กิตติ อัครเศรณี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กิตติ อัครเศรณี (พ.ศ. 2483 - 18 เมษายน พ.ศ. 2550) (ชื่อเล่น "ปี๊ด") อดีตผู้กำกับภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ และผู้อำนวยการสร้างละครโทรทัศน์และภาพยนตร์ชาวไทย ที่มีชื่อเสียง

ประวัติ[แก้]

กิตติ เป็นพี่ชายแท้ ๆ ของพิศาล อัครเศรณี ซึ่งเป็นนักแสดงที่มีชื่อเสียง โดยกิตติเป็นทั้งผู้กำกับฯและผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ไทยและละครโทรทัศน์หลายเรื่อง โดยมีบริษัทผลิตของตนเองและครอบครัวในนาม อัครมีเดีย หรือ อัครเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ มีผลงานหลายเรื่อง อาทิ เสียงเพลงแห่งเสรีภาพ ในปี พ.ศ. 2529, พ่อปลาไหล แม่พังพอน ในปี พ.ศ. 2531, ขุนศึก ในปี พ.ศ. 2538 ทางช่อง 9 เป็นต้น ซึ่งได้สร้างนักแสดงมาหลายคน อาทิ สุธิตา เกตานนท์, นาตยา จันทร์รุ่ง

นอกจากนี้แล้วยังเป็นผู้จัดการนักมวย และมีค่ายมวยเป็นของตนเองด้วยในนาม กิตติเกษม โดยมีนักมวยคนหนึ่งที่เป็นแชมป์โลกในรุ่นจูเนียร์ฟลายเวทและฟลายเวท คือ เมืองชัย กิตติเกษม [1] ชีวิตส่วนตัว สมรสกับนางทองศรี อัครเศรณี มีบุตรสาวด้วยกันหนึ่งคน คือ วรางค์กร อัครเศรณี

ผลงานการสร้างภาพยนตร์[แก้]

  • ละอองดาว (2523)
  • สุดเหงา (2525)
  • ไฟรักอสูร (2526)
  • หัวใจทมิฬ (2526)
  • ครูเสือ (2527)
  • เพลงสุดท้าย (2528)
  • นางฟ้ากับซาตาน (2528)
  • เสียงเพลงแห่งเสรีภาพ (2528)
  • นางเสือดาว (2528)
  • หลวงตาน้อยธุดงค์ชายแดน (2528) (ร่วมสร้างกับประสิทธิ์และสีตลา)
  • ปลายทางฉิมพลี (2529)
  • ปรารถนาแห่งหัวใจ (2529)
  • พิศวาสซาตาน (2529)
  • น.ส.กาเหว่า (2529)
  • ไปไม่ถึงดวงดาว (2529)
  • อุ้งมือมาร (2529)
  • ลุ้นอลเวง (2530)
  • ชะตาฟ้า (2530)
  • สารวัตรเถื่อน (2530)
  • พ่อปลาไหล แม่พังพอน (2531)
  • ซอสามสาย (2531)
  • วิวาห์จำแลง (2531)
  • อะไรกันจ๊ะ (2532)

ผลงานการสร้างละครโทรทัศน์[แก้]

อัครเศรณีโปรดักชั่น[แก้]

บี ไอ บิซิเนส อินคอร์เปอเรชั่น[แก้]

  • พ่อปลาไหล แม่พังพอน (ช่อง 5) (2534)
  • กาในฝูงหงส์ (ช่อง 5) (2535)
  • เมียนอกกฎหมาย (ช่อง 5) (2535)

อัครมีเดีย[แก้]

  • พินัยกรรมมรณะ (ช่อง 5) (2538)
  • ผู้กองยอดรัก-ยอดรักผู้กอง-ผู้กองอยู่ไหน (ช่อง 9) (2538)
  • ทาส (ช่อง 5) (2538)
  • ความรักสีดำ (ช่อง 5) (2538)
  • ขุนศึก (ช่อง 9) (2538) (ร่วมกับ มีเดีย ออฟ มีเดียส์)
  • ที่นี่ไม่มีรัก (ช่อง 9) (2538)
  • เฮฮาเมียนาวี (ช่อง 5) (2538)
  • ทรามวัยกับไอ้ตูบ (ช่อง 5) (2539)
  • สาวใช้คนใหม่ (ช่อง 9) (2539)
  • ดอกไม้ในป่าหนาว (ช่อง 5) (2539) (ร่วมกับ ยูม่า 99)
  • เชลยรัก (ช่อง 9) (2539)
  • แสงเพลิงที่เกริงทอ (ช่อง 5) (2539)​
  • ภูตเสน่หา (ช่อง 9) (2539)
  • สาบนรสิงห์ (ช่อง 5) (2539)
  • รักผู้พันแถมเรือพ่วง (ช่อง 5) (2540)
  • ขอเพียงรัก (ช่อง 9) (2540)
  • ฝากใจให้ใครสักคน (ช่อง 5) (2540) (ร่วมกับ มีเดีย ออฟ มีเดียส์)
  • หงส์เหิน (ช่อง 9) (2540)
  • กองพันทหารเกณฑ์ (ช่อง 5) (2540)
  • เพลงรักจากบ้านนา (ช่อง 9) (2540)
  • ขังแปด (ช่อง 5) (2540)
  • สวรรค์ยังมีชั้น (ช่อง 5) (2541)
  • โรงแรมผี (ช่อง 9) (2541)
  • สวรรค์บ้านทุ่ง (ช่อง 9) (2541)
  • ประทีปอธิษฐาน (ช่อง 9) (2541)
  • ผัวรสมะนาว (ช่อง 5) (2541)
  • ซูเปอร์ลูกทุ่ง (ช่อง 9) (2541)
  • เดชแม่ยาย (ช่อง 9) (2542)
  • กาเหว่า (ไม่ได้ออกอากาศ) (ช่อง 3) (2542)

