การสังหารหมู่ที่หมีลาย

พิกัด: 15°10′42″N 108°52′10″E / 15.17833°N 108.86944°E / 15.17833; 108.86944
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก การสังหารหมู่ที่มีลาย)
การสังหารหมู่ที่หมีลาย
Thảm sát Mỹ Lai
ภาพถ่ายโดย Ronald L. Haeberle ช่างภาพของกองทัพบกสหรัฐ เมื่อวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 1968 แสดงสภาพหลังการสังหารหมู่ที่หมีลาย ในภาพมีศพหญิงและเด็กเป็นส่วนใหญ่
การสังหารหมู่ที่หมีลายตั้งอยู่ในประเทศเวียดนาม
การสังหารหมู่ที่หมีลาย
การสังหารหมู่ที่หมีลาย (ประเทศเวียดนาม)
สถานที่หมีเซิน (หมู่บ้าน), ตำบลเซินทินฮ์, ประเทศเวียดนามใต้
พิกัด15°10′42″N 108°52′10″E / 15.17833°N 108.86944°E / 15.17833; 108.86944
วันที่16 มีนาคม ค.ศ.1968
เป้าหมายหมู่บ้านขนาดเล็กในหมีลายกับหมีเคอทั้งสี่แห่ง
ประเภทการสังหารหมู่
ตาย347 คน รายงานจากกองทัพบกสหรัฐ (ไม่รวมการฆ่าที่หมีเคอ), รายงานอื่นกล่าวว่ามีผู้เสียชีวิตมากกว่า 400 คน และไม่ทราบจำนวนผู้บาดเจ็บ, ทางเวียดนามกล่าวว่ามีคนถูกฆ่า 504 คนทั้งในหมีลายและหมีเคอ
ผู้ก่อเหตุกองร้อยซี กองพันที่ 1 กรมทหารราบที่ 20, และกองร้อยบี กองพันที่ 4 กรมทหารราบที่ 3 ในกองพลทหารราบที่ 23

การสังหารหมู่ที่หมีลาย (อังกฤษ: My Lai Massacre, เวียดนาม: Thảm sát Mỹ Lai) เป็นการสังหารหมู่พลเรือนไม่มีอาวุธในสงครามเวียดนาม เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2511 มีผู้เสียชีวิตระหว่าง 347 ถึง 504 ศพ ในประเทศเวียดนามใต้ โดยทหารอเมริกันสังกัดกองร้อย "ชาร์ลี" แห่งกองพันที่ 1 กรมทหารราบที่ 20 กองพลน้อยที่ 11 แห่งกองพลทหารราบที่ 26 ผู้ถูกสังหารส่วนใหญ่เป็นหญิง เด็ก (รวมทั้งทารก) และคนชรา ภายหลังพบว่าบางศพถูกตัดแขนขาออก[1] ทหารสหรัฐ 26 นายถูกกล่าวหาว่ามีความผิดอาญาสำหรับพฤติการณ์ที่หมีลาย ทว่ามีเพียงร้อยตรีวิลเลียม แคลลีย์ (William Calley) ผู้นำหมวดในกองร้อยชาร์ลี เท่านั้นที่ถูกตัดสินว่าผิดจริงในการสังหารชาวบ้าน 22 คน เดิมเขาต้องคำพิพากษาจากศาลทหารให้จำคุกและใช้แรงงานหนักตลอดชีวิต แต่กลับรับโทษกักขังในบ้านเพียงสามปีครึ่ง

การสังหารหมู่เกิดขึ้นในหมีลายและหมีแคซึ่งเป็นหมู่บ้านขนาดเล็ก (hamlet) สังกัดหมู่บ้านเซินหมี[2][3] เหตุการณ์ดังกล่าวรู้จักกันในชื่ออื่นว่า การสังหารหมู่เซินหมี (เวียดนาม: thảm sát Sơn Mỹ) หรือบางครั้งว่า การสังหารหมู่ซ็องหมี ชื่อรหัสทางทหารของสหรัฐสำหรับ "ฐานเวียดกง" คือ "พิงก์วิลล์"[4]

เมื่อสาธารณะรับทราบเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างแพร่หลายใน พ.ศ. 2512 ก็ได้เกิดความโกรธรุนแรงเป็นวงกว้างทั่วโลก การสังหารหมู่นี้ยังเพิ่มการคัดค้านในประเทศเรื่องความเกี่ยวข้องของสหรัฐในสงครามเวียดนามด้วย ทหารช่างสหรัฐสามนายผู้พยายามหยุดการสังหารหมู่และปกป้องผู้ได้รับบาดเจ็บภายหลังถูกสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐหลายคนติเตียน พวกเขาได้รับจดหมายขู่และพบสัตว์ถูกตัดแขนขาหน้าประตูบ้าน[5] อีก 30 ปีให้หลัง พวกเขาจึงได้รับการยกย่องสำหรับความพยายามนั้น[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Murder in the name of war—My Lai". BBC. July 20, 1998.
  2. Summary report from the report of General Peers เก็บถาวร 2000-01-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  3. Department of the Army. Report of the Department of the Army Review of the Preliminary Investigations into the My Lai Incident (The Peers Report เก็บถาวร 2008-11-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน), Volumes I-III (1970).
  4. "The My Lai Massacre: Seymour Hersh's Complete and Unabridged Reporting for the St. Louis Post Dispatch, November 1969 /Candide's Notebooks". Pierretristam.com. สืบค้นเมื่อ 2011-06-18.
  5. "Moral Courage In Combat: The My Lai Story" (PDF). USNA Lecture. 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-24. สืบค้นเมื่อ 2012-03-16.
  6. http://www.npr.org/templates/story/story.php?storyId=5133444

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

15°10′42″N 108°52′10″E / 15.17833°N 108.86944°E / 15.17833; 108.86944{{#coordinates:}}: ไม่สามารถมีป้ายกำกับหลักมากกว่าหนึ่งป้ายต่อหน้าได้