การชักจากไข้สูง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การชักจากไข้สูง
(Febrile seizure)
ชื่ออื่นFever fit, febrile convulsion
ปรอทวัดไข้แสดงอุณหภูมิ 38.8 องศาเซลเซียส ถือว่ามีไข้
สาขาวิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน, ประสาทวิทยา, กุมารเวชศาสตร์
อาการชักเกร็งกระตุกทั้งตัว[1]
การตั้งต้นอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปั[1]
ระยะดำเนินโรคมักไม่เกิน 5 นาที[1]
ประเภทแบบทั่วไป, แบบซับซ้อน[1]
สาเหตุพันธุกรรม, สิ่งแวดล้อม[1]
ปัจจัยเสี่ยงประวัติครอบครัว[1]
โรคอื่นที่คล้ายกันเยื่อหุ้มสมองอักเสบ, ความผิดปกติทางเมตาบอลิก[1]
การรักษารักษาตามอาการ[1]
ยาเบนโซไดอาซีปีน (ใช้เป็นส่วนน้อย)[1]
พยากรณ์โรคดี[1]
ความชุกพบในเด็กประมาณ 5%[2]

การชักจากไข้สูงคืออาการชักที่เกิดร่วมกับภาวะไข้สูง โดยไม่มีสาเหตุร้ายแรงอื่น[1] ส่วนใหญ่พบในเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี[1][3] อาการชักส่วนใหญ่เป็นอยู่ไม่เกิน 5 นาที หลังชักมักฟื้นกลับเป็นปกติภายในเวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง[1][4] แบ่งออกเป็นสองชนิดหลักๆ คือชักจากไข้สูงแบบทั่วไป (simple) และชักจากไข้สูงแบบซับซ้อน (complex)[1] โดยในการชักจากไข้สูงแบบทั่วไปเด็กจะมีสุขภาพโดยทั่วไปปกติ มีอาการชักแบบเกร็ง-กระตุก ไม่เกินวันละ 1 ครั้ง[1] ในขณะที่การชักจากไข้สูงแบบซับซ้อนเด็กอาจมีอาการเฉพาะที่ร่วมด้วย หรือชักนานกว่า 15 นาที หรือชักมากกว่า 1 ครั้งใน 1 วัน[5] โดยเด็กที่ชักจากไข้สูงกว่า 80% จะเป็นการชักจากไข้สูงแบบทั่วไป[6]

สิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการชักในผู้ป่วยกลุ่มนี้คือการมีไข้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไข้ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส[6] เด็กที่มีคนในครอบครัวเคยมีภาวะนี้จะมีโอกาสมีภาวะนี้มากกว่าเด็กที่ไม่มี[1] กลไกที่เป็นสาเหตุของภาวะนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดแต่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม การพัฒนาของสมอง และสารสื่อกลางการอักเสบบางอย่าง[7][8][6] การวินิจฉัยทำได้โดยการพิจารณาจากประวัติและผลการตรวจร่างกาย ร่วมกับการตรวจให้แน่ใจว่าไม่มีสาเหตุที่มาจากการติดเชื้อในสมอง เมตาบอลิซึม และไม่เคยมีประวัติการชักที่ไม่ได้เป็นพร้อมกับการมีไข้[1][6] โดยทั่วไปแล้วไม่จำเป็นต้องตรวจเลือด สแกนสมอง หรือตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง[1] แต่อาจต้องมีการตรวจเพื่อหาตำแหน่งของการติดเชื้อที่เป็นสาเหตุของไข้[1][6] การตรวจน้ำไขสันหลังมีความจำเป็นในบางราย แต่ไม่เสมอไป[1]

ทางการแพทย์ไม่แนะนำให้ใช้ยากันชักหรือยาลดไข้เพื่อจุดประสงค์ในการป้องกันภาวะชักจากไข้[1][9] ในกรณีที่เด็กมีอาการชักนานกว่า 5 นาทีอาจจำเป็นต้องหยุดอาการชักด้วยยาในกลุ่มเบนโซไดอะซีพีนเช่นลอราซีแพมหรือมิดาโซแลม[1][10] การพยายามลดไข้ (เช่น การเช็ดตัว) ให้ไข้ลงอย่างรวดเร็วขณะที่กำลังชักอยู่ถือว่าไม่มีความจำเป็น[11]

ภาวะชักจากไข้เป็นภาวะที่พบได้บ่อย โดยพบในเด็กประมาณ 2-10%[2] พบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง[12] เด็กที่เคยมีภาวะชักจากไข้มาแล้วครั้งหนึ่งจะมีโอกาสเป็นซ้ำในช่วงวัยเด็กประมาณ 35%[6] พยากรณ์โรคส่วนใหญ่ดี โดยเด็กที่เคยมีภาวะชักจากไข้แบบทั่วไปส่วนใหญ่มีผลการศึกษาเทียบเท่ากับเด็กที่ไม่เคยมีภาวะชักจากไข้และไม่เปลี่ยนแปลงอัตราการเสียชีวิต[1] มีข้อมูลที่ไม่ชัดเจนนักบ่งชี้ว่าคนที่เคยมีภาวะชักจากไข้อาจมีโอกาสเป็นโรคลมชักมากกว่าประชากรทั่วไปประมาณ 2%[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 1.16 1.17 1.18 1.19 1.20 1.21 1.22 1.23 Graves RC, Oehler K, Tingle LE (January 2012). "Febrile seizures: risks, evaluation, and prognosis". American Family Physician. 85 (2): 149–53. PMID 22335215.
  2. 2.0 2.1 Gupta, A (February 2016). "Febrile Seizures". Continuum (Minneapolis, Minn.). 22 (1 Epilepsy): 51–9. doi:10.1212/CON.0000000000000274. PMID 26844730. S2CID 33033538.
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Stat2019
  4. "Symptoms of febrile seizures". www.nhs.uk. 1 ตุลาคม 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 ตุลาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2014.
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ AAP2017
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Leu2018
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ BMJ2015
  8. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Kwon2018
  9. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Off2017
  10. Prasad P (2013). Pocket Pediatrics: The Massachusetts General Hospital for Children Handbook of Pediatrics. Lippincott Williams & Wilkins. p. 419. ISBN 9781469830094. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 กันยายน 2017.
  11. "Febrile Seizures". familydoctor.org. สืบค้นเมื่อ 24 January 2020.
  12. Ronald M. Perkin, บ.ก. (2008). Pediatric hospital medicine : textbook of inpatient management (2nd ed.). Philadelphia: Wolters Kluwer Health/Lippincott Williams & Wilkins. p. 266. ISBN 9780781770323. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 กันยายน 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก