การปฏิวัติอเมริกา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การปฏิวัติอเมริกา
ส่วนหนึ่งของการปฏิวัติแอตแลนติก
คำประกาศอิสรภาพสหรัฐ ภาพโดยจอห์น ทรัมบูล แสดงกลุ่มCommittee of Fiveนำเสนอร่างประกาศอิสรภาพให้กับสภาในวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ.1776
วันที่ค.ศ. 1765–1783
ที่ตั้งสิบสามอาณานิคม
ผู้เข้าร่วมอาณานิคมในบริติชอเมริกา
ผล
แผนที่ช่วงก่อนปฏิวัติอเมริกา โดยสีชมพูแสดงรัฐแรกทั้ง 13 รัฐ

การปฏิวัติอเมริกา (อังกฤษ: American Revolution) คือช่วงระยะเวลาครึ่งหลังของศตวรรษที่ 18 ที่มีการลุกฮือเพื่อประกาศเอกราชจากจักรวรรดิอังกฤษ ของประชาชนชาวอเมริกา และสถาปนาสหรัฐอเมริกาขึ้นในเวลาต่อมาหลังจากได้รับชัยชนะในการปฏิวัติในครั้งนี้ ซึ่งถือเป็นประเทศแรกที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยเสรีนิยมภายใต้รัฐธรรมนูญ

ความเดิม[แก้]

คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เดินเรือจากทวีปยุโรป ไปทางทิศตะวันตกเพื่อหาเส้นทางเดินเรือใหม่ เขาไปเจอกับทวีปๆนึง เขาคิดว่าทวีปนั้นคืออินเดีย จนกระทั่งต่อมา ประเทศสเปนกับประเทศโปรตุเกสได้เดินทางลงใต้ ทำให้พบทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งพบทองคำเป็นจำนวนมาก ทำให้สหราชอาณาจักร และประเทศฝรั่งเศสซึ่งเดินทางไปทีหลัง จำใจต้องขึ้นไปทางทิศเหนือ อังกฤษได้ขึ้นฝั่งที่บริเวณตะวันออก แถบนิวอิงแลนด์ นิวยอร์ก ฝรั่งเศสขึ้นฝั่งที่ตอนกลาง บริเวณลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปี ทั้งสองได้ต่างกันขยายอาณานิคม ทำให้ทั้งสองได้มาปะทะกันในที่สุด ทำให้เกิด สงครามเจ็ดปี ในทวีปยุโรป ฝรั่งเศสเป็นฝ่ายแพ้อังกฤษ ทำให้อังกฤษเข้ายึดดินแดนเดิมของฝรั่งเศส

สาเหตุในการปฏิวัติ[แก้]

อังกฤษใช้นโยบายการค้าอย่างไม่ยุติธรรมกับอาณานิคม เนื่องจากบริเวณลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปีนี้เป็นแหล่งเพาะปลูกใบชาที่สำคัญ อังกฤษใช้วิธีซื้อจากอาณานิคมในราคาถูกมากแล้วนำไปขายในยุโรปในราคาเพิ่มหลายเท่า ทำให้ชาวอาณานิคมไม่พอใจ และประกอบกับการที่ชาวอเมริกันได้รับแนวคิดจาก นักปรัชญา คือจอห์น ล็อก ทำให้เหตุการณ์ลุกลามใหญ่ ก่อให้การประท้วงชุมนุมงานเลี้ยงน้ำชาที่บอสตัน (Boston Tea Party) ที่กรุงบอสตัน อังกฤษจึงส่งกำลังเข้าปราบปราม ก่อให้เกิดการต่อต้านอย่างหนัก ฝรั่งเศสได้แอบส่งกำลัง อาวุธเข้าช่วยเหลืออเมริกา นำไปสู่ สงครามปฏิวัติอเมริกัน จนในที่สุด อเมริกาก็สามารถประกาศอิสรภาพได้ในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 ที่เมืองฟิลาเดเฟีย (รัฐเพนซิลเวเนีย) และทำให้เกิดประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐอมเริกาคือ จอร์จ วอชิงตัน และการที่ฝรั่งเศสเข้าช่วยอเมริกานี้เอง ทำให้ทหารที่เข้ามาร่วมรบในสงครามปฏิวัติอเมริกา ได้ซึมซับแนวคิดและความต้องการอิสรภาพของชาวอเมริกันทั้งมวลเข้าไว้ และกลายเป็นพลังผลักดันที่ทำให้เกิดการปฏิวัติในฝรั่งเศสและประกอบกับสภาพการณ์ ในขณะนั้นฝรั่งเศสกำลังย่ำแย่ด้วยสภาพเศรษฐกิจ สถาบันกษัตริย์ที่อ่อนแอ ทำให้ฝรั่งเศสเข้าสู่การปฏิวัติฝรั่งเศส และกลายเป็นแรงผลักดันให้เกิดการปฏิวัติไปทั่วยุโรปในเวลาต่อมาอีกด้วย

อ้างอิง[แก้]