กุ้งขาว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กุ้งขาว
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Arthropoda
ไฟลัมย่อย: Crustacea
ชั้น: Malacostraca
อันดับ: Decapoda
อันดับย่อย: Dendrobranchiata
วงศ์: Penaeidae
สกุล: Litopenaeus
สปีชีส์: L.  vannamei
ชื่อทวินาม
Litopenaeus vannamei
(Boone, 1931)
ชื่อพ้อง

Penaeus vannamei Boone, 1931

กุ้งขาว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Litopenaeus vannamei) มีลำตัวขาวใส ขามีสีขาว หางสีแดง โดยเฉพาะบริเวณปลายหางจะมีสีแดงเข้ม กรีจะมีแนวตรงปลายงุ้มลงเล็กน้อย เมื่อโตขึ้นฟันกรีด้านบนจะมี 8 ฟัน และด้านล่าง 2 ฟัน ความยาวของกรี จะยาวกว่าลูกตาไม่มาก ที่สังเกตเห็นเด่นชัดที่สุดคือลำไส้ของกุ้งชนิดนี้จะโตเห็นได้ชัด และตัวเมียจะใหญ่กว่าตัวผู้

กุ้งขาวแปซิฟิก (Litopenaeus Vannamei) หรือ Pacific white ของกุ้งสายพันธุ์นี้ ดังนี้ อยู่ในอาณาจักรสัตว์ (Kingdom Aninalia) ศักดิ์อาร์โทรโปดา (Phylun Arthropoda) ชั้นครัสเตเชีย (Class Crustacean) ชั้นรองมาลาคอสตราคา (Subclass Malacostraca) ลำดับบนยูคาริด ยูคาริดา (Superorder Eucarid Ecarida) ลำดับเดคาโปดา (Order Decapoda) ลำดับ รอง นาตานเตีย (Suborder Natantia) ส่วนพีเนียเดีย (Section Penacidea) วงศ์พีเนียดาอี (Family Penaeidae) สกุลพีเนียส ลิโทพีเนียส (Genus Peneus Litopenaeus, 1931) สกุลรองพีเนียส ลิโทพีเนียส (Subgenus Penacus Litopenaeus) ชนิด แวนนาไม (Species Vannamei)

ลักษณะเฉพาะตัวของกุ้งขาว ลิโทพีเนียส แวนนาไม[แก้]

ลักษณะเฉพาะของกุ้งขาวที่สามารถสังเกตเห็นเด่นชัดคือ บริเวณฟันกรี (หนาม) ด้านบนจะหยักและถี่ ปลายกรีจะตรง โดยที่ฟันกรีด้านล่าง 2 อันและด้านบน 8 อัน ความยาวของกรีจะยาวกว่าลูกตาไม่มาก และที่สังเกตเห็นได้ชัดคือ จะเห็นลำไส้กุ้งชนิดนี้ชัดกว่ากุ้งขาวอื่น ๆ ขณะที่โตเต็มวัยสมบูรณ์เต็มที่ของกุ้งชนิดนี้จะมีความยาวทั้งหมด (Total Length) 230 มิลลิเมตร (9 นิ้ว)

กุ้งขาว ลิโทพีเนียส แวนนาไม มี 8 ปล้องตัว ลำตัวสีขาว หน้าอกใหญ่ การเคลื่อนไหวเร็ว ส่วนหัวมี 1 ปล้อง มีกรีอยู่ในระดับยาวประมาณ 0.8 เท่าของความยาวเปลือก หัวสันกรีสูง ปลายกรีแคบ ส่วนของกรีมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมมีสีแดง อมน้ำตาล กรีด้านบนมี 8 ฟัน กรีด้านล่างมี 2 ฟัน ร่องบนกรีมองเห็นได้ชัด เปลือกหัวสีขาวอมชมพูถึงแดง ขาเดินมีสีขาวเป็นลักษณะที่ขาว่ายน้ำ 5 คู่ มีสีขาวข้างในที่หลายมีสีแดง ส่วนหางมี 1 ปล้อง ปลายหางมีสีแดงเข้ม แพนหางมี 4 ใบ และ 1 กรีหาง ขนาดตัวโตที่สมบูรณ์เต็มที่ของกุ้งสายพันธุ์นี้จะมีขนาดที่เล็กกว่ากุ้งกุลาดำ โดยความยาวจากกรีหัวถึงปลายกรีหาง 230 มิลลิเมตร (9 นิ้ว) ความยาวจากโคนหัวถึงปลายกรีหัว 65 มิลลิเมตร ความยาวจากโคนหัวถึงปลายกรีหาง 165 มิลลิเมตร เส้นรอบวงหัว 94 มิลลิเมตร เส้นรอบวงตัว 98 มิลลิเมตร แพนหางยาว 35 มิลลิเมตร ตาห่างกัน 20 มิลลิเมตร น้ำหนักตัวเฉลี่ย 120 กรัม หากินทุกระดับความลึกของน้ำ ชอบว่ายล่องน้ำเก่ง ลอกคราบเร็วทุก ๆ สัปดาห์ ไม่หมกตัว ชอบน้ำกระด้างที่มีความกระด้างรวม 120 มิลลิกรัม ต่อลิตร มีค่าอัลคาไลน์ในช่วง 80-150 มิลลิกรัมต่อลิตร มีนิสัยที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาวะ ของน้ำในบ่อเพาะเลี้ยง ตื่นตกใจง่าย เป็นกุ้งที่เลี้ยงได้ทิ้งในระบบธรรมชาติและระบบกึ่งหนาแน่นโดยมีระดับน้ำประมาณ 1.0-1.5 เมตร

