฐฯ และแคนาดา ผู้คนสามารถแนะนำลูกค้าใหม่ได้ไม่จำกัดจำนวน แต่พวกเขาจะได้รับเงินรางวัลสำหรับผู้ใช้ 100 บัญชีแรกที่พวกเขาชวนเข้าร่วมเท่านั้น[94]

ในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557 Google เปิดตัวโครงการ Google for Work and Education Partner ซึ่งจะช่วยพาร์ทเนอร์ขาย บริการ และสร้างนวัตกรรมชุดผลิตภัณฑ์และแพลตฟอร์มของ Google for Work and Education[95]

Google Apps Marketplace[แก้]

Google Apps Marketplace ที่เปิดตัวในปี 2553 เป็นร้านค้าออนไลน์สำหรับแอปพลิเคชันเสริมสำหรับ Google Apps สำหรับองค์กร[18] Marketplace ทำให้ผู้แลระบบสามารถเรียกดู ซื้อ และใช้แอปพลิเคชัสำหรับองค์กรในระบบคลาวด์แบบผสานรวมกับ Google Apps ได้ Marketplace พร้อมให้บริการสำหรับ Google Apps, Google Apps for Work และ Google Apps for Education[96]

นักพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถพัฒนาแอปใน Marketplace และขายแอปและบริการใน Marketplace ได้เช่นกัน[96] ในวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2557 Google ประกาศว่าลูกค้า Google Apps ได้ติดตั้งแอปพลิเคชันเสริมจาก Marketplace กว่า 200 ล้านครั้งแล้วนับตั้งแต่ Marketplace เปิดตัวไปในปี 2553

ในวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2557 Google ได้เผยแพร่บล็อกโพสต์ว่าพนักงานในองค์กรลูกค้าสามารถติดตั้งแอปจาก Marketplace ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากผู้ดูแลระบบ[97]

รีวิวทางออนไลน์[แก้]

Google Apps ได้รับรีวิวทางออนไลน์ในเชิงบวกมากมายด้วยคะแนนเฉลี่ย 4-5 ดาวจากคะแนนเต็ม 5 ดาว[98] มีรีวิวมากมายที่ชื่นชมว่า Google Apps มีราคาเหมาะสมกับตลาด มอบชุดโปรแกรมการทำงานที่ครบครัน และใช้งานได้ดีบนอุปกรณ์ทุกประเภท[99] รีวิวในเชิงลบบางอันชี้ว่า Google Apps, Google สไลด์ และ Google เอกสารขาดคุณลักษณะที่ทำให้เอกสารดูเป็นมืออาชีพอย่างที่ทำได้ใน PowerPoint และ Microsoft Word[99]

ภาคการแข่งขัน[แก้]

คู่แข่งหลักของชุดโปรแกรม Google Apps คือ Microsoft Office 365 ซึ่งเป็นบริการระบบคลาวด์ของ Microsoft สำหรับธุรกิจที่มีผลิตภัณฑ์ที่คล้ายคลึงกัน ผู้รีวิวทางออนไลน์มีความเห็นแตกต่างกันไปว่าข้อเสนอของใครดีกว่ากัน มีรีวิวกล่าวว่า Google Apps และ Microsoft 365 คล้ายคลึงกันในแง่ของคะแนนที่ได้รับแต่คุณลักษณะนั้นแตกต่างกันมาก

ความแตกต่างที่สำคัญคือแผนการกำหนดราคา พื้นที่จัดเก็บ และจำนวนของคุณฟีเจอร์ Microsoft 365 มีฟีเจอร์มากกว่า Google Apps แต่มีหลายรายการที่ไม่ได้ใช้งานจริง[100] Google ไม่เผยแพร่รายได้หรือจำนวนผู้ใช้ ทำให้ยากที่จะเปรียบเทียบว่า Google Apps หรือ Microsoft Office ที่ประสบความสำเร็จมากกว่ากัน[101] ตั้งแต่เดือนตุลาคม ปี 2557 Microsoft มีลูกค้าของ Office 365 จำนวน 7 ล้านคนและเติบโตขึ้น 25 เปอร์เซ็นต์จากไตรมาสที่แล้ว[102] นอกจากนี้ Microsoft ยังประกาศว่าจะมอบพื้นที่จัดเก็บแบบไม่จำกัดให้กับลูกค้าที่ซื้อ Microsoft Office 365 เวอร์ชันคลาวด์[102]

ขณะนี้ยังไม่มีบริษัทหน้าใหม่ที่มาแข่งขันกับชุด Google Apps เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการแข่งขันกับผลิตภัณฑ์ 1 รายการ เช่น อีเมลนั้นสูงเกินไปและโอกาสที่จะสร้างรายได้ก็เป็นไปได้ยาก[102]

