กูดพร้าว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กูดพร้าว
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Pteridophyta
ชั้น: Pteridopsida
อันดับ: Cyatheales
วงศ์: Cyatheaceae
สกุล: Cyathea
สกุลย่อย: Cyathea
ส่วน: Alsophila
สปีชีส์: A.  latebrosa
ชื่อทวินาม
Alsophila latebrosa
Wallich ex W. J. Hooker, 1844
ชื่อพ้อง
รายการ:[1]
  • Polypodium latebrosum Wallich, 1828 (non Polypodium latebrosum Salisbury, 1796; quae Dryopteris phegopteris)
  • Alsophila latebrosa Wallich ex Presl, 1836
  • Dichorexia latebrosa (Wall. ex Hook.) C. Presl, 1848
  • Hemitelia latebrosa (Wall. ex Hook.) Mettenius, 1856
  • Cyathea latebrosa (Wallich ex W. J. Hooker) Copeland, 1909
  • Alsophila lastreoides Alderw.
  • Alsophila leucocarpa (Copel.) C. Chr.
  • Alsophila longipinna (Copel.) C. Chr.
  • Cyathea lastreoides Domin
  • Cyathea leptolepia Domin
  • Cyathea leucocarpa Copel.
  • Cyathea longipinna Copel.
  • Cyathea rudimentaris (Alderw.) Domin
  • Cyathea tsangii Ching & S. H. Wu
  • Hemitelia leptolepia Alderw.
  • Hemitelia rudimentaris Alderw.

กูดพร้าว ชื่อวิทยาศาสตร์: Alsophila latebrosa ชื่อพ้อง Cyathea latebrosa หรือ กูดต้น หรือ มหาสดำ[2] เป็นพืชในวงศ์เฟินต้น (Cyatheaceae) กระจายพันธุ์ตามไหล่เขาในป่าดิบเขา บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลต่ำกว่า 1,000 เมตร ทางตอนใต้ของจีน ไทย กัมพูชา มาเลเซียและอินโดนีเซีย[3] กูดพร้าวเป็นหนึ่งในพันธุ์พืชที่อยู่ในอนุสัญญาไซเตส[4][5]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[แก้]

กูดพร้าวสูงได้มากกว่า 5 เมตร ก้านใบยาว 30-40 เซนติเมตร ก้านใบด้านนอกมีปุ่มหนาม ก้านสีน้ำตาลเข้มถึงดำ บริเวณโคนก้านใบมีเกล็ดสีดำ เป็นเงาแข็ง ขอบสีซีด ใบเป็นใบประกอบขนนกสองชั้น มีขนหรือเกล็ดอยู่กระจายห่าง ๆ ใบย่อยคู่ล่างลดขนาดลง ยาวราว 10 เซนติเมตร มีรูปร่างไม่แน่นอน เกิดห่างกัน ใบย่อยที่ใหญ่กว่า ยาวถึง 40 เซนติเมตร กว้าง 14 เซนติเมตร รูปขอบขนาน ปลายสอบแหลมและมีติ่งที่ปลาย ใบย่อยชั้นที่สอง มีใบย่อยได้มากกว่ายี่สิบห้าคู่ ด้านบนมีขนหรือเกล็ดประปราย รูปหอกแกมขอบขนาน ปลายสอบแหลม โคนตัด แผ่นใบบาง ไม่มีก้านใบย่อย อับสปอร์มีขนาดเล็ก จัดเรียงตัวข้างแกนกลางของหยัก มีเยื่อหุ้มอินดูเซียขนาดเล็ก มีเกล็ดที่ขอบ เห็นได้เมื่อสปอร์ยังไม่แก่[6]

การนำไปใช้[แก้]

ลำต้นของกูดพร้าวใช้เลี้ยงกล้วยไม้ได้[7] แพทย์ชนบทใช้เนื้อไม้ทำเป็นยาแก้ไข้ ใช้ฝนทาแก้ฝี แก้อักเสบ แก้บวม[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. Hassler, Michael & Schmitt, Bernd (June 2019), "Alsophila lepidoclada", Checklist of Ferns and Lycophytes of the World, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-02, สืบค้นเมื่อ 2019-08-22
  2. กูดพร้าว Cyathea latebrosa
  3. กูดพร้าว Cyathea latebrosa
  4. "พืชอนุรักษ์ในบัญชี CITES ที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-04-29.
  5. "CITES Information - Forest Ferns". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-08. สืบค้นเมื่อ 2015-04-29.
  6. Cyathea - CYATHEACEAE : fernSiam.com - OoCities
  7. Cyathea latebrosa - Lee Kong Chian Natural History Museum
  8. คำอธิบาย ตำราพระโอสถพระนารายณ์, ชยันต์ พิเชียรสุนทร และคณะ, หน้า 519, พ.ศ. 2544, อมรินทร์และมูลนิธิภูมิปัญญา กรุงเทพฯ ISBN 9742723478