การดำน้ำสกูบา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก การดำน้ำลึก)
การดำน้ำลึก เพื่อชมสัตว์ใต้น้ำ

การดำน้ำสกูบา หรือ การดำน้ำลึก (อังกฤษ: scuba diving) เป็นการดำน้ำที่นักดำน้ำใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจใต้ท้องทะเล (scuba set)[1] โดยนักดำน้ำพกถังอากาศลงไปใต้น้ำ[2] ทำให้มีอิสรภาพและเสรีภาพในการเคลื่อนไหวสูงกว่าการดำน้ำสนูบา (snuba) หรือการดำน้ำที่ใช้อากาศจากบนผิวน้ำ และยังอยู่ใต้น้ำได้นานกว่านักดำน้ำแบบฟรีไดฟ์ [1] คำว่า scuba ย่อมาจาก "self-contained underwater breathing apparatus" [1] หมายถึงเครื่องมือที่ใช้สำหรับช่วยให้หายใจในขณะอยู่ใต้น้ำเป็นการเฉพาะตัว กล่าวคือสามารถดำลงสู่ใต้น้ำด้วยตนเองได้ ซึ่งแตกต่างจากการดำลงพร้อม ๆ กันในเรือดำน้ำเป็นต้น

กิจกรรมดำน้ำ[แก้]

การดำน้ำลึกอาจทำได้ด้วยเหตุผลหลายประการทั้งส่วนตัวและเป็นอาชีพ การดำน้ำแบบสันทนาการเพื่อความบันเทิงมีสาขาทางเทคนิคมากมาย ที่เพิ่มความน่าสนใจใต้น้ำ เช่น ดำน้ำในถ้ำ ดำน้ำซากเรือ ดำน้ำแข็ง และดำน้ำลึก[3][4]

กิจกรรมดำน้ำที่เกี่ยวข้องกับการดำน้ำลึก :

กิจกรรมดำน้ำ หมวดหมู่
การบำรุงรักษาในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำขนาดใหญ่ เชิงพาณิชย์, เชิงวิทยาศาสตร์[5][6]
การตรวจสอบ การทำความสะอาด และการบำรุงรักษาเรือ เชิงพาณิชย์,[5][6] กองทัพเรือ[1]
ดำน้ำในถ้ำ การดำน้ำทางเทคนิค, สันทนาการ, เชิงวิทยาศาสตร์
Frogman นักดำน้ำต่อสู้, สอดแนม ทางทหาร[1]
ครูฝึกดำน้ำ อาชีพ[5]
การบำรุงรักษาฟาร์มเลี้ยงปลา(เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ) เชิงพาณิชย์[5][6]
ประมง เช่น หอยเป๋าฮื้อ ปู กุ้งก้ามกราม กุ้งมังกร กุ้งทะเล เชิงพาณิชย์[5] สันทนาการ
สื่อการดำน้ำ เช่น การทำรายการโทรทัศน์เป็นต้น อาชีพ[5][6]
การพักผ่อนและกีฬา สันทนาการ
การตรวจรักษา การรักษาความปลอดภัย: ดำน้ำเพื่อตรวจสอบหรือจับกุมนักดำน้ำที่ไม่ได้รับอนุญาต ตำรวจ ทหารเรือ[1]
ค้นหาและกู้ภัยทางน้ำ ตำรวจ ทหารเรือ [5][6]
การจับปลาโดยใช้ทวน สันทนาการ
การสำรวจและทำแผนที่ เชิงวิทยาศาสตร์ เชิงพาณิชย์[5][6] สันทนาการ
การดำน้ำทางวิทยาศาสตร์ ชีววิทยาทางทะเล อุทกวิทยา ธรณีวิทยา ธรณีวิทยาซึ่งศึกษาซากฟอสซิล สรีรวิทยาและการแพทย์ทางทะเล เชิงวิทยาศาสตร์[6]
โบราณคดีใต้น้ำ (ซากเรือ ท่าเรือ สิ่งปลูกสร้าง สิ่งประดิษฐ์) เชิงวิทยาศาสตร์[5][6] สันทนาการ
การตรวจสอบและการสำรวจใต้น้ำ เชิงพาณิชย์[5] ทหาร [1]
ช่างถ่ายภาพใต้น้ำและถ่ายวิดีโอใต้น้ำ อาชีพ[5][6] สันทนาการ
ทัวร์นำเที่ยวใต้น้ำ อาชีพ, สันทนาการ
การท่องเที่ยวใต้น้ำ สันทนาการ
ดำน้ำในถ้ำ
ดำน้ำเพื่อการสันทนาการ

อุปกรณ์ดำน้ำ[แก้]

นักประดาน้ำส่วนใหญ่เคลื่อนไหวใต้น้ำด้วยการใช้ตีนกบ(Fin) อุปกรณ์อื่น ๆ รวมถึง หน้ากากดำน้ำ เพื่อปรับปรุงวิสัยทัศน์ใต้น้ำ ชุดดำน้ำ อุปกรณ์ควบคุมการลอยตัว หรือบีซีดี (BCD ย่อมาจาก Buoyancy Control Device) ถังบรรจุอากาศแรงดันสูง เรกูเลเตอร์(Regulator) เข็มขัดสำหรับใส่ลูกตะกั่ว (Weight belt) และลูกตะกั่ว (Weight) เพื่อถ่วงให้จมและอุปกรณ์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง นักดำน้ำบางคนใช้ท่อช่วยหายใจในน้ำ หรือสน็อร์กเกิลในขณะว่ายบนผิวน้ำ นักดำน้ำต้องได้รับการฝึกฝนตามขั้นตอนและทักษะการดำน้ำ และผ่านการรับรองขององค์กรดำน้ำ ซึ่งรวมถึงขั้นตอนการปฏิบัติการใช้อุปกรณ์และการรับมือกับอันตรายโดยทั่วไปของสภาพแวดล้อมใต้น้ำและขั้นตอนการปฏิบัติในกรณีฉุกเฉินสำหรับการช่วยเหลือตนเองและผู้ร่วมดำน้ำ

