การแข่งขันคณิตศาสตร์โลก ระหว่างประเทศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การแข่งขันคณิตศาสตร์โลก ระหว่างประเทศ (อังกฤษ: Invitational World Youth Mathematics Inter-city Competition: IWYMIC) เป็นการแข่งขันคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของประเทศในทวีปเอเชีย จัดขึ้นครั้งแรกที่เมืองเกาซุง ประเทศไต้หวัน ในปี พ.ศ. 2542 ในปี พ.ศ. 2546 ได้มีการงดการแข่งขันเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือโรคซาร์ส ในการแข่งขันครั้งที่ 8 ที่เมืองฉางชุน ประเทศจีน มีทีมเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 65 ทีมทั้งจากประเทศแคนาดา ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศอิหร่าน และประเทศแอฟริกาใต้ ในการแข่งขันครั้งที่ 8 ซึ่งจัดขึ้น ณ จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย มีประเทศเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 25 ประเทศจากทวีปเอเชีย ทวีปโอเชียเนีย ทวีปยุโรป และทวีปแอฟริกา โดยนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย และนายศรีเมือง เจริญสิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ให้เกียรติไปเป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขัน แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการแข่งขันคณิตศาสตร์โลก ระหว่างประเทศ

การแข่งขัน[แก้]

การแข่งขันแบ่งเป็นทั้งหมด 2 ประเภทได้แก่

การแข่งขันประเภทบุคคล
การแข่งขันประเภทบุคคลมีข้อสอบจำนวนทั้งหมด 15 ข้อ แบ่งเป็น 2 ตอน คะแนนเต็ม 120 คะแนน ใช้เวลาในการสอบแข่งขัน 120 นาที โดยตอนที่ 1 จำนวน 12 ข้อ ไม่ต้องแสดงวิธีทำ ส่วนตอนที่ 2 จำนวน 3 ข้อ แสดงวิธีทำ
การแข่งขันประเภททีม
แบ่งทีมการแข่งขันออกเป็นสายสีต่างๆ ข้อสอบจำนวน 10 ข้อ (แสดงวิธีทำทุกข้อ) คะแนนเต็ม 400 คะแนน ใช้เวลาในการสอบแข่งขัน 60 นาที โดยมีเงื่อนไขว่า 10 นาทีแรกสมาชิกในทีมสามารถปรึกษาและแบ่งข้อสอบกันทำ อีก 50 นาที ทำข้อสอบโดยไม่ปรึกษากัน

รางวัล[แก้]

การแข่งขันฯ จะมีการมอบเกียรติบัตรให้แก่ผู้เข้าร่วมการแข่งขันทุกคน แบ่งรางวัลออกเป็น 4 ประเภทได้แก่

รางวัลประเภทบุคคล (Individual Award)
มีเหรียญรางวัล 3 ชนิด ได้แก่เหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญทองแดง โดยอัตราส่วนของผู้เข้าแข่งขันที่ได้รับเหรียญทองต่อผู้เข้าแข่งขันที่ได้รับเหรียญเงินต่อผู้เข้าแข่งขันที่เข้ารับเหรียญทองแดงคิดเป็นอัตราส่วน 1:2:3 โดยมีข้อสอบจำนวนทั้งหมด 15 ข้อ แบ่งเป็น 2 ตอน คะแนนเต็ม 120 คะแนน ใช้เวลาในการสอบแข่งขัน 120 นาที โดยตอนที่ 1 จำนวน 12 ข้อ ไม่ต้องแสดงวิธีทำ ส่วนตอนที่ 2 จำนวน 3 ข้อ แสดงวิธีทำ
รางวัลประเภททีม (Team award)
แบ่งเป็นเหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญทองแดง โดยจะมอบให้ 3 ทีมที่มีคะแนนสูงสุดในแต่ละสาย
รางวัลคะแนนรวมสูงสุด (Highest Total Score Award)
ผู้ที่ได้คะแนนรวมสูงสุดจะได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 สำหรับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 และรางวัลประกาศเกียรติคุณ จะมอบให้แก่ผู้เข้าแข่งขันตามลำดับของคะแนนรวม
รางวัลพิเศษ (Special Award)
มอบให้แก่ทีมที่แสดงการแสดงวัฒนธรรมประจำชาติได้ดีที่สุดในช่วงเย็นของการแข่งขัน และยังมีรางวัลสำหรับความสามัคคีและความมีมิตรภาพของแต่ละทีมอีกด้วย

สถานที่จัดการแข่งขัน[แก้]

ครั้งที่ เมืองที่จัดการแข่งขัน ประเทศเจ้าภาพ วันที่จัดการแข่งขัน
1 เกาซุง (Kaoshiung) สาธารณรัฐจีน ไต้หวัน (Taiwan) 2542
2 เกาซุง (Kaoshiung) สาธารณรัฐจีน ไต้หวัน (Taiwan) 2543
3 ตาเกย์เตย์ (Tagaytay) ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ (Philippines) 2544
4 ลัคเนา (Lucknow) อินเดีย อินเดีย (India) 2-7 พฤษภาคม 2545
5 มาเก๊า (Macau) มาเก๊า มาเก๊า (Macau) สิงหาคม 2547
6 เกาซุง (Kaoshiung) สาธารณรัฐจีน ไต้หวัน (Taiwan) 2-5 สิงหาคม 2548
7 เวินโจว (Wenzhou) จีน จีน (China) 10-14 กรกฎาคม 2549
8 ฉางชุน (Changchun) จีน จีน (China) 20-27 กรกฎาคม 2550
9 เชียงใหม่ (Chiangmai) ไทย ไทย (Thailand) 25-30 ตุลาคม 2551
10 เดอร์บัน (Durban) แอฟริกาใต้ แอฟริกาใต้ (South Africa) 5-10 กรกฎาคม 2552

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]