ความเป็นมาทางเศรษฐกิจ[แก้]

เนื่องจากกุ้งขาวแปซิฟิกที่เกษตรกรในประเทศไทยนิยมเรียกว่ากุ้งขาวแวนนาไม หรือเรียกกันว่า “กุ้งขาว” เป็นกุ้งที่เลี้ยงง่าย มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากพ่อแม่พันธุ์ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์มาเป็นเวลาช้านาน และทำให้มีการนำเข้าไปเลี้ยงในหลาย ๆ ประเทศ และกุ้งชนิดนี้ได้มีการนำเข้ามาเลี้ยงในทวีปเอเชียครั้งแรกในประเทศไต้หวัน ปี พ.ศ. 2539 และต่อมาได้นำเข้าไปในประเทศจีนในปี พ.ศ. 2541 สำหรับประเทศไทยได้มีการนำกุ้งขาวเข้ามาทดลองเลี้ยงในปี พ.ศ. 2541 แต่การทดลองในครั้งนั้นไม่ประสบความสำเร็จมากนัก จนกระทั่งเดือนมีนาคม พ.ศ. 2545 กรมประมงได้อนุญาตให้นำพ่อแม่พันธุ์ที่ปลอดเชื้อ (Specific Pathogen Free, SPF) จากต่างประเทศเข้ามาทดลองเลี้ยง ระยะเวลาการนำเข้าพ่อแม่พันธุ์ที่ปลอดเชื้อจากจากเดือนมีนาคม พ.ศ. 2545 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันที่การเลี้ยงกุ้งกุลาดำในประเทศไทยกำลังประสบปัญหาในเรื่องกุ้งโตช้า โดยเฉพาะในขณะที่จับกุ้งจะพบว่ามีกุ้งขนาดเล็กน้ำหนักประมาณ 3 ถึง 5 กรัมเป็นจำนวนมาก ทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่ประสบปัญหาภาวะขาดทุน ในขณะเดียวกันเกษตรกรบางส่วนได้ทดลองเลี้ยงกุ้งขาว ซึ่งส่วนใหญ่ให้ผลค่อนข้างดี และจากกระแสการเลี้ยงกุ้งขาวที่ได้ผลดีกว่ากุ้งกุลาดำ ส่งผลให้เกษตรกรจำนวนมากหันมาเลี้ยงกุ้งขาวกันมากขึ้น แต่เนื่องจากกุ้งขาวเป็นกุ้งชนิดใหม่ที่ไม่เคยเลี้ยงในประเทศไทยมาก่อน รายละเอียดเกี่ยวกับพฤติกรรม การเลี้ยง การให้อาหาร ตลอดจนปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลเกี่ยวกับการเลี้ยงยังไม่มีการศึกษามาก่อน ทำให้เกษตรกรบางส่วนมีปัญหาในเรื่องของกุ้งเป็นโรค ในเรื่องของลูกพันธุ์ที่มีคุณภาพไม่ดีหลังจากเลี้ยงไปแล้วมีปัญหากุ้งโตช้า และมีลักษณะผิดปกติบางอย่างเกิดขึ้น เนื่องจากกุ้งขาวเป็นกุ้งที่มีการเลี้ยงอย่างแพร่หลายทั่วโลกมากกว่า 30 ประเทศ ดังนั้นในอนาคตการผลิตกุ้งขาวออกสู่ตลาดโลกจะมีปริมาณมาก โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2546 ประเทศจีนซึ่งเป็นประเทศที่มีการผลิตกุ้งมากที่สุดในโลกถึง 400,000 ตันต่อปี พบว่าจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งของผลผลิตจะมาจากกุ้งขาว ส่วนในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2545 มีการผลิตกุ้งขาวประมาณ 20,000 ตัน แต่ในปี พ.ศ. 2546 ประเทศไทยสามารถผลิตกุ้งขาวได้จำนวนประมาณ 170,000 ตัน จะเห็นได้ว่ามีปริมาณเพิ่มขึ้นมาก และในขณะนี้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ผลิตกุ้งขาวได้มากเป็นอันดับสองรองจากประเทศจีน

