กอมโฟทีเรียม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กอมโฟทีเรียม
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: Early Miocene–Middle Miocene
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Proboscidea
วงศ์: Gomphotheriidae
สกุล: Gomphotherium
Burmeister, 1837
Species
Subgenus Gomphotherium
  • G. angustidens
    (Cuvier, 1817) (type)
  • G. annectens (Matsumoto, 1925)
  • G. browni (Osborn, 1926)
  • G. connexum Hopwood, 1935
  • G. cooperi (Osborn, 1932)
  • G. hannibali Welcomme, 1994
  • G. inopinatum (Borissiak and Belyaeva, 1928)
  • G. libycum (Fourtau, 1918)
  • G. mongoliense (Osborn, 1924)
  • G. obscurum (Leidy, 1869)
  • G. pojoaquensis (Frick, 1933)
  • G. productum (Cope, 1874)
  • G. pygmaeus (Deperet, 1897)
  • G. riograndensis (Frick, 1933)
  • G. steinheimensis
    (Klahn, 1922)
  • G. subtapiroideum (Schlesinger, 1917)
  • G. sylvaticum Tassy, 1985
  • G. wimani Hopwood, 1935
  • G. tassyi Wang, Li, Duangkrayom, Yang, He & Chen, 2017[1]
Subgenus Genomastodon
  • G. osborni (Barbour, 1916)
  • G. willistoni (Barbour, 1914)
Incertae sedis
  • G. calvertensis
    Gazin and Collins 1950
ชื่อพ้อง
  • Trilophodon
    Falconer and Cautley, 1846
  • Tetrabelodon
    Cope, 1884
  • Serridentinus
    Osborn, 1923
  • Tatabelodon
    Frick 1933

กอมโฟทีเรียม (อังกฤษ: Gomphotherium (เสียงอ่านภาษาอังกฤษ: /ˌgɒmfɵˈθiːriəm/)) บางคนเรียกในชื่อ ไตรโลโฟดอน เป็นตระกูลสัตว์งวงที่มีลักษณะค่อนข้างโบราณ ขากรรไกรล่างบางชนิดยาวถึง 2 เมตร มีงา 2 คู่ที่ค่อนข้างสั้น งอกจากขากรรไกรบนและล่าง ฟันกราม 2 ซี่แรก (M1, M2) ทั้งด้านบนและด้านล่างจะมีสันในแนวขวางจำนวนเท่ากัน คือ 3 สัน แต่ฟันกรามซี่สุดท้ายจะเพิ่มอีกหนึ่งสัน จำนวนของสันฟันอาจจะเพิ่มขึ้นได้ในบางตัวซึ่งเป็นกรณีข้อยกเว้น สันฟันดังกล่าวนี้เกิดจากการเรียงตัวของปุ่มฟัน (cusp) ในแนวขวาง แต่แนวสันฟันไม่ค่อยชัดเจนเหมือนในสกุล มาสโตดอน ถิ่นที่อยู่

กอมโฟทีเรียม มีชีวิตอยู่ในสมัยไมโอซีนช่วงกลาง (16 -11 ล้านปีก่อน) อาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำทะเลสาบในเขตป่าที่ค่อนข้างแห้งแล้ง แต่บางชนิดอาศัยอยู่ตามที่ลุ่มชื้นแฉะคล้ายพวกสมเสร็จ โครงกระดูกที่สมบูรณ์ของกอมโฟทีเรียม พบใกล้เมือง Sansan ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งสามารถดูได้ที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติในกรุงปารีส การกระจาย ส่วนใหญ่พบในยุโรปตะวันตก แหล่งพบอื่น ๆ ได้แก่ ทวีปแอฟริกา อเมริกาเหนือ และเอเชีย โดยแหล่งล่าสุด เมื่อ พ.ศ. 2540 คือ แหล่งบ่อทรายตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา ปี 2547 ทีมนักวิจัยนำโดย ดร.เยาวลักษณ์ ชัยมณี ได้สำรวจแหล่งเหมืองลิกไนต์แม่เมาะ จ.ลำปาง และได้พบฟอสซิลงาช้างโบราณ อายุ 13 ล้านปีพันธุ์กอมโฟเทอเรียม (Gomphotherium) หรือช้าง 4 กิ่ง โดยประกอบด้วยงาบน 2 กิ่ง ความยาวประมาณ 70 เซนติเมตร และงาล่าง 1 กิ่ง ซึ่งฟอสซิลอยู่ในสภาพที่ค่อนข้างสมบูรณ์

เตตระโลโฟดอน[แก้]

เตตระโลโฟดอน (Tetralophodon) หรือ ช้างสี่งา เป็นตัวแทนของกลุ่มบรรพบุรุษดั้งเดิมของช้างแท้ในปัจจุบัน ความสูงประมาณ 2.5 เมตร หัวของ เตตระโลโฟดอน มีลักษณะยาว ขากรรไกรบนและล่างยาวปานกลาง ( สั้นกว่า กอมโฟทีเรียม ) มีงา 4 อันหรือ 2 คู่จากขากรรไกรบนและล่าง ฟันกราม 2 ซี่แรก มีสันฟันในแนวขวาง 4 สัน ( ถ้า 3 สัน คือ กอมโฟทีเรียม ) แต่ฟันกรามซี่สุดท้ายจะมี 5 สัน และเชื่อว่า เตตระโลโฟดอน เป็นสัตว์ที่กินหญ้าอ่อนลำต้นสูง ซึ่งสูงเกินกว่าที่สัตว์อื่น ๆ จะกินได้

เตตระโลโฟดอน มีชีวิตอยู่ในยุคไมโอซีนช่วงกลาง ถึงไพลโอซีน (16-1.6 ล้านปีก่อน ) การกระจาย พบซากดึกดำบรรพ์ในยุโรป เอเชียและอเมริกาเหนือ ในประเทศไทยพบขากรรไกร ฟันและงา ที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา

อ้างอิง[แก้]

  1. Wang, Shi-Qi; Li, Yu; Duangkrayom, Jaroon; Yang, Xiang-Wen; He, Wen; Chen, Shan-Qin (2017). "A new species of Gomphotherium (Proboscidea, Mammalia) from China and the evolution of Gomphotherium in Eurasia". Journal of Vertebrate Paleontology. 37 (3): e1318284. doi:10.1080/02724634.2017.1318284. S2CID 90593535.