ผลิตภัณฑ์ใหม่ของ Google Apps ซึ่งได้แก่ Google Apps Unlimited และ Google ห้องนิรภัย ทำให้ Google Apps เริ่มมีคู่แข่งใหม่ๆ อย่าง Box, Dropbox และ OneDrive[103]

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง[แก้]

Google Apps for Work เป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์อีกมากมายภายในผลิตภัณฑ์สำหรับการทำงานของ Google [28] ซึ่งได้แก่ Google Cloud Platform, Google Search for Work, Google Maps for Work, Google Chrome for Work[104]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Announcing Google Workspace, everything you need to get it done, in one location". Google Cloud Blog (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ October 6, 2020.
  2. "What's included in Google Apps for Work?". Google. 2014-12-02. สืบค้นเมื่อ 2014-12-02.
  3. "Article in Wired". Wired. 2011-10-07. สืบค้นเมื่อ 2011-10-07.
  4. Metz, Cade (2010-03-03). "Article in Mashable". Mashable. สืบค้นเมื่อ 2010-03-03.
  5. Metz, Cade (2014-02-21). "Article in Business Bee". Business Bee. สืบค้นเมื่อ 2014-02-21.
  6. "Article in CNet". Cnet. 2014-09-02. สืบค้นเมื่อ 2014-09-02.
  7. "Big mail on campus". Google.
  8. "Google Launches Hosted Communications Services". Google.
  9. "Google Announces Education News at Educause". Google.
  10. "Google Introduces New Business Version of Popular Hosted Applications". Google.
  11. "Google Introduces New Business Version of Popular Hosted Applications". Google.
  12. "Update on Google Wave". The Google Wave Blog. Google. 2010-08-04.
  13. "Google improves Apps, offers organization clear path off Echange, Notes, etc. to Gmail". ZDNet. สืบค้นเมื่อ 2007-06-25.
  14. "Google Adds Postini's Security and Compliance Capabilities to Google Apps". Google.
  15. "Google Sets Its Sites on Google Apps". Google.
  16. "Use Microsoft Outlook with Google Apps for email, contacts, and calendar". Google.
  17. "Google Apps is out of beta (yes, really)". Google.
  18. 18.0 18.1 "Open for business: the Google Apps Marketplace". Google.
  19. "Introducing Google Apps for Government". Google.
  20. "Helping small businesses start and manage Google Apps for Business". Google.
  21. "Google Apps Vault Brings Information Governance to Google Apps". Google.
  22. "Introducing Google Drive, the newest member of Google Apps". Google.
  23. "Google Drive joins the battle of the cloud". USA Today. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-23. สืบค้นเมื่อ 2015-04-23.
  24. Ibel, Max (2012-04-24). "USA Today: Google Drive joins the battle of the cloud". Googleblog.blogspot.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-23. สืบค้นเมื่อ 2012-04-24.
  25. "Bringing it all together for Google Apps customers: 30GB shared between Drive and Gmail". Google.
  26. "Introducing the Google Apps Referral Program: Share a better way of working with customers, friends and networks". Google.
  27. "Google Drive for Work". Google.
  28. 28.0 28.1 "Introducing Google for Work (the artist formerly known as Enterprise)". Google.
  29. "Google Product Forums". Google.
  30. "Google Apps for Work Products". Google.
  31. 31.0 31.1 31.2 "Google Apps for Work Pricing". Google.
  32. Metz, Cade (2014-04-01). "Article in BGR". Wired. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-16. สืบค้นเมื่อ 2014-04-01.
  33. Metz, Cade (2012-06-28). "Gmail finally blows past Hotmail to become the world's largest email service". Venture Beat. สืบค้นเมื่อ 2012-06-28.
  34. Metz, Cade (2014-04-01). "How Gmail Happened: The Inside Story of Its Launch 10 Years Ago". Time. สืบค้นเมื่อ 2014-04-01.
  35. Metz, Cade (2014-04-01). "Gmail turns 10: Six reasons why it is the world's most popular webmail service". BGR. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-16. สืบค้นเมื่อ 2014-04-01.
  36. 36.0 36.1 "Gmail for Work". Google.
  37. "Official Google for Work Blog". Google.
  38. 38.0 38.1 "Introducing Google Drive... yes, really". Google.
  39. Metz, Cade (March 6, 2006). "Google Drive: What we know so far". Tech Crunch. สืบค้นเมื่อ 6 March 2006.
  40. Metz, Cade (2014-12-11). "OneDrive, Dropbox, Google Drive, and Box: Which cloud storage service is right for you?". CNet. สืบค้นเมื่อ 2014-12-11.
  41. "Google Drive for Work". Google.
  42. "Google for Work products". Google.
  43. "Google Announces Google Docs & Spreadsheets". Google.
  44. "Official Google Apps for Work products". Google.
  45. "Work with any file, on any device, any time with new Docs, Sheets, and Slides". Google.
