การตั้งนิคมในอวกาศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพจำลองการขุดทรัพยากรบนดวงจันทร์

การตั้งนิคมในอวกาศ (หรือ นิคมอวกาศ หรือการตั้งนิคมนอกโลก) คือ การที่นำมนุษย์ไปอยู่อาศัยนอกชั้นบรรยากาศของโลกโดยถาวร

เหตุผลของแนวคิดการตั้งนิคมในอวกาศ คือ การขยายตัวขึ้นของจำนวนประชากรในอารยธรรมมนุษย์ และการเอาชีวิตรอดหลังจากที่เกิดภัยพิบัติบนพื้นพิภพหรือในชั้นบรรยากาศโลก นอกจากนี้ยังรวมถึงการแสวงหาทรัพยากรที่เริ่มหมดและไม่เพียงพอต่อประชากรโลกในอนาคต

การตั้งนิคมในอวกาศเป็นงานที่ยากลำบากมากเพราะมีค่าใช้จ่ายที่สูง และยังต้องคำนึงถึงการสร้างสภาวะแวดล้อม (สิ่งแวดล้อม) ที่เหมาะสมสำหรับประชากรมนุษย์จำนวนมากที่ต้องเข้าไปอาศัยอยู่ภายในสภาวะแวดล้อมที่สร้างขึ้น อาทิ สภาวะจิตใจของประชากร การผลิตออกซิเจนของพืช การรีไซเคิลน้ำเสียให้กลายเป็นน้ำดื่มบริสุทธิ์จนมนุษย์สามารถดื่มได้ สภาวะที่สร้างขึ้นนี้เมื่อนำหลายๆ ระบบมารวมกันจนกลายเป็นที่อยู่อาศัยนี้เรียกว่า สเปซโคโลนี (Space Colony) หรือเรียกอย่างสั้นๆว่า โคโลนี (Colony) ณ ปัจจุบันหลายประเทศได้ผลักดันแนวคิดนี้ทั้งทางด้านแนวคิด และการวิจัย ทั้งในหน่วยงานของรัฐและภาคเอกชน

ผู้สนับสนุนแนวคิด[แก้]

แนวคิดในเรื่องนี้ คือ การที่มีหลักประกันว่ามนุษย์จะอยู่รอดในอวกาศได้ โดยปลอดภัยทั้งในด้านภัยพิบัติและสิ่งแวดล้อม

ในอดีตได้มีนักฟิสิกส์เชิงทฤษฎีทางด้านจักรวาลชื่อ สตีเฟ่น ฮอว์คิง ได้กล่าวสนับสนุนเอาไว้ โดยกล่าวไว้ในปี ค.ศ. 2001 ค.ศ. 2006 และในปี ค.ศ. 2011 ไว้ว่าวิธีที่จะรักษาเผ่าพันธุ์มนุษย์ไว้ได้คือการสร้างโคโลนี โดยมนุษย์อาจสูญพันธุ์ได้ในอีก 1,000 ปี ข้างหน้า ดังนั้นจึงต้องเร่งสร้างโคโลนีโดยเร็วเพื่อรักษาเผ่าพันธุ์มนุษย์เอาไว้[1] และมีเนื้อหาสำคัญที่กล่าวไว้ใน ค.ศ. 2006 ด้วยว่าเราอาจต้องสูญเสียเผ่าพันธุ์มนุษย์ไปในอีก 200 ปีข้างหน้านี้หากไม่สร้างโคโลนี[2]

Louis J. Halle ได้กล่าวไว้ในนิตยสาร Foreign Affairs ในฤดูร้อน ค.ศ. 1980 ว่าอาจเกิดสงครามนิวเคลียร์ขึ้น ดังนั้นการสร้างโคโลนีจึงนับเป็นความคิดที่ดีในการรักษาเผ่าพันธุ์มนุษย์เอาไว้[3] Paul Davies นักฟิสิกส์ท่านหนึ่งได้เสนอมุมมองที่น่าสนใจเกี่ยวกับการตั้งนิคมในอวกาศไว้ว่า หากโลกเผชิญกับภัยพิบัติครั้งใหญ่จริง โคโลนีจะเป็นทางเลือกที่ดีในการรักษาเผ่าพันธุ์ของมนุษย์เอาไว้ เพราะเมื่อเวลานั้นมาถึงมนุษย์จะได้มีโอกาสกลับไปโลกเพื่อฟื้นฟูอารยธรรมมนุษย์และสิ่งแวดล้อมบนโลกหลังจากภัยพิบัติผ่านพ้นไป นอกจากนี้นักประพันธุ์และนักเขียนชื่อ William E. Burrows รวมถึงนักชีววิทยาชื่อ Robert Shapiro ได้กล่าวสนับสนุนให้ภาคเอกชนร่วมโครงการรักษาเผ่าพันธุ์มนุษย์โดยการตั้งนิคมในอวกาศอีกด้วย[4]

J. Richard Gott ผู้มีพื้นฐานความคิดในแนวทางของนิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส (Copernican principle) โดย J. Richard Gott ได้คาดการณ์ว่าอารยธรรมมนุษย์น่าจะอยู่ได้อีก 7.8 ล้านปี แต่เขาก็คิดว่าน่าจะมีอารยธรรมของสิ่งมีชีวิตอื่นอยู่ในอวกาศด้วย เพราะหากพวกเขามาเยือนอาจมีสิ่งไม่คาดคิดเกิดขึ้น ดังนั้นการสร้างโคโลนีจะเป็นช่วยรักษาเผ่าพันธุ์มนุษย์เอาไว้ได้[5]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Highfield, Roger (16 October 2001). "Colonies in space may be only hope, says Hawking". The Telegraph. สืบค้นเมื่อ 5 August 2012.
  2. "Mankind must colonize other planets to survive, says Hawking". Daily Mail(London). 2006-12-01. Retrieved March 11, 2013
  3. Halle, Louis J. (Summer 1980). "A Hopeful Future for Mankind". Foreign Affairs. 58 (5): 1129. doi:10.2307/20040585. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-18. สืบค้นเมื่อ 2014-04-04.
  4. Morgan, Richard (2006-08-01). "Life After Earth: Imagining Survival Beyond This Terra Firma". New York Times. สืบค้นเมื่อ 2010-05-23.
  5. Tierney, John (July 17, 2007). "A Survival Imperative for Space Colonization". The New York Times.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]