การทำฝันวัยเด็กของคุณให้เป็นจริงได้อย่างแท้จริง

บทความนี้เป็นบทความแปลของพนักงานดีแทคในความร่วมมือกับวิกิพีเดีย คลิกเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์การเลกเชอร์ของพอสช์

การทำความฝันในวัยเด็กของคุณให้เป็นจริงได้อย่างแท้จริง (อังกฤษ: Really Achieving Your Childhood Dreams) เป็นเลกเชอร์ที่บรรยายโดย ดร. แรนดี้ พอสช์ (Dr. Randy Pausch) ศาสตราจารย์วิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ จากมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2550[1] (อ้างถึง The last lecture [2], เล็กเชอร์ครั้งสุดท้าย) ทั้งวิดีโอการเลกเชอร์เรื่อง การทำความฝันในวัยเด็กของคุณให้เป็นจริงได้อย่างแท้จริง (Really Achieving Your Childhood Dreams) และหนังสือเรื่อง เดอะลาสต์เลกเชอร์ ได้รับการเผยแพร่และจำหน่ายเป็นหนังสือขายดีที่สุดของ เดอะนิวยอร์กไทมส์ ร่วมเรียบเรียงโดยผู้สื่อข่าวของ เดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัล ชื่อ เจฟฟรีย์ ชาสโลว์ [3] (Jeffrey Zaslow)

พอสช์ ได้ถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งตับอ่อน ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2549 ในวันที่ 19 กันยายน ปีเดียวกัน ดร.แรนดี้ พอสช์ ประสบผลทางด้านลบกับการผ่าตัดเนื้อร้ายออกจากตับอ่อน [4] ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2550 หมอตรวจพบว่ามะเร็งร้ายได้ก่อตัวขึ้นมาอีก พอสช์ถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งตับอ่อนระยะสุดท้าย และเขาได้รับการแจ้งว่าเค้ามีเวลาเหลือกับการมีสุขภาพดีแค่ 3 – 6 เดือน [5]

ในระหว่างการบรรยายหรือเล็กเชอร์ พอสช์พูดอย่างมีความหวังและสนุกสนาน มีการแทรกด้วยคำคมต่างๆ เขามีความสนใจอย่างยิ่งเกี่ยวกับการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์และวิศวกรรม มีการแนะนำเรื่องการสร้างความร่วมมือ (multidisciplinary collaboration) กันระหว่างนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ การทำงานเป็นทีม และการแสดงออกต่อผู้อื่น การเสนอให้ผู้ฟังได้แรงบันดาลใจในชีวิตจากชีวิตของเขา และสามารถนำชีวิตของเขาไปประยุกต์ใช้ในชีวิตตนเองได้ ดร.แรนดี้ พอสช์ ยังได้คอมเมนถึงการเปลี่ยนชื่อจาก “เล็กเชอร์ครั้งสุดท้าย” เป็นคำว่า ”การเดินทาง” พอสช์ได้อุทานว่า – ผมได้กำหนดไว้แล้ว แต่พวกเค้าดันไปเปลี่ยนชื่อ[6] หลังจากที่ ดร.แรนดี้ พอสช์ จบการบรรยาย สตีฟ ซีบอลท์ – ในนามของอิเล็คโทรนิค อาร์ตส บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านการผลิต พัฒนาและจัดจำหน่ายวิดีโอเกมส์และซอฟแวร์ ซึ่งปัจจุบันได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน ในการพัฒนาซอฟแวร์ Alice 3.0 [7]– ได้กล่าวอย่างให้เกียรติถึงความทรงจำเรื่องทุนการศึกษา ที่ ดร. แรนดี้ พอสช์ ได้สนับสนุนให้กับผู้หญิงเพื่อศึกษาด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ [4] และวิศวกรรม