  46. Metz, Cade (2014-08-25). "Google Brings Native MS Office Editing Features To Its iOS Productivity Apps, Launches Slides For iOS". Tech Crunch. สืบค้นเมื่อ 2014-08-25.
  47. 47.0 47.1 "Google Sets Its Sites on Google Apps". Google.
  48. "Google Sites now open to everyone". Google.
  49. "Learn Google Apps for Work". Google. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-10. สืบค้นเมื่อ 2015-04-23.
  50. "It's about time". Google.
  51. "Google Calendar for Work". Google. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-21. สืบค้นเมื่อ 2015-04-23.
  52. 52.0 52.1 "Google Calendar for Work". Google. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-21. สืบค้นเมื่อ 2015-04-23.
  53. "Google Calendar vs. Google Calendar for Business". Chron.
  54. "Google launches Hangouts, a new unified, cross-platform messaging service for iOS, Android and Chrome". Chron.
  55. "Google Hangouts". Google.
  56. "Google+ Hangouts get bigger video player, screen sharing available to all". Chron.
  57. "Google Hangouts for Work". Google.
  58. "Making it easier to bring Hangouts to work". Google.
  59. "Google Plus". Google.
  60. 60.0 60.1 "Exclusive: Inside Hangouts, Google's big fix for its messaging mess". The Verge.
  61. "Google Sends Hangouts to Work, Enhances Chromebox for Meetings". Re/code.
  62. "Hangouts Now Works Without Google+ Account, Becomes Part Of Google Apps For Business And Gets SLA". Tech Crunch.
  63. "Even more reasons to meet face-to-face". Google.
  64. "Custom status messages for Google Hangouts". Google.
  65. "Introducing the Google+ project: Real-life sharing, rethought for the web". Google.
  66. "Facebook's Newest Challenger: Google Plus". NPR.
  67. "Here Is The Little-Known Way Google Juices User Traffic On Google+". Business Insider.
  68. "Google Plus: three years old and still failing as a social network". ZDNet.
  69. "Google+ is now available with Google Apps". Google.
  70. "Private conversations with restricted Google+ communities". Google.
  71. "Seven Ways to Use Google+ at Work". PC World.
  72. "Seven Ways to Use Google+ at Work". PC World.
  73. "Google+ Is Now An Enterprise Social Network? Who Knew?". Forbes.
  74. "5 Reasons Why Your Business Still Needs Google+". Business 2 Community.
  75. "3 Ways Google+ Helps Your Business". Business 2 Community.
  76. "Google Apps Vault Brings Information Governance to Google Apps". Google.
  77. "Google Apps Vault gets targeted legal holds to let organizations keep specific information in emails". The Next Web.
  78. "Official Google for Work Blog". Google.
  79. "Google Apps for Work Pricing".
  80. "Evaluate Google Apps for Work". Google.
  81. 81.0 81.1 "Google Apps for Work Security". Google.
  82. "Security and privacy from Google Apps for Work". Google.
  83. "Google Launches Drive For Work With Unlimited Storage For $10/Month". Tech Crunch.
  84. 84.0 84.1 "Data security in 2014: Make it more difficult for others to attack and easier for you to protect". Google.
  85. "When Google Apps Fails at being a User Directory". Google.
  86. "Google Reboots Its Business Software Operation as 'Google for Work'". Wired.
  87. "Working on the go gets easier with Google and Uber". Google.
  88. "Official Google for Work Blog". Google.
  89. "Google Apps and Drive feed the buzz at BuzzFeed". Google.
  90. "Google Apps is the Perfect Fit for Design Within Reach". Google.
  91. "PwC and Google: bringing transformation to work". Google.
  92. "Google Apps for Work Customers". Google.
  93. "Google Apps for Work Partern Referral". Google.
  94. "Google launches referral program for Google Apps, offers $15 for each new user you convince to sign up". The Next Web.
  95. "Introducing the Google for Work & Education Partner Program". Google.
  96. 96.0 96.1 "Google Apps Marketplace overview". Google.
  97. "Google Apps Marketplace: to administrators and beyond". Google.
  98. "Spcieworks Google Apps". Spiceworks.
  99. 99.0 99.1 "Can Google's online offering deliver the tools you need to get things done?". Tech Radar.
  100. "10 comparisons between Google Apps and Office 365". Tech Republic.
  101. "Google to offer schools, students unlimited storage for free". CNet.
  102. 102.0 102.1 102.2 "Microsoft Just Made Its Google Apps Killer Much More Attractive". Business Insider.
  103. "OneDrive, Dropbox, Google Drive, and Box: Which cloud storage service is right for you?". CNet.
  104. "Google for Work solutions". Google.

อ่านเพิ่ม[แก้]