การหายใจแสง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การหายใจแสงแบบง่าย
การหายใจแสงและวัฏจักรคัลวินแบบง่าย
การทำงานแบบออกซีจีเนสของ RubisCO

การหายใจแสง (อังกฤษ: photorespiration) เป็นปฏิกิริยาออกซิเดชันที่เกิดขึ้นได้ระหว่างการตรึงคาร์บอนในพืช ใช้ออกซิเจนและปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ เกิดขึ้นในขณะที่มีแสงจึงเรียกว่าการหายใจแสง แต่จะต่างจากการหายใจที่ไม่มีการสร้าง ATP ในปฏิกิริยานี้ และทำให้ประสิทธิภาพของการตรึงคาร์บอนลดลง[1] เกิดขึ้นเมื่อคาร์บอนไดออกไซด์ ในใบต่ำกว่า 50 ppm RuBP carboxylase จะไม่จับกับคาร์บอนไดออกไซด์แต่จะจับกับออกซิเจนแทน ทำให้เปลี่ยน RuBP ไปเป็น3-ฟอสโฟกลีเซอเรตและฟอสโฟไกลโคเลต 3-ฟอสโฟกลีเซอเรตที่ได้จะเข้าวัฏจักรคัลวิน ส่วนฟอสโฟไกลโคเลตถูกเปลี่ยนเป็นไกลโคเลต

ไกลโคเลตที่ได้จะถูกส่งออกจากคลอโรพลาสต์ไปยังเพอรอกซีโซม ไกลโคเลตถูกเปลี่ยนไปเป็นไกลออกซิเลตและไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ที่เป็นพิษ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ถูกสลายในเพอรอกซิโซมนี้ ส่วนไกลออกซีเลตนำไปใช้สร้างกรดอะมิโนไกลซีนได้ ไกลซีนที่ได้จะเข้าสู่ไมโทคอนเดรีย ปล่อยหมู่อะมิโนให้กับสารอินทรีย์อื่นๆ และได้เซอรีน เซอรีนนี้ถ้ากลับเข้าสู้เพอรอกซีโซมจะถูกเปลี่ยนเป็นกลีเซอเรต ซึ่งเมื่อถูกส่งกลับเข้าคลอโรพลาสต์จะเข้าวัฏจักรเคลวินได้

อ้างอิง[แก้]

  1. doi:10.1111/j.1438-8677.2012.00681.x
    This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand
  • ศรีสม สุวรรณวงศ์. 2549. คาร์บอนเมแทบอลิซึม ใน สรีรวิทยาของพืช. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์