การมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความถี่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความถี่ (อังกฤษ: Frequency-division multiplexing: FDM) คือ การส่งสัญญาณจากผู้ส่งหรือสถานีส่งจำนวนหลายๆ สถานีไปในช่องสัญญาณเดียวกัน ด้วยการใช้เทคนิคแบบอะนาล็อกที่เกี่ยวกับช่องสัญญาณของสื่อนำสัญญาณ โดยสัญญาณต่างๆ จะสร้างขึ้นด้วยการมอดูเลตกับพาหะที่มีความถี่ต่างกัน กล่าวคือ เป็นการแบ่งความถี่ของช่องสัญญาณของสื่อนำสัญญาณออกเป็นช่องสัญญาณหรือช่องความถี่ย่อยๆ (Sub Channel) สำหรับนำข้อมูลของแต่ละสถานีส่ง ซึ่งแต่ละสถานีส่งจะส่งข้อมูลภายในช่องสัญญาณหรือความถี่ที่ได้รับเท่านั้น และระหว่างช่องความถี่จะมีการ์ดแบนด์ (Guard Band) เพื่อป้องกันไม่แต่ละช่องความถี่เกิดการแทรกแซงสัญญาณระหว่างกัน ตัวอย่างของการมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความถี่ เช่น การส่งสัญญาณคลื่นวิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ โทรศัพท์เซลลูลาร์แบบอนาล็อก และเพจเจอร์ บริเวณสถานีส่งจะมีอุปกรณ์มัลติเพล็กเซอร์ (Multiplexer) ซึ่งทำหน้าที่ในการรับสัญญาณข้อมูลจากสถานีส่งแต่ละสถานี และส่งสัญญาณไปยังย่านความถี่ของสถานีต่างๆ ผ่านสายส่งเพื่อไปยังสถานีปลายทาง ในขณะที่สถานีปลายทางจะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่าดีมัลติเพล็กเซอร์ (Demultiplexer) ซึ่งจะทำการแยกสัญญาณคืนกลับตามย่านความถี่ให้สอดคลองกับสถานีต้นทาง สำหรับตัวกลางหรือช่องทางที่ใช้สื่อสารร่วมกัน (Shared Channel) นั้นสามารถเป็นได้ทั้งสายเคเบิลชนิดต่าง รวมถึงคลื่นวิทยุไมโครเวฟ

อ้างอิง[แก้]

  • หลักการของการ Multiplexing เก็บถาวร 2007-02-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • ดร. พิพัฒน์ หิรัณย์วณิชชากร. ระบบการสื่อสารข้อมูล และเครือข่ายคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2546.
  • โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. เครือข่ายคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2548.