ลักษณะพิเศษของกุ้งสายพันธุ์นี้คือ สามารถสร้างความคุ้นเคย หรือฟาร์มลักษณะนิสัยภายใต้ระบบการเพาะเลี้ยงได้เช่น สามารถทำการเพาะเลี้ยงได้ทั้งในน้ำที่มีระดับความเค็มที่ 5-35 ส่วนในพันส่วน (PPT) และระดับความเค็มต่ำ 0-5 ส่วนในพันส่วน แต่ระดับความเค็มที่เจริญเติบโตได้ดีคือ 10-22 ส่วนในพันส่วน อุณหภูมิของน้ำที่เจริญเติบโตได้ดี คือ 26-29 องศาเซลเซียส แต่สามารถทำการเพาะเลี้ยงได้ในช่วงอุณหภูมิ 25-35 องศาเซลเซียส ระดับออกซิเจนละลายน้ำ (D.O.) ควรมีค่า 4-9 มิลลิกรัมต่อลิตร และสำหรับค่าความเป็นกรดและด่าง (pH) ควรอยู่ระหว่าง 7.2-8.6 ซึ่งอาจจะทำการเพาะเลี้ยงได้ทั้งในบริเวณพื้นที่ชายฝั่ง (Coastal area) หรือบริเวณพื้นที่ในแผ่นดินที่ลึกเข้ามาซึ่งเป็นเขตพื้นที่ที่มีความเค็มต่ำ (Inland area) ก็ตาม อัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ย 6-23 กรัม ในช่วง 2-5 เดือน อัตรารอดเฉลี่ย ประมาณ 30-65% ในการเพาะเลี้ยงทั่วไป และ 80-90% ในการเพาะเลี้ยงตามศูนย์วิจัยที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษจากข้อมูล ของ F.A.O. ปี ค.ศ. 2000 รายงานว่าผลผลิตกุ้งสายพันธุ์นี้ที่จับจากทะเลต่อปี มีค่าประมาณ 250 ตัน และผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงของประเทศเอกวาดอร์ มีปริมาณ 72,000 ตัน และของประเทศสหรัฐอเมริกามีปริมาณ 28,000 ตัน โดยทั่วไปผลผลิตในการเพาะเลี้ยงมักจะไม่แน่นอน สำหรับในกลุ่มประเทศละตินอเมริกามีปริมาณในช่วง 500-1,000 กิโลกรัม ต่อ 6.25 ไร่ต่อรุ่น และในประเทศสหรัฐอเมริกามีปริมาณตั้งแต่ 500-3,000 กิโลกรัมต่อ 6.25 ไร่ต่อรุ่น ข้อมูลของบริษัทที่ดำเนินการเกี่ยวกับธุรกิจกุ้งสายพันธุ์นี้ของประเทศอิสราเอลที่ทำการเพาะเลี้ยงกุ้งสายพันธุ์นี้ รายงานว่าสามารถทำการเพาะเลี้ยงกุ้งชนิดนี้ในน้ำกร่อย (brackish water) ที่มีระดับความเค็มที่ 3 ส่วน ในพันส่วน ค่าอัลคาไลน์ 180 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่าความกระด้างรวม 130 มิลลิกรัมต่อลิตร รักษาระดับออกซิเจนละลายน้ำ (D.O.) ที่ 6-8 มิลลิกรัมต่อลิตร ระดับค่าความเป็นกรดและด่าง (pH) ที่ 7.5-8.0 มีระบบเติมอากาศที่ดี ระบบบำบัดน้ำเสียที่ดีสามารถเลี้ยงในระบบความหนาแน่นสูงที่ 156.25 ตัวต่อตารางเมตร

ในระยะเวลาการเลี้ยงที่ 90 วัน สามารถมีผลผลิตที่ 70 ตัวต่อกิโลกรัม ณ ค่าอัตราการแลกเนื้อ (FCR) ที่ 1.05 และข้อมูลของบริษัทผู้ผลิตพ่อแม่พันธุ์กุ้งสายพันธุ์นี้ที่เป็นรายใหญ่ของประเทศสหรัฐอเมริกา รายงานว่าสามารถทำการเพาะเลี้ยงกุ้งชนิดนี้ในน้ำที่มีระดับความเค็มที่ 22 ส่วนในพันส่วน ค่าอัลคาไลน์ ในช่วง 170 - 190 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่าความกระด้างรวม 110-140 มิลลิกรัมต่อลิตร รักษาออกซิเจนละลายน้ำ (D.O.) ที่ 6-8 มิลลิกรัมต่อลิตร ระดับค่าความเป็นกรดและด่าง (pH) ที่ 7.0-8.4 มีระบบเติมอากาศที่ดี และควบคุมโภชนะและสัดส่วนแร่ธาตุเป็นอย่างดี สามารถเลี้ยงได้ในระบบความหนาแน่นสูงที่ 200 ตัวต่อ ตารางเมตร ในระยะเวลาการเลี้ยงที่ 100 วัน สามารถมีผลผลิตที่ 40 ตัวต่อกิโลกรัม ณ ค่าอัตราการแลกเนื้อ (FCR) ที่ 1.00 นับเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างยิ่งสำหรับวงการกุ้งทั่วโลก

สำหรับการเพาะเลี้ยงกุ้งลิโทพีเนียส แวนนาไม ที่ระดับความเค็มที่ 10 ส่วนในพันส่วน การคัดเลือกลูกกุ้ง ลักษณะของลูกกุ้งที่เหมาะสม ต้องเป็นลูกกุ้งที่ได้รับการปรับสภาพ เพื่อเลี้ยงในระดับความเค็มที่ 10 ส่วนในพันส่วน จากโรงเพาะฟักที่เป็นบ่อปูน ลูกกุ้งที่มีขนาด (อายุ) พี 15 - พี 16 จะมีลักษณะของพุ่มเหงือก (gill filament) พัฒนาครบสมบูรณ์ มีหนวดสีแดงทั่วทั้งเส้น สีแดงของหนวดต้องไม่แดงเป็นปล้อง ๆ ปลายกรีตรงไม่งอนขึ้นตาโต ลำตัวอ้วน และสั้น หน้าอกใหญ่ การเคลื่อนไหวเร็ว และมีชีวิตรอด ภายหลังที่ผ่านการทดสอบการลองน้ำจากบ่อทดสอบที่เตรียมไว้ มาก 80% ในเวลา 48 ชั่วโมง ลักษณะของลูกกุ้งที่ไม่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยง ลูกกุ้งมีลำตัวยาว ผอม ปลายกรีงอนขึ้น ตาเล็ก หนวดมีสีแดงเป็นปล้อง พบว่าเมื่อปล่อยกุ้งลงบ่อดินไปได้ประมาณ 1 เดือน หากนำมาทดสอบกับน้ำที่มีความเค็มต่ำกว่า 5 ส่วนในพันส่วน ลูกกุ้งจะทยอยตาย เนื่องจากความแข็งแรงต่ำ และสารอาหาร แร่ธาตุที่จำเป็นบกพร่อง หากเกษตรกรต้องการเลี้ยงต่อไปจะต้องเพิ่มปริมาณสารอาหาร แร่ธาตุ ที่จำเป็นให้พอเพียงกุ้งจึงจะรอด แต่ก็จะมีอัตรารอดที่ต่ำกว่า 30%

การเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมตามมาตรฐานจีเอพี[แก้]

กรมประมงได้กำหนดหลักการเลี้ยงกุ้งทะเลด้วยวิธีการปฏิบัติที่ดี ที่รู้จักกันในชื่อ การเลี้ยงกุ้งระบบจีเอพี จำนวน ๗ ข้อ เพื่อยกระดับการเลี้ยงกุ้งให้มีมาตรฐานที่ผู้บริโภคเชื่อมั่น และใช้เป็นกลยุทธ์ในการพัฒนาสินค้าการเกษตรเพื่อการส่งออกนำรายได้เข้าสู่ ประเทศ ดังนั้นเจ้าหน้าที่กรมประมงที่ทำงานเกี่ยวข้องจะต้องรู้และเข้าใจถึงองค์ ความรู้ที่เป็นปัจจัยสำคัญในการเลี้ยงกุ้งขาวให้ประสบความสำเร็จ เพื่อให้เกษตรกรเกิดความเชื่อมั่นในการที่จะไปถ่ายทอดพัฒนาและแก้ไขปัญหาการ เลี้ยงกุ้งตามแนวทางมาตรฐานจีเอพีร่วมกับเกษตรกร องค์ความรู้ดังกล่าวมีรายละเอียดแยกเป็นหมวดหมู่ดังนี้

1. เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งขาว เกษตรกรผู้ที่สนใจในการเลี้ยงกุ้งขาวควรมีการเตรียมความพร้อม และความรู้สำหรับการ ประกอบการฟาร์มเลี้ยงกุ้งขาว ดังนี้

1.1 ความรู้ในการเลี้ยงกุ้งขาว เกษตรกรต้องมีความรู้ใน การเลี้ยงกุ้งขาว หรือผ่านการฝึกอบรมหลักการเลี้ยงกุ้งขาว หรือกุ้งทะเล หรือมีประสบการณ์ในการเลี้ยงกุ้งขาวหรือกุ้งทะเลมาก่อน การมีความรู้หรือ ประสบการณ์นั้นมีความสำคัญต่อเกษตรกรมาก เพราะทำให้เกษตรกรมีความรู้เพียงพอที่จะเริ่มต้น และตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจได้ด้วยดี

1.2 การขึ้นทะเบียนผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ปัจจุบันกรมประมงกำหนดให้ เกษตรกรต้องขึ้นทะเบียนผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อจัดทำฐานข้อมูลเกษตรกร ฐานข้อมูลเกษตรกรมีประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมกุ้งในด้านการวางแผนพัฒนาการเลี้ยง กุ้งให้มีมาตรฐานสูงขึ้น มีความยั่งยืน และสามารถตรวจสอบได้ นอกจากนี้ยังเป็นฐานข้อมูลสำหรับภาครัฐในการสนับสนุนทางวิชาการ และสนับสนุนตามมาตรการอื่นๆ ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว

2. การเลือกสถานที่ การเลือกสถานที่เป็น ปัจจัยสำคัญที่เกษตรกรต้องพิจารณาก่อนเริ่มต้นการเลี้ยง ตั้งแต่ความ เหมาะสมทางวิชาการ วิธีการเข้ามาใช้ประโยชน์ในพื้นที่ วางแผนผังการใช้พื้นที่ในฟาร์ม และการ บริหารจัดการฟาร์ม ซึ่งการตัดสินเลือกสถานที่เหมาะสมในขั้นตอนนี้ทำให้เกษตรกรสามารถจัดการ เลี้ยงกุ้งขาวได้ผลผลิตคุณภาพดีอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัญหาน้อยที่สุด คำแนะนำที่ดีมีดังต่อไปนี้

2.1 การเข้ามาใช้ประโยชน์ในพื้นที่ เกษตรกรต้องตัดสินใจใช้ ประโยชน์ในพื้นที่เพื่อเลี้ยงกุ้งขาวเฉพาะในที่มีสิทธิตาม กฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นกรรมสิทธิ์หรือเป็นการเช่าอย่างถูกต้อง ไม่เลี้ยงกุ้งในพื้นที่ห้ามเลี้ยงตาม กฎหมายหรือประกาศของหน่วยงานที่รับผิดชอบ พื้นที่เลี้ยงต้องไม่อยู่ในเขตอนุรักษ์ป่าชายเลน เพื่อให้เป็นไปตามที่ทางราชการได้กำหนด และเป็นการเลี้ยงกุ้งที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

