การให้เอกราช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การให้เอกราช (อังกฤษ: decolonization หรือ decolonisation) หมายถึงล้มล้างลัทธิล่าอาณานิคม การก่อตั้งวิธีการปกครองหรือองค์กรบริการอำนาจผ่านทางการสร้างข้อตกลงกับประเทศอื่น ๆ หรือเขตอำนาจศาล คำดังกล่าวมักหมายถึงการได้รับเอกราชของอาณานิคมและรัฐในอารักขาของชาติตะวันตกในทวีปเอเชียและแอฟริกาหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง การบรรลุการให้เอกราชเป็นผลมาจากการได้รับเอกราช การผสมผสานเข้ากับอำนาจการบริหารหรือรัฐอื่น หรือการสร้างสถานะ "การรวมตัวเสรี" คณะกรรมการพิเศษด้านการให้เอกราชของสหประชาชาติ ระบุว่า กระบวนการให้เอกราชนั้น ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากแนวคิดของการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง การให้เอกราชอาจรวมไปถึงการเจรจาอย่างสันติ และ/หรือการปฏิบัติอย่างรุนแรง และการต่อสู้ด้วยกำลังของประชากรพื้นเมือง การให้เอกราชอาจเป็นกิจการภายในหรืออาจเกี่ยวข้องกับการแทรกแซงจากอำนาจต่างประเทศหรือองค์กรระหว่างประเทศ เช่น สันนิบาติชาติหรือสหประชาชาติ ก็ได้

ถึงแม้ว่าตัวอย่างของการให้เอกราชจะพบได้นับแต่สมัยโบราณเป็นต้นมา ในช่วงเวลาสมัยใหม่ มีช่วงเวลาการให้เอกราชที่เฉพาะเป็นจำนวนมาก อาทิ การล่มสลายของจักรวรรดิสเปนในคริสต์ศตวรรษที่ 19 การล่มสลายของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี จักรวรรดิออตโตมัน และจักรวรรดิรัสเซียภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง การล่มสลายของจักรวรรดิอังกฤษ จักรวรรดิฝรั่งเศส จักรวรรดิเยอรมัน และจักรวรรดิอาณานิคมอิตาลี ในช่วงต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง และการล่มสลายของสหภาพโซเวียตภายหลังกำแพงเบอร์ลินถูกพังทลาย ในปี ค.ศ. 1989