การกักกันชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การกักกันชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่น
วันที่19 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1942 – 20 มีนาคม ค.ศ.1946[1][2][3]
ที่ตั้ง
Prisonersชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นระหว่าง 110,000 และ 120,000 คนที่อาศัยอยู่ที่เวสต์โคสต์
1,200 ถึง 1,800 คนที่อาศัยอยู่ที่รัฐฮาวาย

การกักกันชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่น เป็นการที่รัฐบาลแห่งสหรัฐอเมริกาย้ายที่และการกักกันชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นและชาวญี่ปุ่นผู้อาศัยอยู่ตามแนวชายฝั่งแปซิฟิกของสหรัฐอเมริกาอย่างน้อย 110,000 คน ไปยังค่ายที่เรียกว่า "ค่ายย้ายที่สงคราม" ในช่วงที่กระตุ้นเตือนจากการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ของจักรวรรดิญี่ปุ่น ใน ค.ศ. 1942[5] การกักกันชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นนี้นำมาใช้อย่างไม่เท่ากันทั่วสหรัฐอเมริกา ชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นผู้อาศัยตามชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐอเมริกาถูกกักกันทั้งหมด ขณะที่ในฮาวาย ซึ่งมีชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นมากกว่า 150,000 คน หรือมากกว่าหนึ่งในสามของประชากร มีเพียง 1,200[6] ถึง 1,800 คนเท่านั้นที่ถูกกักกัน[7] ในบรรดาผู้ที่ถูกกักกันทั้งหมดนั้น เป็นพลเมืองอเมริกัน 62%[8][9]

ประธานาธิบดี แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ อนุมัติการกักกันด้วยคำสั่งฝ่ายบริหารที่ 9066 ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942 ซึ่งอนุญาตให้ผู้บังคับบัญชาทหารท้องถิ่นกำหนด "พื้นที่ทหาร" เป็น "เขตการกีดกัน" โดย "ทุกคนอาจถูกแยกออกไป" อำนาจนี้ใช้เพื่อประกาศว่าบุคคลใดก็ตามที่มีบรรพบุรุษชาวญี่ปุ่นจะถูกกันออกไปจากทั่วชายฝั่งแปซิฟิก รวมทั้งในรัฐแคลิฟอร์เนียทั้งหมด และส่วนใหญ่ของรัฐออริกอนและรัฐวอชิงตัน ยกเว้นผู้ที่อยู่ในค่ายกักกัน[10] ใน ค.ศ. 1944 ศาลสูงสุดได้สนับสนุนความถูกต้องตามรัฐธรรมนูญของคำสั่งแยก ขณะที่ให้ความเห็นว่า บทบัญญัติที่เลือกเฉพาะผู้ที่มีบรรพบุรุษเป็นชาวญี่ปุ่นนั้นเป็นอีกประเด็นแยกต่างหากนอกขอบเขตแห่งกระบวนพิจารณา[11] สำนักงานสำรวจประชากรสหรัฐอเมริกาสนับสนุนความพยายามกักกันโดยการจัดข้อมูลย่านที่เป็นความลับของชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่น บทบาทของสำนักงานนั้นถูกปฏิเสธมาหลายทศวรรษ กระทั่งมีข้อพิสูจน์ใน ค.ศ. 2007[12][13]

ใน ค.ศ. 1988 รัฐสภาคองเกรสผ่านและประธานาธิบดี โรนัลด์ เรแกน ลงนามในกฎหมายซึ่งขอโทษสำหรับการกักกันในนามของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ตัวกฎหมายนั้นกล่าวว่า พฤติการณ์ของรัฐบาลนั้นตั้งอยู่บน "อคติแห่งเชื้อชาติ หวาดผวาสงคราม และล้มเหลวในภาวะผู้นำทางการเมือง"[14] รัฐบาลเบิกจ่ายเงินมากกว่า 1,600 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ เพื่อชดใช้ค่าเสียหายแก่ชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นที่ถูกกักกันและทายาท[15]

อ้างอิง[แก้]

  1. Burton, J.; Farrell, M.; Lord, F.; Lord, R. "Confinement and Ethnicity (Chapter 3)". www.nps.gov. National Park Service. สืบค้นเมื่อ November 30, 2016.
  2. "Japanese American Internment » Tule Lake". njahs.org. National Japanese American Historical Society. สืบค้นเมื่อ November 30, 2016.
  3. Weik, Taylor (March 16, 2016). "Behind Barbed Wire: Remembering America's Largest Internment Camp". NBC News. สืบค้นเมื่อ November 30, 2016.
  4. National Park Service (2012). Wyatt, Barbara (บ.ก.). "Japanese Americans in World War II: National historic landmarks theme study" (PDF). Washington, DC: U.S. Department of the Interior. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-13. สืบค้นเมื่อ February 22, 2017.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  5. National Park Service. Manzanar National Historic Site
  6. Ogawa, Dennis M. and Fox, Jr., Evarts C. Japanese Americans, from Relocation to Redress. 1991, page 135.
  7. "Internment – WWII Hawaii". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-27. สืบค้นเมื่อ 2011-10-27.
  8. Semiannual Report of the War Relocation Authority, for the period January 1 to June 30, 1946, not dated. Papers of Dillon S. Myer. Scanned image at เก็บถาวร 2018-06-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน trumanlibrary.org. Retrieved September 18, 2006.
  9. "The War Relocation Authority and The Incarceration of Japanese Americans During World War II: 1948 Chronology," Web page เก็บถาวร 2015-11-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at www.trumanlibrary.org. Retrieved September 11, 2006.
  10. Korematsu v. United States dissent by Justice Owen Josephus Roberts, reproduced at findlaw.com. Retrieved September 12, 2006.
  11. Hakim, Joy (1995). A History of Us: War, Peace and all that Jazz. New York: Oxford University Press. pp. 100–104. ISBN 0-19-509514-6.
  12. JR Minkel (March 30, 2007). "Confirmed: The U.S. Census Bureau Gave Up Names of Japanese-Americans in WW II". Scientific American. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  13. Haya El Nasser (March 30, 2007). "Papers show Census role in WWII camps". USA Today.
  14. 100th Congress, S. 1009, reproduced at เก็บถาวร 2010-11-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน internmentarchives.com. Retrieved September 19, 2006.
  15. "Wwii Reparations: Japanese-American Internees". Democracy Now!. สืบค้นเมื่อ January 24, 2010.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]