2.2 ความเหมาะสมทางวิชาการ พื้นที่เลี้ยงกุ้งขาวควร มีความเหมาะสมทางวิชาการในหลายๆ ด้าน เช่น ตำแหน่งที่ตั้ง แหล่งน้ำ ลักษณะของดินในบริเวณพื้นที่ที่จะใช้ทำฟาร์มเลี้ยงกุ้ง เพื่อให้สามารถจัดการเลี้ยงได้ง่าย มีประสิทธิภาพ ไม่มีปัญหาที่เป็นอุปสรรคทำให้การลี้ยงกงเกิดความเสียหาย หรือทำให้ต้องลงทุนสูงเกินไป ความเหมาะสมทางวิชาการยังครอบคลุมถึงสาธารณูปโภคที่จำเป็นสำหรับการทำฟาร์ม และ

2.2.1 แหล่งน้ำ แหล่งน้ำควรมีสภาพเหมาะสมเพราะเกษตรกรต้องใช้น้ำทะเลเลี้ยงกุ้ง ตลอดทั้งปี คุณภาพของแหล่งน้ำที่ต้องพิจารณาในเบื้องต้นคือ ความเป็นกรด-ด่างของน้ำ (pH) ใน บริเวณฟาร์มควรอยู่ในในช่วง ๗.๘-๘.๓ ตลอดทั้งปี มีปริมาณออกซิเจนละลายน้ำโดยเฉพาะของน้ำที่บริเวณผิวหน้าดินบริเวณที่จะใช้ เป็นแหล่งน้ำ ต้องเพียงพอไม่ก่อให้เกิดความเน่าเสียและทำให้สัตว์น้ำตามธรรมชาติตาย แหล่งน้ำไม่ควรมีตะกอนมากจนทำให้มีการตกตะกอนตื้นเขิน ความเค็มของน้ำอยู่ที่เหมาะสมอยู่ในช่วงกว้าง ๒-๓๒ ส่วนในพันส่วน ถ้าเป็นแม่น้ำหรือคลองที่เชื่อมต่อกับทะเลควรมีความลึกที่เหมาะสมที่ทำให้ สามารถสูบน้ำได้ในเวลาที่ต้องการ พื้นที่ต้องอยู่เหนือระดับน้ำขึ้นสูงสุดเพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วม นอกจากนี้แหล่งน้ำ ควรไกลจากแหล่งมลพิษ เช่นโรงงานอุตสาหกรรม แหล่งเกษตรกรรมที่ใช้สารเคมีในปริมาณมากหรือแหล่งน้ำทิ้งของชุมชนเมือง นอกจากนี้แหล่งน้ำในบ่อ ที่เลี้ยงกุ้งควรมีคุณภาพน้ำอื่นๆ ที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงกุ้ง เพราะร่างกายและเหงือกของกุ้งสัมผัสกับน้ำตลอดเวลา น้ำจึงมีผลโดยตรงต่อสุขภาพและการเจริญเติบโตของกุ้ง คุณภาพน้ำไม่ดี นำไปสู่ปัญหาสัตว์น้ำเครียด ติดเชื้อโรค และตายในที่สุด

2.2.2 ลักษณะของดิน ควรเป็นดินที่มีปริมาณดินเหนียวมากพอที่จะทำให้สามารถอุ้มน้ำและก่อสร้างบ่อ เลี้ยงกุ้งได้ บ่อลักษณะที่เป็นดินเหนียวปนทราย จะเหมาะสำหรับสำหรับสร้างบ่อมากที่สุด ดินต้องไม่มีศักยภาพเป็นดินกรด (acid potential soil) หรือเป็นดินที่มีไพไรท์สูง สังเกตจากดินที่มีความเป็นกรด-ด่าง ต่ำกว่า ๔ หรือมีสีสนิมเหล็ก เพราะเมื่อขุดสร้างบ่อแล้วดินจะทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศเปลี่ยนไพไรท์ ให้เป็นสนิมเหล็ก และกรดซัลฟิวริก ทำให้ดินและน้ำในบ่อมีความเป็นกรด-ด่างต่ำไม่เหมาะสำหรับใช้เลี้ยงสัตว์น้ำ ดินที่มีสภาพกรด จะทำให้ปล่อยไอออนของโลหะเช่น เหล็กและอะลูมิเนียมออกมาจับกับฟอสเฟตเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ไม่สามารถ เตรียมสีน้ำได้ และทำให้กุ้งโตช้า

2.2.3 พื้นที่เลี้ยงกุ้งจะต้องอยู่ในบริเวณที่การคมนาคมเข้าถึงโดยสะดวก โดยเฉพาะรถยนต์ ทั้งนี้เพื่อให้สามารถขนอุปกรณ์ ลูกกุ้ง อาหารกุ้ง และปัจจัยการผลิตที่เกษตรกรต้องใช้เป็นประจำทุกวัน ซึ่งความสะดวกสบายจะทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำสุด

การจัดการเลี้ยงทั่วไป[แก้]

