การจับช้าง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก การคล้องช้าง)
การคล้องช้างในเพนียด
พระครูปะกำ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่หมอช้างให้การเคารพบูชา

การจับช้าง หรือ การคล้องช้าง ถือเป็นศิลปศาสตร์อย่างหนึ่งที่มีการเรียนรู้มาตั้งแต่โบราณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์พระมหากษัตริย์ไทย ซึ่งต้องศึกษาศิลปวิทยาแขนงนี้เพื่อทรงสามารถสรรหาช้างดีมาไว้ประดับพระบารมี ทั้งในยามปกติจะใช้ทรงเป็นพาหนะ และในยามสงครามที่จะทรงใช้เป็นคชาธารออกรณรงค์หมู่ปัจจามิตร ดังนั้น จะพบว่าในประวัติศาสตร์องค์พระมหากษัตริย์ทรงมักจะเสด็จออก เพื่อไปวังช้างด้วยพระองค์เอง ทั้งนี้ก็เพื่อฝึกพระองค์และขุนนางช้าราชบริพาร ได้ฝึกซ้อมการคล้องช้างป่าให้มีความชำนาญเชี่ยวชาญในการจับช้าง และรอบรู้ถึงป่าในราชอาณาจักรได้ดีขึ้น ทั้งเป็นการฝึกการขับขี่ช้าง และใช้ช้างให้ชำนาญขึ้น นอกจากนี้การไปวังช้าง หรือการคล้องช้างนี้ก็เพื่อคัดเลือกช้างมาไว้ใช้งานเป็นพาหนะบรรทุกสิ่งของต่างๆ

ในการจับช้างในป่าเพื่อนำช้างมาฝึกหัดในงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการฝึกช้างศึกช่วยรบ หรือนำช้างงานแบกสัมภาระต่างๆ หรือจับช้างมาเพื่อส่งออกไปขายในดินแดนใกล้เคียง โดยบุคคลที่มาร่วมจับช้างเหล่านี้ที่มีแต่โบราณที่เรียกว่า ควาญ ถ้าเป็นผู้ที่เพิ่งจะเริ่มมาทำงาน เรียกว่า "ควาญซ้าย" และ ถ้ามีความชำนาญมากขึ้นจะได้รับเลื่อนตำแหน่งเป็น "ควาญขวา" และถ้ามีความเชี่ยวชาญในการจับช้างมากขึ้น และมีอายุสมควรจะได้รับเลื่อนเป็น "หมอช้าง" แต่ที่สำคัญจะต้องเป็นคนที่มีความสามารถในการคล้องช้างเหนือควาญช้างผู้อื่น หมอช้างเองก็ยังมีครูที่คอยควบคุมอยู่อีกชั้นหนึ่ง ที่เรียกว่า "ปะกรรม" หรือ "ปะกำ" ซึ่งจะรับคำสั่งจากหัวหน้าใหญ่ซึ่งเรียกว่า "ปฏิยายะ" อีกต่อหนึ่ง

วิธีการจับช้างหรือการคล้องช้าง[แก้]

  • การคล้องช้างในเพนียด
  • การคล้องช้างหรือจับช้างในซอง
  • การจับช้างด้วยวิธีหลุมพราง
  • การคล้องช้างหรือการจับช้างกลางน้ำ
  • การจับช้างด้วยวิธีใช้ช้างต่อ

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  • ณัฎฐภัทร จันทวิช. ชุดมรดกไทย: ช้างราชพาหนะ. กรุงเทพฯ :มรดกไทย, 2542. หน้า 91-150. ISBN 9742567565