The last lecture, เล็กเชอร์ครั้งสุดท้าย ของ ดร.แรนดี้ พอสช์ ได้รับความสนใจ และการยอมรับจากสื่ออเมริกัน และทั่วโลก [8] วิดีโอที่บันทึกการบรรยาย กลายเป็นความตื่นเต้นทางอินเทอร์เน็ต จำนวนการเปิดดูผ่านทางอินเทอร์เน็ตสูงกว่าล้านครั้งในเดือนแรกหลังจากมีการปล่อยผ่านบริการเครือข่ายสังคม เช่น ยูทูบ, กูเกิล วิดีโอ, มายสเปซ และ เฟซบุ๊ก [9] ดร.แรนดี้ พอสช์ ได้ส่งการบรรยายฉบับย่อในดิโอปราห์วินฟรีย์โชว์ ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550[10] และในวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2551 ABC ได้ออกอากาศเป็นเวลา 1 ชั่วโมง ในช่วงของ ไดแอน ซอวเยอร์ (Diane Sawyer) ให้ชื่อของว่า เล็กเชอร์ครั้งสุดท้าย: เรื่องความรักสำหรับชีวิตคุณ [11] (The Last Lecture: A Love Story For Your Life) เป็นเวลา 4 วัน หลังการเสียชีวิตจากมะเร็งตับอ่อนเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ABC ได้ออกอากาศเพื่อระลึกและไว้อาลัยให้แก่ชีวิต และการบรรยายที่มีชื่อเสียงของ ดร. แรนดี้ พอสช์ [12]

เบื้องหลัง[แก้]

Randy Pausch

การบรรยายที่ผ่านมา[แก้]

ดร.แรนดี้ พอสช์ เป็นที่ รู้จักในงานบรรยาย เพียงบางครั้ง อาชีพก่อนหน้าที่เป็นที่รู้จักกันดีของ ดร. แรนดี้ พอสช์ คือ อาจารย์ในแผนกวิทยาการคอมพิวเตอร์ ที่โรงเรียนวิศวกรรม มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย ในปี พ.ศ. 2540 – 2541 และได้ทำงานเป็นจินตวิศวกร ในเดอะวอลต์ดิสนีย์ ซึ่งทำให้กับอิเล็คโทรนิค อาร์ตส[13] ที่มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย ดร. แรนดี้ พอสช์ เป็นที่รู้จักในการบรรยายเรื่องความสำคัญในการผลิตเทคโนโลยี เพื่อให้ผู้ใช้งาน (users) สามารถใช้งานได้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งเค้าได้แสดงจุดยืนนี้ด้วยการนำเสนอผ่านอุปกรณ์ วีซีอาร์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้บันทึกวิดีโอ ด้วยระบบอนาล็อก (VCR: videocassette recorder) ซึ่งยากมาที่จะทำการ ควบคุมและใส่คำสั่ง (โปรแกรม, program) เพื่อกำหนดระบบการทำงานได้ เค้าได้ทุบทำลายมันด้วยค้อน ในระหว่างการนำเสนอ [13] ดร.แรนดี้ พอสช์ เป็นที่รู้จักในงานบรรยายอีก ในเรื่อง การบริหารจัดการเวลา ซึ่งได้จัดบรรยายในปี พ.ศ. 2541 ที่ มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย และอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2550 โดยจัดขึ้นในเวลาและสถานที่เดียวกัน [14] กับการบรรยายเรื่อง การทำความฝันในวัยเด็กของคุณให้เป็นจริง (Really Achieving Your Childhood Dreams) เป็นหนึ่งใน 9 หัวข้อของชุดการบรรยายที่ชื่อว่า “การเดินทาง” (Journeys lecture series) ซึ่งจัดขึ้นโดยมหาวิทยาลัยคาร์เนจี เมลลอน (Carnegie Mellon University) มีรายชื่อผู้บรรยาย เช่น ราช เรดดี้ (Raj Reddy), เจย์ แอปท์ (Jay Apt), จาเร็ด โคฮอน (Jared Cohon) และ อธิการบดีมหาวิทยาลัย [15] โดยชุดการบรรยาย ที่ชื่อว่า “การเดินทาง” (Journeys lecture series) เป็นการบรรยายให้กับ พนักงาน และสมาชิกของมหาวิทยาลัย ได้พูดคุยถึงการเดินทางอย่างมืออาชีพ การตัดสินใจ และการท้าทายกับสิ่งที่ได้ประสบพบเจอ [15] The series of lectures was focused on university staff members discussing their professional journeys and the decisions and challenges they faced.[15]