เกษตรกรต้องมีความรู้ทาง วิชาการในการจัดการเลี้ยงกุ้งขาว เช่น หลักกำหนดรูปแบบของฟาร์ม การแบ่งใช้ประโยชน์ในพื้นที่ใช้สอย การสร้างโรงเรือน บริการเตรียมบ่อเลี้ยง วิธีการเลือกลูกกุ้งที่มีคุณภาพ การกำหนดความหนาแน่นของการเลี้ยง การติดตั้งเครื่องเพิ่มอากาศ เพื่อให้เกษตรกรสามารถจัดการเลี้ยงกุ้งโดยมีปัญหาน้อยที่สุด ตาราง คุณภาพน้ำที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงกุ้งขาว คุณภาพน้ำ ระดับที่เหมาะสม อุณหภูมิ ๒๘-๓๒ องศาเซลเซียส ออกซิเจนละลายน้ำ > ๕ มิลลิกรัม/ลิตร คาร์บอนไดออกไซด์ < ๒๐ มิลลิกรัม/ลิตร ความเป็นกรด-ด่าง ๗.๐-๘.๓ ความเค็ม ๐.๕-๓๕ ส่วนในพันส่วน คลอไรด์ < ๓๐๐ ส่วนในล้านส่วน โซเดียม < ๒๐๐ ส่วนในล้านส่วน ความกระด้างรวม (ในรูป CaCO๓) > ๑๕๐ ส่วนในล้านสส่วน แคลเซียม (Calcium hardness ในรูป CaCO๓) > ๑๐๐ ส่วนในล้านสส่วน แมกนีเซียม (Magnesium hardness ในรูป CaCO๓) > ๕๐ ส่วนในล้านส่วน ความเป็นด่างรวม (Total Alkalinity ในรูป CaCO๓) > ๑๐๐ ส่วนในล้านสส่วน แอมโมเนียอิสระ (NH๓) < ๐.๐๓ มิลลิกรัม/ลิตร ไนไตรท์ (NO๒-) < ๑ มิลลิกรัม/ลิตร ไนเตรท (NO๓-) < ๖๐ มิลลิกรัม/ลิตร เหล็กทั้งหมด (Total Iron) < ๑.๐ มิลลิกรัม/ลิตร ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H๒S) < ๒ ส่วนในพันล้านส่วน คลอรีน (Chlorine) < ๑๐ ส่วนในพันล้านส่วน แคดเมียม (Cadmium) < ๑๐ ส่วนในพันล้านส่วน โครเมียม (Cromium) < ๑๐๐ ส่วนในพันล้านส่วน ทองแดง (Copper) < ๒๕ ส่วนในพันล้านส่วน ตะกั่ว (Lead) < ๑๐๐ ส่วนในพันล้านส่วน ปรอท (Mercury) < ๐.๑ ส่วนในพันล้านส่วน สังกะสี (Zinc) < ๑๐๐ ส่วนในพันล้านส่วน อัลดริน/ดีลดริน (Aldrin / Dieldrin) < ๐.๐๐๓ ส่วนในพันล้านส่วน บีเอชซี (BHC) < ๔ ส่วนในพันล้านส่วน คลอร์เดน (Chlordane) < ๐.๐๑ ส่วนในพันล้านส่วน ดีดีที (DDT) < ๐.๐๐๑ ส่วนในพันล้านส่วน เอนดริล (Endrin) < ๐.๐๐๔ ส่วนในพันล้านส่วน เฮพตาคลอร์ (Heptachlor) < ๐.๐๐๑ ส่วนในพันล้านส่วน ท๊อกซาฟีน (Toxaphene) < ๐.๐๐๕ ส่วนในพันล้านส่วน

รูปแบบของฟาร์ม กุ้งขาวเป็นกุ้งที่ปรับ ตัวเข้ากับการเลี้ยงแบบพัฒนาที่ปล่อยกุ้งหนาแน่นสูงได้ดีกว่ากุ้งกุลาดำ เกษตรกรจึงต้องมีระบบการจัดการฟาร์มที่ดีเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีในปริมาณมาก รูปแบบของฟาร์มเลี้ยงกุ้งที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ตั้งของฟาร์มและ ปัญหาการจัดการและโรคระบาดที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างการเลี้ยง ในบริเวณที่แหล่งน้ำมี คุณภาพสิ่งแวดล้อมดี มีปริมาณน้ำมากเพียงพอ เกษตรกรอาจจัดรูปแบบของฟาร์มเป็นฟาร์มเลี้ยงแบบพัฒนาระบบกึ่งเปิดที่มีการ ถ่ายน้ำ โดยเฉพาะในช่วงระยะ ๒ เดือนสุดท้ายของการเลี้ยงที่กุ้งมีการเจริญเติบโตรวดเร็วและต้องให้อาหารใน ปริมาณมาก การถ่ายน้ำแนะนำให้ใช้น้ำทะเลสะอาดในบ่อพักน้ำเพื่อเจือจางน้ำในบ่อเลี้ยง กุ้งให้มีคุณภาพดีขึ้น และน้ำที่ถ่ายออกมาควรต้องผ่านการบำบัดให้มีคุณภาพดีขึ้นก่อนที่ระบายลงสู่ แหล่งน้ำ ในพื้นที่ที่มีฟาร์ม เลี้ยงกุ้งมาก และมีปริมาณน้ำจำกัด เกษตรกรสูบและทิ้งน้ำลงสู่บริเวณเดียวกัน ทำให้บางฤดูกาลสภาพแวดล้อมในพื้นที่เลี้ยงเปลี่ยนแปลงไม่เหมาะสม และมีโรคระบาด รูปแบบฟาร์มเลี้ยงกุ้งที่เหมาะสมควรเป็นแบบพัฒนาระบบกึ่งปิด (เติมน้ำจากบ่อพักน้ำที่มีการบำบัดพื้นฟูคุณภาพน้ำหรือถ่ายน้ำเพียงเล็กน้อย เมื่อเวลาจำเป็นเพื่อปรับคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยง) รูปแบบฟาร์มประเภทนี้เป็นที่นิยมใช้โดยทั่วไป เนื่องจากแหล่งน้ำสำหรับการเลี้ยงกุ้งส่วนใหญ่เสื่อมโทรมจากการเลี้ยงกุ้ง และมีการระบาดของโรคกุ้งอย่างต่อเนื่อง การเติมหรือถ่ายน้ำเท่าที่จำเป็นสามารถป้องกันโรคได้ดี แต่เกษตรกรต้องมีการปล่อยกุ้งในความหนาแน่นที่เหมาะสม การเตรียมบ่อ การจัดการเลี้ยงและการควบคุมสภาพแวดล้อมในระหว่างเลี้ยงที่ดีอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้น้ำที่ถ่ายออกมาควรผ่านการบำบัดให้มีคุณภาพดีขึ้นก่อนที่ระบายลง สู่แหล่งน้ำหรือหมุนเวียนนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ ในฟาร์มที่มีพื้นที่เพียง พอ แต่อยู่ในแหล่งเลี้ยงที่สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม และขาดแคลนน้ำที่มีคุณภาพเหมาะสมในบางฤดูกาล รูปแบบฟาร์มเลี้ยงที่สามารถทำได้เป็นแบบพัฒนาระบบน้ำหมุนเวียน ซึ่งการเลี้ยงรูปแบบนี้เกษตรกรต้องเตรียมพื้นที่บ่อพักน้ำให้มากเพียงพอ สำหรับการถ่ายน้ำตามกำหนดการที่ได้เตรียมไว้ เกษตรกรต้องเตรียมพื้นที่บำบัดน้ำให้เพียงพอที่รองรับน้ำทิ้งปริมาณมากโดย ให้มีเวลาบำบัดน้ำนานเพียงพอ จนมีคุณภาพดีขึ้นและนำไปใช้ หรือเก็บในบ่อพักน้ำจนกว่าจะถึงเวลานำไปใช้เลี้ยงกุ้งใหม่อีกครั้ง

