การปิดน่านฟ้าทั่วยุโรปจากการปะทุของเอยาฟยาตลาเยอคุตล์ พ.ศ. 2553

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การประมาณของเมฆเถ้าเมื่อเวลา 18:00 น. UTC ของวันที่ 19 เมษายน การพยากรณ์ล่าสุดมีการอัปเดตที่ London Volcanic Ash Advisory Centre site (Met Office, สหราชอาณาจักร)
ประเทศซึ่งได้รับผลกระทบ (18 เมษายน พ.ศ. 2553) : สีแดง – ปิดน่านฟ้าโดยสมบูรณ์ตามระเบียบเครื่องมือการบิน; สีส้ม – ปิดน่านฟ้าบางส่วนตามระเบียบเครื่องมือการบิน; อย่างไรก็ตาม น่านฟ้าของไอซ์แลนด์ได้รับผลกระทบน้อยมาก การจราจรทางอากาศเกือบเป็นปกติ

ภายหลังจากการปะทุครั้งที่สองของเอยาฟยาตลาเยอคุตล์ในไอซ์แลนด์ พ.ศ. 2553 ส่งผลให้เกิดการปิดน่านฟ้าทั่วยุโรป[1] เนื่องจากมีความกังวลว่ากองเศษหินซึ่งถูกปลดปล่อยออกมาหลังการปะทุจะลอยเข้าไปอยู่ในเฉลียงการบินมาตรฐานและทำให้เครื่องยนต์ของอากาศยานเสียหาย[2] ห้วงอากาศยานควบคุมของหลายประเทศถูกปิดตามระเบียบเครื่องมือการบิน ทำให้มีผู้โดยสารตกค้างนับล้านคน ส่งผลให้เป็นการปิดการจราจรทางอากาศครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง[3] และเนื่องจากพื้นที่อากาศส่วนใหญ่ปิดการจราจรทางอากาศ[4][5][6] ทำให้อีกหลายประเทศได้รับผลกระทบจากการยกเลิกเที่ยวบินเหล่านี้ด้วยเช่นกัน

การปะทุดังกล่าวเกิดขึ้นใต้ธารน้ำแข็ง น้ำเย็นจากน้ำแข็งซึ่งกำลังละลายทำให้ลาวาเย็นตัวลงอย่างรวดเร็ว ทำให้มันแตกออกเป็นอนุภาคแก้ว (ซิลิกา) ขนาดเล็กมาก และเถ้า และถูกพัดพาไปพร้อมกับพวยเถ้าถ่าน เนื่องจากธรรมชาติของอนุภาคเถ้าถ่านและปริมาตรมหาศาลของไอน้ำ ซึ่งเกิดจากการละลายของธารน้ำแข็ง ได้ทำให้พวยเถ้าถ่านซึ่งเป็นอันตรายต่ออากาศยานถูกส่งขึ้นไปยังชั้นบรรยากาศเบื้องบนอย่างรวดเร็ว[7]

สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ ประมาณการว่าอุตสาหกรรมสายการบินจะสูญเสียรายได้กว่า 148 ล้านยูโร (200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ต่อวัน ระหว่างการปิดน่านฟ้าดังกล่าว[8] ทั้งฟินแลนด์และสหรัฐอเมริกาต่างก็มีรายงานการค้นพบแก้วจากภูเขาไฟในอากาศยานของตน เป็นการเน้นถึงอันตรายต่ออากาศยานซึ่งบินผ่านพวยเถ้าถ่าน[9]

ประเทศซึ่งได้รับผลกระทบ[แก้]

นี่คือรายชื่อประเทศซึ่งปิดห้วงอากาศยานควบคุมตามระเบียบเครื่องมือการบินหลังจากการปะทุ: ออสเตรีย, เบลเยี่ยม, สาธารณรัฐเช็ก, เดนมาร์ก, เอสโตเนีย, หมู่เกาะแฟโร, ฟินแลนด์, เยอรมนี, ฮังการี, ไอร์แลนด์, อิตาลี (ตอนเหนือของประเทศ), แลตเวีย, ลักเซมเบิร์ก, เนเธอร์แลนด์, โปแลนด์, โรมาเนีย, สโลวาเกีย, สโลวีเนีย, สวิตเซอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร อย่างไรก็ตาม ประเทศไอซ์แลนด์อันเป็นที่ตั้งของเอยาฟยาตลาเยอคุตล์ กลับได้รับผลกระทบน้อยมากจนน่าประหลาดใจ

อ้างอิง[แก้]

  1. "Volcanic ash spreads more travel misery across Europe". BBC News. 17 April 2010. สืบค้นเมื่อ 17 April 2010.
  2. "Iceland volcano: Why a cloud of ash has grounded flights". BBC News. 15 April 2010. สืบค้นเมื่อ 19 April 2010.
  3. "Qantas cancels flights for a third day". The Sydney Morning Herald. 18 April 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-05. สืบค้นเมื่อ 18 April 2010.
  4. "Cancellations due to volcanic ash in the air". Norwegian Air Shuttle. 15 April 2010. สืบค้นเมื่อ 15 April 2010.
  5. "Iceland Volcano Spewing Ash Chokes Europe Air Travel". San Francisco Chronicle. 15 April 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-21. สืบค้นเมื่อ 15 April 2010.
  6. "Live: Volcanic cloud over Europe". BBC News. 15 April 2010. สืบค้นเมื่อ 17 April 2010.
  7. "Iceland's volcanic ash halts flights across Europe". The Guardian. London. 15 April 2010. สืบค้นเมื่อ 17 April 2010.
  8. Wearden, Graeme (16 April 2010). "Ash cloud costing airlines £130m a day". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 17 April 2010.
  9. Glass build-up found in NATO F-16 engine: U.S. official. Reuters. 19 April 2010.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]