กางเขนรูธเวลล์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
งานศิลปะ/โบราณคดี
“กางเขนรูธเวลล์”
Ruthwell Cross

มหากางเขน
สูง 5.5 เมตร
ราว คริสต์ศตวรรษที่ 8
ที่ตั้งรูธเวลล์, ดัมฟรีสเชอร์, สกอตแลนด์
ศิลปะแองโกล-แซ็กซอน
ปัจจุบันตั้งอยู่ที่วัดที่รูธเวลล์, ดัมฟรีสเชอร์, สกอตแลนด์
ศิลปะคริสต์ศาสนา

กางเขนรูธเวลล์ (อังกฤษ: Ruthwell Cross) เป็นกางเขนหินของสมัยแองโกล-แซ็กซอนที่อาจจะสร้างมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 8[1] เมื่อรูธเวลล์เป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรนอร์ทธัมเบรียของแองโกล-แซ็กซอน แต่ในปัจจุบันรูธเวลล์เป็นส่วนหนึ่งของสกอตแลนด์ กางเขนแองโกล-แซ็กซอนมีลักษณะคล้ายคลึงกับมหากางเขนในสมัยเดียวกันของไอร์แลนด์ และกางเขนทั้งสองแบบเป็นส่วนหนึ่งของศิลปะเกาะ

องค์ประกอบ[แก้]

บนตัวกางเขนรูธเวลล์เป็นรูปลักษณ์สลักนูนเช่นเดียวกับที่พบบนกางเขนแองโกล-แซ็กซอนอื่นๆ ที่เป็นงานสลักนูนขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดางานสลักนูนแองโกล-แซ็กซอนทั้งหลาย นอกจากนั้นก็ยังมีคำจารึกทั้งภาษาละตินและอักษรรูนส์ซึ่งมักจะไม่ปรากฏบนงานอนุสรณ์คริสเตียน อักษรรูนส์ที่ปรากฏคล้ายคลึงกับบรรทัดที่ 39 ถึง 64 ของ “The Dream of the Rood” ซึ่งเป็นกวีนิพนธ์ภาษาอังกฤษเก่าที่อาจจะมาสลักในภายหลัง กางเขนสูง 5.5 เมตร กางเขนถูกทุบเป็นเสี่ยงๆ โดยนักทำลายรูปเคารพเพรสไบทีเรียนเมื่อปี ค.ศ. 1664 และทิ้งซากไว้ในบริเวณวัดจนกระทั่งเมื่อได้รับการบูรณะในปี ค.ศ. 1818 โดยเฮนรี ดันแคน ในปี ค.ศ. 1887 กางเขนรูธเวลล์ก็ได้รับการย้ายไปตั้ง ณ ที่ตั้งปัจจุบันที่วัดที่รูธเวลล์, ดัมฟรีสเชอร์, สกอตแลนด์ ภายใต้มุขตะวันออกที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะสำหรับเป็นที่ตั้ง[2]

กางเขนรูธเวลล์เป็นทั้งงานที่มีชื่อเสียงที่สุดและสลักเสลาอย่างละเอียดที่สุดของงานมหาประติมากรรมแองโกล-แซ็กซอน[3] และอาจจะเป็นลายลักษณ์อักษรของกวีนิพนธ์อังกฤษที่เก่าแก่ที่สุดของอังกฤษที่เก่ากว่าหนังสือกวีนิพนธ์อังกฤษฉบับต่างๆ[4] กางเขนรูธเวลล์ได้รับการบรรยายโดยนิโคลัส เพฟเนอร์ว่า “กางเขนบิวคาสเซิลและกางเขนรูธเวลล์....เป็นงานอันยิ่งใหญ่ที่สุดของยุคนั้นของยุโรปทั้งหมด”[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. Wilson, 72. Other datings are usually earlier rather than later.
  2. Information boards, Ruthwell Church.
  3. Wilson, 72.
  4. This depends on the date allocated to the cross itself, and also the runic inscriptions, which may be later (see below). The earliest English manuscripts containing poetry are two versions of Bede that contain Cædmon's Hymn, and are dated to the 8th century: the Moore Bede and Saint Petersburg Bede.
  5. Pevsner - Introduction.

บรรณานุกรม[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

  • Brendan Cassidy (ed.), The Ruthwell Cross, Princeton University Press (1992).
  • Conner, Patrick W. "The Ruthwell Monument Runic Poem in a Tenth-Century Context." Review of English Studies Advance Access. (2007) : 1-27. Print.
  • Richard J. Kelly (ed.), Stone, Skin and Silver, Litho Press / Sheed & Ward (1999). ISBN 9781871121353
  • Jane Hawkes & Susan Mills (eds.), Northumbria's Golden Age, Sutton Publishing Ltd (1999).
  • Royal Commission on Ancient and Historical Monuments of Scotland, County of Dumfries, (1920).
  • Article by Bammesberger
  • Saxl, Fritz, The Ruthwell Cross, Journal of the Warburg and Courtauld Institutes, Vol. 6, (1943), pp. 1-19, The Warburg Institute, JSTOR

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ กางเขนรูธเวลล์