การแบ่งพื้นที่ใช้สอยในฟาร์ม เมื่อกำหนดรูปแบบของฟาร์ม แล้วเกษตรกรสามารถแบ่งพื้นที่ใช้สอยได้ง่ายขึ้น โดยทั่วไปเกษตรกรจะต้องคำนึงพื้นที่ใช้สอยที่ช่วยให้เกษตรกรจัดการเลี้ยง กุ้งได้ผลดี ซึ่งควรประกอบด้วย บ่อเลี้ยง บ่อพักน้ำ โรงเรือนเก็บวัสดุฟาร์มและปัจจัยการผลิต บ้านพักคนงาน บ่อบำบัดน้ำทิ้ง และบ่อเก็บเลน ถนนและทางเดินภายในฟาร์ม พื้นที่ใช้สอยอื่นๆ โดยมีรายละเอียดดังนี้ บ่อเลี้ยง เป็นการใช้พื้นที่ที่มีความสำคัญที่สุด ขนาดของบ่อเลี้ยงควรมีขนาดที่ไม่เล็กหรือใหญ่จนเกินไป บ่อที่เล็กเกินไปความแตกต่างของอุณหภูมิน้ำในรอบวันอยู่ในช่วงกว้างเนื่อง จากมีปริมาตรน้ำน้อยเกินไป บ่อที่ใหญ่จะจัดการยากเนื่องจากปริมาตรน้ำเยอะเกินไป ขนาดของบ่อที่เหมาะสม ควรมีขนาด ๒-๖ ไร่ ขึ้นกับความพร้อมและเครื่องมือของเกษตรกร สัดส่วนของบ่อเลี้ยงที่เหมาะสมควรอยู่ในช่วง ๕๐-๘๐% ของพื้นที่ฟาร์มทั้งหมด โดยที่ฟาร์มที่มีพื้นที่น้อย พื้นที่ของบ่อเลี้ยงมีน้อยลงเพราะต้องสงวนไว้ใช้ในกิจกรรมอื่นๆ