นักประดาน้ำกำลังถ่ายรูป ฉลาม

การฝึกอบรมและการรับรอง[แก้]

นักดำน้ำจะต้องได้รับการฝึกโดยอาจารย์ที่เป็นสมาชิกของหน่วยรับรองมาตรฐานผู้ดำน้ำ หรือได้จดทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐ

การฝึกอบรมนักดำน้ำขั้นพื้นฐาน ผู้ฝึกจะต้องเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำน้ำอย่างปลอดภัยในสภาพแวดล้อมใต้น้ำ รวมทั้งขั้นตอนและทักษะในการใช้อุปกรณ์ดำน้ำ ความปลอดภัย การช่วยเหลือตนเองในกรณีฉุกเฉินและขั้นตอนการช่วยเหลือผู้อื่น การวางแผนดำน้ำ และการใช้ตารางดำน้ำ หรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเพื่อคำนวณการพักน้ำ

ทักษะในการดำน้ำที่นักดำน้ำระดับเริ่มต้นจะเรียนรู้ ได้แก่

  • การเตรียมและการแต่งกายในชุดดำน้ำ
  • การประกอบและทดสอบอุปกรณ์ดำน้ำก่อนดำน้ำ
  • การลงสู่ผิวน้ำและขึ้นจากน้ำ จากฝั่งหรือเรือ
  • การหายใจจากเรกูเลเตอร์
  • การกู้คืนและการเคลียเรกูเลเตอร์
  • การเคลียน้ำจากหน้ากากและการใส่หน้ากากที่หลุดออก
  • การควบคุมการลอยตัวโดยใช้ลูกตะกั่วและ อุปกรณ์ควบคุมการลอยตัว (BCD)
  • เทคนิคการทำตีเท้า การเคลื่อนไหวใต้น้ำและการเคลื่อนย้าย
  • การเพิ่มและลดความลึกที่ปลอดภัยและควบคุมได้
  • ความสมดุลของหูและช่องอากาศอื่น ๆ
  • ช่วยนักดำน้ำคนอื่นโดยการจัดหาอากาศจากแหล่งจ่ายอากาศของตนเองหรือรับอากาศจากนักดำน้ำคนอื่น
  • วิธีการกลับสู่พื้นผิวอย่างปลอดภัยในกรณีที่อากาศหมดหรือมีปัญหา
  • การใช้ระบบ bailout (นักดำน้ำมืออาชีพ)
  • สัญญาณดำน้ำที่ใช้ในการสื่อสารใต้น้ำ นักดำน้ำมืออาชีพจะได้เรียนรู้วิธีการสื่อสารอื่น ๆ
  • ทักษะการจัดการการดำน้ำเช่นการตรวจสอบความลึกและเวลาและการจ่ายลมหายใจ
  • ขั้นตอนการดำน้ำของ Buddy
Aqualung อุปกรณ์ช่วยหายใจใต้ท้องทะเล

การฝึกดำน้ำเพื่อนันทนาการ[แก้]

การดำน้ำแบบสันทนาการ (รวมถึงเทคนิค) ไม่มีหน่วยงานที่ได้รับการรับรองหรือกำกับดูแลแบบรวมศูนย์และส่วนใหญ่ควบคุมด้วยตัวเอง อย่างไรก็ตามมีองค์กรระหว่างประเทศหลายแห่งที่มีขนาดและส่วนแบ่งการตลาดที่แตกต่างกัน ซึ่งฝึกอบรมและรับรองนักดำน้ำและครูฝึกนักดำน้ำ และร้านขายอุปกรณ์ดำน้ำและร้านเช่าต้องการหลักฐานการรับรองนักดำน้ำจากหน่วยงานเหล่านี้ ก่อนที่จะขาย ให้บริการ หรือให้เช่าผลิตภัณฑ์ดำน้ำได้

องค์กรต่อไปนี้เผยแพร่มาตรฐานสำหรับความสามารถด้านทักษะการดำน้ำเพื่อสันทนาการและความรู้:

  • CMAS - Confédération Mondiale des Activités Subaquatiques
  • EUF - European Underwater Federation
  • WRSTC - World Recreational Scuba Training Council
  • ISO - International Standards Organisation

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 US Navy (2006). US Navy Diving Manual, 6th revision. Washington, DC.: US Naval Sea Systems Command. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-02. สืบค้นเมื่อ 15 September 2016.
  2. Brubakk, Alf O.; Neuman, Tom S., บ.ก. (2003). Bennett and Elliott's physiology and medicine of diving (5th Rev ed.). Philadelphia, Pennsylvania: Saunders Ltd. ISBN 0-7020-2571-2.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-01. สืบค้นเมื่อ 2018-01-12.
  4. [1]
  5. 5.00 5.01 5.02 5.03 5.04 5.05 5.06 5.07 5.08 5.09 5.10 Staff (1977). "The Diving at Work Regulations 1997". Statutory Instruments 1997 No. 2776 Health and Safety. Kew, Richmond, Surrey: Her Majesty's Stationery Office (HMSO). สืบค้นเมื่อ 6 November 2016.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 6.6 6.7 6.8 "Diving Regulations 2009". Occupational Health and Safety Act 85 of 1993 – Regulations and Notices – Government Notice R41. Pretoria: Government Printer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2016. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2016 – โดยทาง Southern African Legal Information Institute.