การสังเคราะห์กรดอะมิโน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การสังเคราะห์กรดอะมิโน (อังกฤษ: Amino acid synthesis) กรดอะมิโนเป็นสารประกอบไนโตรเจนชนิดหนึ่ง พืชและสัตว์จึงต้องนำเอา NH+
4
ไปสังเคราะห์เป็นกรดอะมิโนกลูตาเมทและกลูตามีน กรดอะมิโนพื้นฐานในธรรมชาติมีอยู่ 20 ตัว พืชและแบคทีเรียสามารถสังเคราะห์ได้ทั้งหมด 20 ตัว มนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสังเคราะห์ได้เพียงประมาณ 10 ตัวเท่านั้น[1]

กรดอะมิโนไม่จำเป็น[แก้]

กรดอะมิโนไม่จำเป็น คือ กรดอะมิโนที่ร่างกายมนุษย์สามารถสังเคราะห์เองได้ ได้แก่:

การสังเคราะห์กรดอะมิโน[แก้]

กรดอะมิโนสังเคราะห์จาก α-คีโตแอซิท ผลผลิตที่ได้คือ อะมิโนแอซิท ซึ่งส่วนใหญ่เป็น กลูตาเมท เอ็นไซม์ที่ใช้เร่งปฏิกิริยานี้คือ aminotransferace

α-ketoacid + glutamate ⇄ amino acid + α-ketoglutarate

กลูตาเมท สังเคราะห์มาจาก NH+
4
ทำปฏิกิริยากับ α-คีโตกลูตาเรท

α-ketoglutarate + NH+
4
⇄ glutamate

เมื่อได้กลูตาเมทแล้ว เอ็นไซม์ glutamine synthetase เร่งปฏิกิริยาเติม แอมโมเนียมไอออนเข้าไป จะได้ผลผลิตเป็น กลูตามีน กลูตาเมทยังเป็นสารเริ่มต้นในการสังเคราะห์ โพรลีน และ อาร์จินีน

การควบคุมการสังเคราะห์[แก้]

อัตราเร็วในการสังเคราะห์ ขึ้นกับปริมาณและแอคติวิตีของ เอ็นไซม์ ในวิถีการสังเคราะห์ ปฏิกิริยาที่ผันกลับไม่ได้มักเป็นจุดควบคุมที่สำคัญ รวมถึง ตัวกรดอะมิโนซึ่งเป็นผลผลิตสุดท้ายเองก็มักไปมีผลการยับยั้งการสังเคราะห์

อ้างอิง[แก้]

  1. หนังสือชีวเคมี 2 หน้า 255 รศ.สุนันทา ภิญญารัตน์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ISBN 978-616-513-461-3 สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]