มะเร็งระยะสุดท้าย[แก้]

ในช่วงเวลาที่ ดร.แรนดี้ พอสช์ เป็นอาจารย์บรรยาย เค้าเป็นผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อน และในระหว่างการสัมภาษณ์ ดร.แรนดี้ พอสช์ ระบุว่า เค้ารู้สึกพองโต เมื่อได้รับรู้ว่าเค้ามีเนื้อร้าย ถึงอาจเป็นมะเร็ง ในขณะที่หมอกำลังทำการถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ (CT Scan) เพื่อตรวจสอบนิ่วในถุงน้ำดี[4] ต่อมา ดร. แรนดี้ พอสช์ (Dr Randy Pausch) ประสบผลทางด้านลบกับ การผ่าตัดเนื้อร้ายออกจากตับอ่อน เพื่อหยุดการเจริญเติบโตของเนื้อร้ายในร่างกายของเขา ซึ่งได้พิสูจน์แล้วว่าล้มเหลว [4] (ดร.แรนดี้ พอสช์ , Dr Randy Pausch) ได้รับการผ่าตัดโดยรักษาส่วนปลายของกระเพาะอาหารไว้ (Whipple procedure) หมอได้ตัดถุงน้ำดี, ตัดบางส่วนของ ลำไส้เล็ก, ตัด 1 ใน 3 ของตับอ่อน, และส่วนหนึ่งของกระเพาะอาหาร และเริ่มที่จะทดลอง การรักษาด้วยรังสี และนั่นสามารถเพิ่มโอกาสได้อีก 45% ในการมีชีวิตอยู่ได้อีก 5 ปี [4] ดร.แรนดี้ พอสช์ เริ่มเข้ารับการรักษาด้วยรังสี (ฉายรังสี) ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2549 และหยุดรับการรักษาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2550 เขารุ้สึกดีเค้ามีสุขภาพที่ดี หลังจากจบการรักษา ในเดือนกรกฎาคม และสิงหาคม ปีเดียวกันนั้น ผลทดสอบโดยมหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์แสดงให้เห็นว่า ดร.แรนดี้ พอสช์ ได้หายจากมะเร็งแล้ว [4] แต่แล้วในปลายเดือนสิงหาคม ดร.แรนดี้ พอสช์ ได้แจ้งกับผู้อ่านบน เวปไซท์ว่าโรคมะเร็งของเค้าได้กลับมาอีกครั้ง ดังนี้ – ผลของการเอกซ็เรย์แบบละเอียดด้วยคอมพิวเตอร์ (CT Scan) พบเนื้อร้าย 10 ชิ้น ปรากฏที่ตับของเขา และที่ม้ามมีเนื้อร้ายขนาดเล็กหลายชิ้นอีกด้วย หมอพูดว่านี่เป็นการกลับมาอย่างรุนแรงที่สุดเท่าที่หมอเคยพบมา [4] หมอคาดการณ์ว่า ดร.แรนดี้ พอสช์ จะมีชีวิตที่ดี เหลืออยู่เพียง 3 – 6 เดือนเท่านั้น [4]

