การล่าวาฬในญี่ปุ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บรรจุแม่วาฬและลูกขึ้นเรือนิชชิงมะรุ (Nisshin Maru) ออสเตรเลียเผยแพร่ภายนี้เพื่อคัดค้านญี่ปุ่น

การล่าวาฬในญี่ปุ่น หมายถึงกรณีที่ไม่ได้เป็นไปเพื่ออุตสาหกรรม มีขึ้นในศตวรรษที่ 12[1] ส่วนการล่าวาฬญี่ปุ่น (Japanese whaling) หมายถึงกรณีที่เป็นไปเพื่ออุตสาหกรรม มีขึ้นตั้งแต่ทศวรรษที่ 1890 ในสมัยนั้นมีหลายชาติเข้าร่วม[2] และปัจจุบันเกิดขึ้นแม้กระทั่งนอกเหนือน่านน้ำญี่ปุ่น

ในศตวรรษที่ 20 ญี่ปุ่นล่าวาฬเพื่อการค้าอย่างมาก จนคณะกรรมการการล่าวาฬระหว่างประเทศ (International Whaling Commission) ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามอนุสัญญาระหว่างประเทศเพื่อควบคุมการล่าวาฬ (International Convention for the Regulation of Whaling ) ต้องสั่งระงับตั้งแต่ปี 1986 อย่างไรก็ดี ญี่ปุ่นยังคงล่าวาฬต่อไปโดยอาศัยข้อบทแห่งความตกลงระหว่างประเทศที่เปิดให้กระทำได้เพื่อการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ และได้จัดตั้งสถาบันวิจัยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล (Institute of Cetacean Research) ขึ้นเพื่อรับผิดชอบการล่าวาฬ แต่เนื้อของวาฬที่ล่ามาเพื่อวิทยาศาสตร์นั้นกลับนำออกขายตามภัตตาคารร้านรวงทั่วไป[3] แม้การกระทำดังกล่าวไม่ขัดต่อกฎเกณฑ์ของคณะกรรมการการล่าวาฬระหว่างประเทศ แต่กรรมการส่วนใหญ่คัดค้าน[4] การล่าวาฬนี้ยังก่อให้เกิดความบาดหมางระหว่างประเทศและองค์การที่สนับสนุนและต่อต้านการล่าวาฬ บรรดาประเทศ องค์การ และนักวิทยาศาสตร์ที่คัดค้านการล่าวาฬมองว่า โครงการวิจัยของญี่ปุ่นนั้นไม่จำเป็นแม้แต่น้อย ทั้งปฏิบัติการล่าวาฬของญี่ปุ่นที่แฝงความมุ่งหมายทางการค้าเอาไว้นั้นยังเลวร้ายอย่างถึงที่สุด[5][6][7][8] ฝ่ายญี่ปุ่นยืนยันว่า การล่าวาฬทุกปีนั้นจำเป็นเพื่อการศึกษาทางวิทยาศาสตร์และการบริหารจำนวนวาฬ ญี่ปุ่นยังโต้แย้งว่า การคัดค้านการล่าวาฬนั้นมีเหตุผลเป็นเพียงความแตกต่างทางวัฒนธรรมและความรู้สึกนึกคิด[9][10]

วันที่ 31 พฤษภาคม 2010 ประเทศออสเตรเลียฟ้องญี่ปุ่นต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ[11] ต่อมาวันที่ 31 มีนาคม 2014 ศาลพิพากษาว่า การที่ญี่ปุ่นล่าวาฬในมหาสมุทรใต้นั้นไม่ได้เป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ทางวิทยาศาสตร์ และสั่งให้เลิกโดยพลัน[12] ญี่ปุ่นแถลงว่า จะปฏิบัติตามคำพิพากษา[13][14]

อ้างอิง[แก้]

  1. "History of whaling". Japan Whaling Association. สืบค้นเมื่อ 2013-08-16.
  2. "The Truth about "Traditional" Japanese Whaling". Sea Shepherd France. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-01. สืบค้นเมื่อ 2014-04-01.
  3. "Anti-whaling activist faces arrest on arrival in Japan". AFP. March 11, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-31. สืบค้นเมื่อ 2014-04-01.
  4. Kirby, Alex (June 11, 2000). "Whaling ban set to end". BBC News.
  5. Briand, F; Colborn, T; Dawkins, R; Diamond, J; Earle, S; Gomez, E; Guillemin, R; Klug, A; Konishi, M (May 20, 2002). "An Open Letter to the Government of Japan on "Scientific Whaling"" (PDF). New York Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-08-19. สืบค้นเมื่อ 2014-04-01. {{cite web}}: |display-authors=9 ไม่ถูกต้อง (help)
  6. Larter, Paul (February 8, 2008). "Australia condemns bloody killing of whale and calf by Japanese fleet". The Times. London.
  7. Biggs, Stuart (May 30, 2007). "Kyokuyo Joins Maruha to End Whale Meat Sales in Japan". Bloomberg.
  8. Sekiguchi, Toko (November 20, 2007). "Why Japan's Whale Hunt Continues". Time. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-24. สืบค้นเมื่อ 2014-04-01.
  9. "The Position of the Japanese Government on Research Whaling". Ministry of Foreign Affairs of Japan. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2002-06-07. สืบค้นเมื่อ 2014-04-01.
  10. "The Japanese Government's position on whaling" (PDF). Consulate-General of Japan, Melbourne. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-10. สืบค้นเมื่อ 2014-04-01.
  11. Commonwealth of Australia (May 31, 2010). "Application Instituting Proceedings" (PDF). Whaling in the Antarctic (Australia v Japan). The Hague: International Court of Justice. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-03-09. สืบค้นเมื่อ 2014-04-01.
  12. "Japan ordered to immediately stop whaling in Antarctic as International Court of Justice rules program was not carried out for scientific purposes". Australia: ABC News. March 31, 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-31. สืบค้นเมื่อ 2014-04-01.
  13. "Japan accepts court ban on Antarctic whaling". BBC News. March 31, 2014.
  14. Sterling, Toby. "World court: Japanese whaling not scientific". MSN News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-02. สืบค้นเมื่อ 2014-04-01.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]