กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 28

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 28
เมืองเจ้าภาพจังหวัดภูเก็ต
ทีมเข้าร่วม77 จังหวัด
กีฬา45 ชนิดกีฬา
พิธีเปิด26 พฤษภาคม 2555 (2555-05-26)
พิธีปิด5 มิถุนายน 2555 (2555-06-05)
ประธานพิธีเปิดชุมพล ศิลปอาชา [1]
ผู้จุดคบเพลิงอุไรศรี วัตรสังข์[2]
สนามกีฬาหลักสนามสุระกุล

กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 28 หรือ ภูเก็ตเกมส์ เป็นการจัดการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติครั้งที่ 28 โดยจังหวัดภูเก็ตเป็นเจ้าภาพในการจัดแข่งขัน มีจังหวัดเข้าร่วมการแข่งขัน 77 จังหวัด เดิมทีจะจัดทุกเดือนมีนาคมของทุกปี แต่เนื่องด้วยปี พ.ศ. 2554 เกิดเหตุการณ์มหาอุทกภัยครั้งใหญ่ขึ้น จึงทำให้เลื่อนการแข่งมาในช่วงระยะเวลาดังกล่าว

สัญลักษณ์การแข่งขัน[แก้]

ตราสัญลักษณ์[แก้]

ตราสัญลักษณ์การแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 28 เป็นรูปมุกมังกร มีลักษณะเป็นเกลียวคลื่น รูปมังกรทะเล ประกอบด้วยลายเส้นทั้ง 4 สี ได้แก่ สีเหลือง คือภาคกลาง สีส้ม คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สีเขียว คือ ภาคเหนือ และสีฟ้า คือ ภาคใต้ ล้อมรอบด้วยไข่มุกอันดามัน อันหมายถึงความสามัคคีและความกลมเกลียวกันที่จะเกิดขึ้นที่จังหวัดภูเก็ต

ตุ๊กตาสัญลักษณ์[แก้]

ตุ๊กตาสัญลักษณ์ประจำการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 28 คือ มังกรฮ่ายเหล็ง ได้แนวคิดมาจาก ท่านพระรัษฎานุประดิษฐ์ ได้กล่าวว่า เกาะภูเก็ตนั้นมีรูปร่างเหมือนมังกรโผล่ขึ้นมาจากมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งมีลักษณะเป็นฮ่ายเหล็ง คือมังกรทะเลแห่งมหาสมุทรอินเดีย มีความเชื่อตามตำนานจากเทพทั้งสี่ว่า คอยปกปักรักษามหาสมุทรอินเดียตามคำบัญชาสวรรค์ อันหมายถึงนักกีฬาที่แข็งแกร่ง พร้อมเป็นกำลังปกป้องประเทศชาติในอนาคต

พิธีเปิด[แก้]

สำหรับการแสดงในพิธีเปิดทั้งหมด 6 ชุดอยู่ภายใต้แนวคิด “มหัศจรรย์ จินตนาการแห่งไฟฝัน” ประกอบด้วย 1. “ภูเก็ต เมืองสวรรค์ สันติสุข” 2. “มหัศจรรย์ภูเก็ต จินตนาการแห่งไฟฝัน” 3. “ใจมังกร ศักดิ์สิทธิ์ สถิตไฟ” 4. “ไข่มุก ทะเลใต้ อันดามัน” 5. “สมานฉันท์ กึกก้อง ฉลองชัย” 6. “โรจน์ไสว ไฟกีฬา สู่สากล” ซึ่งการแสดงทุกชุดสวยงามและตระการตาด้วยเทคนิค แสงสีเสียง เอฟเฟกต์ และพลุดอกไม้ไฟอย่างยิ่งใหญ่ พร้อมพรั่งด้วยเหล่าทัพนักแสดงเยาวชนชาวภูเก็ตจากสถาบันการศึกษาทั่วทั้งจังหวัด และที่สำคัญกับการแสดงเพลงประจำการแข่งขัน “สู่ฝันมหัศจรรย์ภูเก็ตเกมส์” ขับร้องโดย ศิลปินเยาวชนชาวภูเก็ต จากเวทีเดอะสตาร์ “ซิลวี่ หรือภาวิดา มอริจจิ” และ “โดม จารุวัฒน์ เชี่ยวอร่าม” แชมป์เดอะสตาร์คนล่าสุด บรรยากาศการแสดงในพิธีเปิดได้จุดประกายแห่งความหวัง ในความสนุกตื่นเต้นเร้าใจกับการแข่งขันมหกรรมกีฬาเยาวชนไทยที่ยิ่งใหญ่ครั้งล่าสุดที่เริ่มแล้ว ณ จังหวัดภูเก็ต ดินแดนแห่งมังกร “ฮ่ายเหล็ง”สัตว์นำโชคสัญลักษณ์ของการแข่งขันในครั้งนี้ เหล่าทัพนักกีฬาเยาวชนทั่วประเทศที่มารวมกันในสนามกีฬาสุระกุลแห่งนี้ ต่างพร้อมมุ่งมั่นในการร่วมกิจกรรมแข่งขันกีฬาฯ ด้วยจิตวิญญาณแห่งการกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ช่วยส่งเสริมสนับสนุนการกีฬาของเยาวชน ร่วมกันพัฒนานักกีฬาไทย สมกับคำขวัญในการแข่งขันที่ว่า “กีฬาแห่งไมตรีจิตและมิตรภาพ” (The Hospitallity & Friendship Games) [3]

อ้างอิง[แก้]