ดร.แรนดี้ พอสช์ ได้จัดการบรรยายบนพื้นฐานการบรรยายโดยทั่วไปที่จัดไว้ให้โดยอาจารย์บางท่าน และบนแนวคิด กับจินตนาการว่าอะไรที่ควรจะพูด และอะไรที่เขาต้องการจะสืบทอดเป็นมรดกต่อไป ถ้าเขามีโอกาสครั้งสุดท้ายที่จะได้แบ่งปันความรู้ให้กับโลกใบนี้ [16] มหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอนได้ทำการเปลี่ยนชื่อชุดของการบรรยายจากเดิมที่ถูกตั้งชื่อว่า “เล็กเชอร์ครั้งสุดท้าย” (Last Lecture) ให้เป็นชื่อ “การเดินทาง” (Journeys) และจัดให้พนักงานได้พูดถึงประสบการณ์ของพวกเขาเหล่านั้น [17] ดร.แรนดี้ พอสช์ถูกเสนอให้บรรยายในช่วงเวลาที่เค้าถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งตับอ่อน และช่วงที่เขาได้รับข่าวว่า เขามีเวลาในชีวิตเหลืออยู่ไม่กี่เดือนหลังจากที่ไม่ประสบความสำเร็จในการรักษามะเร็ง [18] เนื่องด้วยมะเร็งระยะสุดท้ายทำให้ ดร. แรนดี้ พอสช์ เกือบจะยกเลิกการบรรยายไป แต่เมื่อได้พูดคุยกับภรรยาของเขา เขาจึงตัดสินใจที่จะรับโอกาสครั้งสุดท้ายนี้ เพื่อที่จะได้แบ่งปันความคิดของเขาให้กับโลกใบนี้ [19] ดร.แรนดี้ พอสช์ เปรียบเทียบเทียบการบรรยายครั้งนี้ กับฉากสุดท้ายตอนจบในภาพยนตร์เรื่อง เดอะเนเจอร์ (The Nature), ที่ เรย์ ฮอปส์ (Ray Hobbs) ตัวแสดงหลัก สามารถเอาชนะอาการบาดเจ็บ และความชรา โดยสามารถตีลูกเบสบอล และวิ่งครบรอบจนทำแต้มได้ [20]

หมายเหตุ[แก้]

  1. "University Lecture Series: Really Achieving Your Childhood Dreams". มหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน. September 18, 2007. สืบค้นเมื่อ 2008-07-30.
  2. Bush, Kent (July 30, 2008). "Bush: Pausch's dying taught others how to live". The MetroWest Daily News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-18. สืบค้นเมื่อ 2008-07-30.
  3. "Hardcover Advice list". เดอะนิวยอร์กไทมส์. 2008-06-22. สืบค้นเมื่อ 2008-07-30.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 4.7 Roth, Mark (September 19, 2007). "CMU professor gives his last lesson on life". Pittsburgh Post-Gazette. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-12. สืบค้นเมื่อ 2008-07-30.
  5. Zaslow, Jeff (September 20, 2007). "A Beloved Professor Delivers The Lecture of a Lifetime". เดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัล. สืบค้นเมื่อ 2008-07-30.
  6. Ramit Plushnick-Masti, Associated Press (July 25, 2008). "Prof whose 'last lecture' became a sensation dies," The Dallas Morning News
  7. Watzman, Anne (March 10, 2006). "Carnegie Mellon Collaborates With EA to Revolutionize Computer Science Education". Carnegie Mellon Today. สืบค้นเมื่อ 2008-07-30.
  8. Schmitz, Von Gregor Peter (2007-10-01). "Ein todkranker Professor rührt Amerika". Spiegel (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 2008-08-11.
  9. Zaslow, Jeffrey (2007-09-27). "The Professor's Manifesto: What It Meant to Readers". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 2008-08-11.
  10. Randy Pausch reprising his "Last Lecture". Google Video. 2007-10-24. {{cite AV media}}: |access-date= ต้องการ |url= (help)
  11. Randy Pausch ABC Special about the "Last Lecture", April 2008. Google Video. 2008-04-11. {{cite AV media}}: |access-date= ต้องการ |url= (help)
  12. "ABC News: Randy Pausch, Author of 'The Last Lecture,' Dies at 47". ABC. สืบค้นเมื่อ 2008-08-11.
  13. 13.0 13.1 Young, Jeffery (October 12, 2007). "After His Last Lecture, a Computer Scientist Contemplates His Final Months". The Chronicle of Higher Education. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-16. สืบค้นเมื่อ 2008-07-31.
  14. Unterbrink, Michelle (November 28, 2007). "Randy Pausch Delivers Lecture on Time Management at UVA, Draws Crowd of Hundreds". Virginia Sentinel. สืบค้นเมื่อ 2008-07-31.
  15. 15.0 15.1 "University Lecture Series: Journeys". Carnigie Mellon University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-03. สืบค้นเมื่อ 2008-08-02.
  16. (Pausch & Zaslow 2008, p. 2)
  17. (Pausch & Zaslow 2008, p. 3)
  18. (Pausch & Zaslow 2008, p. 3 – 4)
  19. (Pausch & Zaslow 2008, p. 6)
  20. (Pausch & Zaslow 2008, p. 7)

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]