บ่อพักน้ำ เป็นพื้นที่ที่มีความจำเป็นมากในการลดความเสียและป้องกันโรคและแก้ไขปัญหาใน ระหว่างการเลี้ยงกุ้งได้ดี เพราะว่า น้ำในแหล่งเลี้ยงกุ้งที่หนาแน่น น้ำทิ้งจากบ่อเลี้ยงจะทำให้เกิดความเสื่อมโทรมกับแหล่งน้ำ และบ่อยครั้งไม่เหมาะสมต่อนำเข้าสู่บ่อเลี้ยงกุ้งโดยตรง เกษตรกรที่มีบ่อพักน้ำจะสามารถพักน้ำหรือปรับปรุงให้มีคุณภาพที่ดีขึ้นก่อน ใช้ และสามารถสำรองน้ำทะเลที่มีคุณภาพดีไว้ใช้แก้ปัญหาฉุกเฉินในระหว่างการ เลี้ยงกุ้งได้ สัดส่วนของบ่อพักน้ำที่เหมาะสมควรอยู่ในช่วง ๑๕-๒๐% ของพื้นที่ฟาร์มทั้งหมด หรือมีปริมาตรไม่น้อยกว่า ๐.๕-๑ ของบ่อเลี้ยงกุ้งในฟาร์ม โรงเรือนเก็บวัสดุฟาร์มและปัจจัยการผลิต ฟาร์มเลี้ยงกุ้งจะต้องมีพื้นที่เก็บปัจจัยการผลิต วัสดุและเครื่องมือที่ใช้ในฟาร์ม และน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อความเป็นระเบียบของสิ่งของเครื่องใช้ในฟาร์มให้สามารถนำไปใช้งานได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ตรวจสอบปริมาณได้ง่าย จึงบริหารจัดการควบคุมปริมาณได้ง่าย โรงเรือนที่ใช้เก็บของเหล่านี้ต้องมีความมั่นคงแข็งแรง เพื่อให้ทนทานต่อลมและฝน ไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นในสภาวะที่สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงรุนแรง ป้องกันแดดและฝนไม่ให้ปัจจัยการผลิตเสียคุณภาพไป การมีโรงเรือนทำให้มีการแยกสัดส่วนพื้นที่ในการเก็บปัจจัยการผลิตที่เป็น อันตราย ไว้ในที่ที่ปลอดภัยจากเด็กและผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องได้ บ้านพักคนงาน มีความจำเป็นเนื่องจากคนงานต้องอยู่อาศัยและปฏิบัติงานในฟาร์มทั้งกลางวัน กลางคืน จึงมีความสะดวกที่คนงานจะพักอาศัยในฟาร์ม ที่อยู่อาศัยต้องทำให้เป็นสัดส่วน มีระบบสาธารณสุขที่ดี หากจำเป็นต้องมีที่พักคนงานอยู่บนคันบ่อเลี้ยง จะต้องมั่นใจว่าจะสามารถรักษาความสะอาด และสุขอนามัยที่ดีในการเลี้ยงกุ้งได้มาตรฐานที่ดีตลอดไป ถ้าสุขอนามัยในบริเวณบ้านพักไม่ดี ทำให้เกิดโอกาสในการปนเปื้อนของสิ่งปฏิกูลลงสู่บ่อเลี้ยงได้ง่าย บ่อบำบัดน้ำทิ้งและบ่อเก็บเลน การเลี้ยงกุ้งแบบพัฒนาเป็นกิจกรรมที่ส่งผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้ง่าย เนื่องจากน้ำทะเลที่ผ่านการใช้เลี้ยงกุ้งมีสารอินทรีย์ และธาตุอาหาร และของเสียในน้ำเพิ่มมากขึ้น พื้นบ่อก็จะเป็นแหล่งสะสมของเสีย จนทำให้ตะกอนดินที่สะสมกลางบ่อ อยู่ในสภาพดินเลนที่มีสารอินทรีย์สูงเน่าเสีย น้ำทิ้งโดยเฉพาะจากการจับกุ้งจะเป็นน้ำทิ้งที่มีสารอินทรีย์ และของเสียในปริมาณมากที่สุด และหลังจากการจับกุ้งเกษตรกรควรจะทำความสะอาดพื้นบ่อโดยลอกเลนกลางบ่อที่มาก เกินไปออกมา ดังนั้นการจัดแบ่งพื้นที่เลี้ยงกุ้งที่ดีและเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม เกษตรกรจึงควรให้ความ สำคัญและสร้างบ่อบำบัดน้ำทิ้ง และบ่อเก็บเลน ซึ่งขนาดของบ่อบำบัดน้ำทิ้ง รวมทั้งคูน้ำทิ้ง ที่เหมาะสมควรมีปริมาตรไม่น้อยกว่าปริมาตรน้ำทิ้งที่เกิดขึ้นจากการจับกุ้ง ๑ บ่อ เพื่อสามารถรองรับน้ำทิ้งได้ทั้งหมด และพื้นที่ของที่เก็บเลนควรจะมีขนาดเพียงพอที่จะเก็บเลนเอาไว้ และขุดเป็นบ่อหรือยกคันเพื่อป้องกันการเลนถูกชะหลุดไปเวลาฝนตกหนัก ในกรณีที่เกษตรกรไม่มีพื้นที่ เกษตรกรรายย่อยที่มีพื้นที่เลี้ยงติดกันอาจทำบ่อบำบัดน้ำทิ้งรวมเพื่อใช้ ร่วมกัน หรืออาจใช้วิธีการที่เหมาะสมนำบ่อพักน้ำมาใช้บำบัดน้ำทิ้งก็ได้ ถนนและทางเดินภายในฟาร์ม เป็นระบบสาธารณูปโภคที่เกษตรกรต้องจัดให้มีในฟาร์ม เพื่อความสะดวกสบายในการจัดการเลี้ยง การขนส่งปัจจัยการผลิตและผลผลิตอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ถนนและทางเดินให้มีความแข็งแรง ขนาดใหญ่และสะดวกเพียงพอที่รถยนต์บรรทุกขนาดเล็ก มอเตอร์ไซค์ รถเข็น ที่จะเข้าไปส่งหรือลำเลียงผลผลิตมายังจุดปฏิบัติการต่อไปในฟาร์ม หรือคนงานเดินปฏิบัติงานรอบบ่อได้ด้วยความปลอดภัย พื้นที่ใชสอยอื่นๆ เช่น อาคารสำนักงาน บ้านที่อยู่อาศัยของเจ้าของฟาร์ม ลานคัดกุ้ง ที่จอดรถ โรงอาหาร สนามออกกำลังกาย ควรมีตามความจำเป็น จัดให้อยู่ในพื้นที่เหมาะสมและอยู่ในบริเวณที่สามารถจัดการดูแลระบบสาธารณ สุขของฟาร์มให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้


อ้างอิง[แก้]