การแลกเปลี่ยนชิ้นส่วนระหว่างโครมาทิดพี่น้อง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การแบ่งเซลล์ระยะเมทาเฟส แสดงโครโมโซมที่เป็นวง (R) และการแลกชิ้นส่วนระหว่างโครโมโซมคู่เหมือนในตำแหน่งที่ศรชี้

การแลกเปลี่ยนชิ้นส่วนระหว่างโครโมโซมคู่พี่น้อง (อังกฤษ: Sister chromatid exchange;SCE ) เป็นการแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรมระหว่างโครโมโซมคู่พี่น้องหรือซิสเตอร์โครมาติด (sister chromatids) ถูกค้นพบครั้งแรกโดยใช้การย้อมสีแบบจิมซา ระหว่างซิสเตอร์โครมาติดในการแบ่งเซลล์ระยะก่อนแอนาเฟส พบว่ามีบางชิ้นส่วนที่ถูกย้อม ส่งต่อไปยังโครโมโซมคู่พี่น้องที่ไม่ได้ย้อม

เหตุผลของการแลกเปลี่ยนชิ้นส่วนไม่ทราบแน่นอน แต่ใช้เป็นตัวทดสอบการก่อกลายพันธุ์ของสารพิษ การแลกเปลี่ยนตั้งแต่ 14-100 จุดขึ้นไปถือว่าไม่ปกติ พบในโรคบางชนิดเช่น Bloom syndrome ที่มีการแลกเปลี่ยน 100-160 จุดต่อการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส การแลกเปลี่ยนที่ความถี่สูงมีความเกี่ยวข้องกับการเกิดเนื้องอกและพบบ่อยในผู้ป่วย B51(+) Behçet's disease.[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. Ikbal M, Atasoy M, Pirim I, Aliagaoglu C, Karatay S, Erdem T (February 2006). "The alteration of sister chromatid exchange frequencies in Behçet's disease with and without HLA-B51". J Eur Acad Dermatol Venereol. 20 (2): 149–52. doi:10.1111/j.1468-3083.2006.01386.x. PMID 16441621.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)