การแปรสภาพเป็นแก๊ส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กระบวนการแปรสภาพเป็นแก๊ส (อังกฤษ: Gasification) เป็นการเปลี่ยน รูปพลังงานจากชีวมวลซึ่งเป็นเชื้อเพลิงแข็งให้เป็นเชื้อเพลิงแก๊ส(แก๊สเชี้อเพลิง) โดยให้ความร้อนที่อุณหภูมิสูงกว่า 700°C ผ่านตัวกลางของกระบวนการเช่น อากาศ ออกซิเจนที่มีจำนวนจำกัด หรือไอน้ำ ซึ่งกระบวนการแก๊สซิฟิเคชั่นจะมีความแตกต่างจากกระบวนการเผาไหม้อย่างสิ้นเชิงโดยการเผาไหม้เป็นการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นอย่างสมบูรณ์ในหนึ่งกระบวนการเท่านั้น แต่สำหรับกระบวนการแก๊สซิฟิเคชั่นเป็นการเปลี่ยนรูปพลังงานเคมีภายในของคาร์บอนในชีวมวลไปเป็นแก๊สที่สามารถเผาไหม้ได้ (Combustible Gas) โดยอาศัยปฏิกิริยา 2 กระบวนการ โดยแก๊สที่ผลิตได้จะมีคุณภาพที่ดีกว่าและง่ายต่อการใช้งานกว่าชีวมวล ยกตัวอย่างเช่น สามารถใช้เดินเครื่องยนต์แก๊ส และกังหันแก๊ส (Gas Turbine) หรือใช้เพื่อผลิตเชื้อเพลิงเหลวต่อไป อีกนัยหนึ่ง กระบวนการแปรสภาพเป็นแก๊สเป็นกระบวนการเปลี่ยนรูปทางด้านเคมีความร้อน (Thermochemical Conversion Process) โดยอาศัยอากาศ ออกซิเจน หรือไอน้ำ ที่มีอุณหภูมิสูงกว่า

ประวัติ[แก้]

รถยนต์ใช้พลังแก๊สจากถ่านไม้ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง

มนุษย์ใช้ขบวนการนี้มานานแล้ว แต่มาเล็งเห็นความสำคัญเป็นอย่างมากในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เกิดการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงอย่างหนัก จึงมีนักประดิษฐ์แถบประเทศสแกนดิเนเวีย คิดค้นรถยนต์วิ่งด้วยถ่านไม้ขึ้น โดยมีรถยนต์และเครื่องจักรทางการเกษตรนับล้านคันทั่วโลกวิ่งด้วยแก๊สไม้นี้ แต่เมื่อน้ำมันเริ่มหาได้ง่ายขึ้น การพัฒนาเชื้อเพลิงดังกล่าวจึงได้หมดไป จนกระทั่งปลายทศวรรษที่ 1980 หน่วยงานบริหารในสถาณะการฉุกเฉินของสหรัฐฯ จึงได้อนุญาตให้มีการตีพิมพ์เอกสารเพื่อเป็นมาตรฐานในการผลิตเชื่อเพลิงในยามฉุกเฉินโดยวิธี gasification ขึ้น[1]

ปฏิกิริยา[แก้]

สามารถสรุปเป็นปฏิกิริยาต่าง ๆ ได้ดังนี้[2]

1. ปฏิกิริยาออกซิเดชั่นบางส่วน (Partial Oxidation) ทำให้เชื้อเพลิงชีวมวลแห้งที่อุณหภูมิประมาณ 100°C

21C+OCO2↔ dH=-268 MJ/kg mole

2. ปฏิกิริยาออกซิเดชั่นโดยสมบูรณ์ (Complete Oxidation) แก๊สที่ได้จะถูกป้อนกลับไปเผาอีกครั้ง

22C+OCO↔ dH=-406 MJ/kg mole

3. ปฏิกิริยาแก๊สน้ำ (Water Gas Reaction)

22C+HOCO+H↔ dH=+118 MJ/kg mole

การกลั่นและการสลายตัวของสารอินทรีย์ในรูปของแข็งที่อุณหภูมิ ประมาณ 370-870 องศาเซลเซียส ในภาวะไร้อากาศ