อัครเอนเตอร์เทนเมนต์[แก้]

  • สะใภ้ปฏิวัติ (ช่อง 7) (2541)
  • ชวนฝันพนันรัก (ช่อง 7) (2541)
  • ไฟริษยา (ช่อง 7) (2541)
  • นางบาป (ช่อง 7) (2541)
  • ลูกสาวกำนัน (ช่อง 7) (2541)
  • เสน่ห์ลูกทุ่ง (ช่อง 7) (2541)
  • ม่วยจ๋า (ช่อง 7) (2541)
  • เผื่อใจไว้เจ็บ (ช่อง 7) (2541)
  • มะปรางข้างรั้ว (ช่อง 7) (2541)
  • เจ้าสาวข้างถนน (ช่อง 7) (2542)
  • 4 ผู้ยุ่งเหยิง (ช่อง 7) (2542)
  • นางกวัก (ช่อง 7) (2542)
  • ดั่งไฟใต้น้ำ (ช่อง 7) (2542)
  • กากับหงส์ (ช่อง 7) (2542)
  • แก้วกินรี (ช่อง 7) (2542)
  • รักไร้พรมแดน (ช่อง 7) (2542)
  • รักฝันนิรันดร (ช่อง 7) (2542)
  • รักสองภพ (ช่อง 7) (2542)
  • เทพบุตรสลัม (ช่อง 7) (2542)
  • ลูกแม่ (ช่อง 7) (2542)
  • คู่อันตรายดับเครื่องชน (ช่อง 7) (2542)
  • บัวแล้งน้ำ (ช่อง 7) (2543)
  • เรากับนายหัวใจเดียวกัน (ช่อง 7) (2543)
  • ขอดเกล็ดมังกร (ช่อง 7) (2544)
  • รักลวง (ช่อง 7) (2544)

บั้นปลายชีวิต[แก้]

กิตติล้มป่วยลงด้วยโรคประจำตัวหลายโรค เช่น หัวใจโต, เส้นเลือดตีบ และเบาหวาน โดยริ่มป่วยมาตั้งแต่กลางปี พ.ศ. 2541 ด้วยโรคเส้นโลหิตในสมองตีบ ทำให้เป็นอัมพาต แต่หลังจากรักษาตัวอยู่นานอาการเริ่มดีขึ้น จนสามารถขยับร่างกายได้และกลับมาทำงานได้อีกครั้ง แต่ก็ได้เริ่มวางมือจากการเป็นผู้อำนวยการสร้างละครโทรทัศน์ลง

จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2549 เกิดป่วยขึ้นอีกครั้งด้วยมีไข้สูง ญาติได้นำตัวส่งโรงพยาบาลชลประทาน แพทย์ตรวจพบว่าหัวใจโต, เส้นเลือดตีบ และเป็นเบาหวาน ระหว่างนั้นต้องเข้า ๆ ออก ๆ โรงพยาบาลอยู่เป็นประจำ จนกระทั่งล้มป่วยลงอีกครั้งถึงขั้นโคม่า และเสียชีวิตลงในเวลา 01.00 น. ที่สถาบันโรคทรวงอก ในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2550 สิริอายุได้ 66 ปี[2] [3]

อ้างอิง[แก้]

  1. สิ้นปื๊ด-กิตติผู้สร้างหนัง-ละครชื่อดัง จากสนุกดอตคอม
  2. ""อัครเศรณี" เศร้า "กิตติ" สิ้นลม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-24. สืบค้นเมื่อ 2012-05-25.
  3. กิตติ ทรุดหนัก โรครุมเร้าเข้าขั้นโคม่า