การเชื่อมไฮเปอร์บาริก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเชื่อมไฮเปอร์บาริกใต้น้ำ (เปียก)

การเชื่อมไฮเปอร์บาริก (อังกฤษ: Hyperbaric welding) เป็นกระบวนการเชื่อมโลหะภายใต้ความดันสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งใต้น้ำ[1][2] การเชื่อมไฮเปอร์บาริกสามารถกระทำได้ทั้งแบบเปียกในน้ำหรือในสภาวะแห้งบนบกซึ่งมีการปิดล้อมความดันบวกโดยเฉพาะ บ่อยครั้ง คำว่า "การเชื่อมไฮเปอร์บาริก" ใช้เมื่อกระทำในสภาวะแห้ง แต่จะเปลี่ยนไปเรียก "การเชื่อมใต้น้ำ" เมื่อกระทำในสภาวะเปียก การประยุกต์ใช้การเชื่อมไฮเปอร์บาริกมีได้หลากหลาย ซึ่งบ่อยครั้งมักจะใช้เพื่อซ่อมเรือ แท่นขุนเจาะน้ำมันนอกชายฝั่ง และท่อส่งน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติ การเชื่อมประเภทนี้มักใช้เหล็กกล้าเป็นวัสดุในการเชื่อม

การเชื่อมไฮเปอร์บาริกแห้งใช้แทนการเชื่อมไฮเปอร์บาริกใต้น้ำเมื่อต้องการโลหะเชื่อมคุณภาพสูง เนื่องจากมีการควบคุมตัวแปรที่เพิ่มมากขึ้น อย่างเช่น ผ่านการใช้การอบชุบโลหะเชื่อมก่อนและหลัง การเชื่อมไฮเปอร์บาริกแห้งมีการควบคุมสภาวะที่ดีกว่าซึ่งนำไปสู่การเพิ่มสมรรถนะของกระบวนการโดยตรงและมักจะให้ผลงานโลหะเชื่อมที่มีคุณภาพมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับไฮเปอร์บาริกเปียก ปัจจุบัน มีการวิจัยการใช้การเชื่อมไฮเปอร์บาริกที่ความลึกถึง 1,000 เมตรอยู่ในระหว่างการดำเนินงาน[3] โดยทั่วไป ความน่าเชื่อถือของโลหะเชื่อมใต้น้ำมักจะต่ำ (แต่ก็สามารถใช้อุปกรณ์ตรวจสอบแบบไม่ทำลายได้เช่นกัน) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โลหะเชื่อมใต้น้ำเปียก เนื่องจากข้อบกพร่องของโลหะเชื่อมตรวจพบได้ยากหากข้อบกพร่องนั้นเกิดขึ้นใต้ผิวของโลหะเชื่อม

การเชื่อมไฮเปอร์บาริกใต้น้ำได้รับการคิดค้นขึ้นโดยช่างโลหะชาวรัสเซีย คอนสแตนติน ฮเรนอฟ ใน ค.ศ. 1932

ความเสี่ยง[แก้]

ความเสี่ยงของการเชื่อมโลหะใต้น้ำรวมไปถึงไฟฟ้าช็อตแก่ผู้เชื่อมได้ เพื่อป้องกันเหตุดังกล่าว อุปกรณ์การเชื่อมจึงต้องสามารถใช้ได้ในสภาพแวดล้อมใต้น้ำ โดยหุ้มด้วยฉนวนอย่างรัดกุมและกระแสเชื่อมจะต้องได้รับการควบคุม นักดำน้ำมืออาชีพจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยมากกว่านักดำน้ำธรรมดาอยู่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเสี่ยงจากอาการป่วยจากความกดดันที่ลดลง หลังจากการดำน้ำแบบต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากความดันของอากาศที่ใช้ในการหายใจเพิ่มมากขึ้น[4] ความเสี่ยงอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งมักเกิดขึ้นกับการเชื่อมใต้น้ำ คือ การเตรียมถังไฮโดรเจนและออกซิเจน เนื่องจากมันสามารถเป็นวัตถุระเบิดได้ นักดำน้ำส่วนใหญ่ได้รายงานว่า รู้สึกรับรสโลหะในปากว่าเกี่ยวข้องกับการเสื่อมของสารอุดฟัน[5][6][7] นอกจากนี้ ยังอาจมีการรับรู้ในระยะยาวและผลกระทบต่อกล้ามเนื้อและกระดูกที่เป็นไปได้[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. Keats, DJ (2005). Underwater Wet Welding - A Welder's Mate. Speciality Welds Ltd. p. 300. ISBN 1-899293-99-X.
  2. Cary, HB; Helzer, SC (2005). Modern Welding Technology. Upper Saddle River, New Jersey: Pearson Education. pp. 677–681. ISBN 0-13-113029-3.
  3. Bennett PB, Schafstall H (1992). "Scope and design of the GUSI international research program". Undersea Biomedical Research. 19 (4): 231–41. PMID 1353925. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 14, 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-07-05.{{cite journal}}: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์)
  4. US Navy Diving Manual, 6th revision. United States: US Naval Sea Systems Command. 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-02. สืบค้นเมื่อ 2008-07-05.
  5. Ortendahl TW, Dahlén G, Röckert HO (March 1985). "Evaluation of oral problems in divers performing electrical welding and cutting under water". Undersea Biomed Res. 12 (1): 69–76. PMID 4035819. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 14, 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-07-05.{{cite journal}}: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์)
  6. Ortendahl TW, Högstedt P (November 1988). "Magnetic field effects on dental amalgam in divers welding and cutting electrically underwater". Undersea Biomed Res. 15 (6): 429–41. PMID 3227576. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 14, 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-07-05.{{cite journal}}: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์)
  7. Ortendahl TW, Högstedt P, Odelius H, Norén JG (November 1988). "Effects of magnetic fields from underwater electrical cutting on in vitro corrosion of dental amalgam". Undersea Biomed Res. 15 (6): 443–55. PMID 3227577. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 14, 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-07-05.{{cite journal}}: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์)
  8. Macdiarmid JI, Ross JA, Semple S, Osman LM, Watt SJ, Crawford JR (2005). "Further investigation of possible musculoskeletal and cognitive deficit due to welding in divers identified in the ELTHI diving study" (PDF). Health and Safety Executive. Technical Report rr390. สืบค้นเมื่อ 2008-07-05.