โดยปฏิกิริยาที่ 1 และ 2 เป็นปฏิกิริยาคายความร้อน ส่วนปฏิกิริยาที่ 3 เป็นปฏิกิริยาดูดความร้อน จากปฏิกิริยาดังกล่าวจะเห็นได้ว่ามีการปลดปล่อยพลังงานออกมาจากกระบวนการออกซิเดชั่นบางส่วนของการเปลี่ยนคาร์บอนไปเป็นคาร์บอนมอนอกไซด์ ซึ่งพลังงานดังกล่าวมีค่าถึง 65% ของพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาในระหว่างปฏิกิริยาออกซิเดชั่นโดยสมบูรณ์ ซึ่งกระบวนการแก๊สซิฟิเคชั่นจะแตกต่างจากกระบวนการเผาไหม้ตรงที่การเผาไหม้จะปลดปล่อยผลิตภัณฑ์แก๊สร้อน คาร์บอนมอนอกไซด์ ไฮโดรเจนและไอน้ำซึ่งจะนำไปสู่ปฏิกิริยาในระหว่างกระบวนการแก๊สซิฟิเคชั่นดังนี้

4. ปฏิกิริยาเปลี่ยนน้ำเป็นแก๊ส (Water Gas Shift Reaction)

CO+H2O ↔ CO2 +H2 dH=-42 MJ/kg mole

การแปรสภาพจากถ่าน char เป็นแก๊ส

5. ปฏิกิริยาการเกิดมีเทน (Methane Formation)

242 CO+3H ↔ CH +H O dH=- 88 MJ/kg mole

ดังนั้นแก๊สที่ผลิตได้จะมีส่วนผสมของคาร์บอนมอนอกไซด์ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไฮโดรเจนและไอน้ำ บางครั้งถูกเรียกว่า ซินแก๊ส(syngas) คุณภาพของแก๊สนี้จะขึ้นอยู่กับตัวแทนในการเกิดปฏิกิริยา (Gasifying Agent), วิธีการในการเดินเตาผลิตแก๊สและเงื่อนไขของการเกิดปฏิกิริยา โดยส่วนใหญ่แล้วตัวแทนในการเกิดปฏิกิริยามักจะเป็นอากาศ ออกซิเจนหรือไอน้ำโดยอาจจะมีการเร่งปฏิกิริยาให้เกิดเร็วขึ้นได้ (Catalytic Gasification) ซึ่งจะส่งผลต่อสมรรถนะและประสิทธิภาพโดยรวมของระบบ

ตัวเปลี่ยนสภาพจากของแข็งเป็นแก๊สซึ่งประกอบด้วยเตาเผาแบบ downdraft ด้านหลังสุด, ตัวกรอง tar, ตัวหล่อเย็น และตัวกรองแก๊ส แถวหน้าสุดจากซ้ายไปขวา

syngas เป็นแก๊สเชี้อเพลิงชนิดหนึ่ง ถ้าสารอินทรีย์ที่ถูกนำมาเผา เป็นสารชีวมวลหรือมวลชีวภาพ หรือเป็นสิ่งที่เหลือใช้จากขบวนการผลิตอื่นๆ แก๊สที่ได้นี้จะถูกเรียกว่าเป็นพลังงานหมุนเวียนชนิดหนึ่ง

syngas มีประสิทธิภาพในการเผาใหม้หรือการสันดาปสูงกว่าเชื้อเพลิงอื่นเพราะเผาใหม้ที่อุณหภูมิสูงกว่า สามารถนำมาเป็นเชื้อเพลิงเผาใหม้โดยตรงกับเครื่องยนต์แก๊ส หรือนำมาผลิตเมทานอลและไฮโดนเจน หรือแก๊สสังเคราะห์อื่นๆ Gasification ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น ในการทำเตาปรุงอาหารความร้อนสูงและนำ syngas มาผลิตกระแสไฟฟ้าผ่านเครื่องยนต์ที่ใช้แก๊ส

ผลผลิตจากขบวนการ gasification นี้ นอกจาก syngas แล้ว ยังมีน้ำมันดิน หรือ tar และอาจมีสารมีพิษอื่น ซึ่งจะต้องกรองออกก่อน นอกจากนั้น syngas ที่ออกมาในขบวนการแรก ยังมีความร้อนสูงด้วย ดังนั้นก่อนนำมาใช้ ควรต้องกรองให้สะอาดและลดอุณหภูมิลง มิฉะนั้น แก๊สนี้จะทำให้เครื่องยนต์แก๊สเสียหายได้ อนึ่ง ถ้าสารอินทรีย์ที่ใช้เผาเป็นไม้ จะได้น้ำส้มควันไม้ที่ใช้เป็นปุ๋ยได้ด้วย

อ้างอิง[แก้]

  1. [www.soilandhealth.org/03sov/0302hsted/fema.woodgas.pdf‎], woodgas
  2. Kamka, Frank; Jochmann, Andreas (June 2005). Development Status of BGL-Gasification (PDF). International Freiberg Conference on IGCC & XtL Technologies. speaker Lutz Picard. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-19. สืบค้นเมื่อ 2011-03-19.