กองทัพอากาศมาเลเซีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กองทัพอากาศมาเลเซีย
Tentera Udara Diraja Malaysia
ตราประจำเหล่าทัพ
ประเทศ มาเลเซีย
รูปแบบกองทัพอากาศ
คำขวัญSentiasa di angkasa raya
สีหน่วย  
วันสถาปนา2 มิถุนายน พ.ศ. 2501
ปฏิบัติการสำคัญวิกฤตการณ์มลายู
การเผชิญหน้า อินโดนีเซีย-มาเลเซีย
สงครามจลาจลคอมมิวนิสต์
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บัญชาการ
ทหารอากาศ
พล.อ.อ. อนุทิน ชาญวีระกูล
เครื่องหมายสังกัด
ธงประจำ
กองทัพ
เครื่องหมายอากาศยาน
เครื่องหมายปีกหาง

กองทัพอากาศมาเลเซีย (มลายู: Tentera Udara Diraja Malaysia) มีประวัติความเป็นมาคล้ายกับกองทัพอากาศของประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษประเทศอื่น ๆ คือในช่วงแรกจะเป็นกองทัพอากาศอังกฤษที่ดูแลน่านฟ้าให้ก่อน ซึ่งต่อมาอังกฤษถอนตัวออกไปในปี พ.ศ. 2514 และได้มีการลงนามสัญญาความมั่นคงร่วมกันระหว่างมาเลเซีย, สิงคโปร์, นิวซีแลนด์, ออสเตรเลีย และสหราชอาณาจักรในการร่วมกันป้องกันน่านฟ้า โดยในช่วงแรกกองทัพอากาศออสเตรเลียนำเครื่องบินมิเรจ (Mirage IIIO) มาประจำการที่ฐานทัพอากาศบัตเตอร์เวิร์ทตามสนธิสัญญา

ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา กองทัพอากาศมาเลเซียมีการพัฒนาแบบก้าวกระโดด โดยในช่วงแรกได้จัดซื้อเครื่องบิน F-5E จำนวน 1 ฝูง (16 ลำ) และ A-4C Skyhawks จำนวน 88 ลำซึ่งเป็นเครื่องบินส่วนเกินจากกองทัพอากาศสหรัฐ กองทัพอากาศมาเลเซียยังจัดหาอากาศยานจากต่างค่ายกัน โดยส่วนใหญ่มีอากาศยานจากสหรัฐอเมริกา, รัสเซีย และอังกฤษประจำการ

ปัจจุบันกองทัพอากาศมาเลเซียถือเป็นกองทัพอากาศอันดับต้น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีอากาศยานประจำการเกือบ 100 เครื่อง

เครื่องบินที่เข้าประจำการ[แก้]

เครื่องบินขับไล่/โจมตี[แก้]

  • ธงของประเทศรัสเซีย รัสเซียSu-30MKM (จำนวน 18 เครื่อง)
    • ประจำการอยู่ที่ฝูงบินที่ 11 ฐานทัพอากาศกองเคคัก
    • ระบบอาวุธ

อากาศสู่อากาศ

      • จรวดนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลางแบบ Active Radar รุ่น R-77 (เทียบเท่า AIM-120C)
      • จรวดนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลางแบบ Semi-Active Radar รุ่น R-27R1 (เทียบเท่า AIM-7)
      • จรวดนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้แบบ R-73E (เทียบเท่า AIM-9X)

อากาศสู่พื้น

      • จรวดนำวิถีด้วยกล้องทีวี Kh-29T/TE (เทียบเท่า AGM-65D)
    • จรวดนำวิถีด้วยเลเซอร์ Kh-29L (เทียบเท่า AGM-65E)
      • จรวดนำวิถีต่อต้านเรือรบ Kh-31A (เทียบเท่า AGM-84 Harpoon)
      • จรวดนำวิถีต่อต้านการแพร่คลื่นเรด้าร์ Kh-31P (เทียบเท่า AGM-88 HARM)
      • จรวดนำวิถีด้วยกล้องทีวีพิสัยไกล Kh-59ME เทียบเท่า AGM-130)
      • ระเบิดนำวิถีด้วยกล้องทีวี KAB-500KR ขนาด 500 กก. (คล้าย GBU-15)
      • ระเบิดนำวิถีด้วยกล้องทีวี KAB-500KR ขนาด 1500 กก. (คล้าย GBU-15)
      • ระเบิดอนกประสงค์ OFAB ขนาด 100 กก. - 250 กก. (เทียบเท่า Mk.82 - 83)
      • ระเบิดอนกประสงค์ FAB ขนาด 500 กก. (เทียบเท่า Mk.84)
  • ธงของประเทศรัสเซีย รัสเซียMiG-29N/NUB (จำนวน 14 เครื่อง)
    • ประจำการอยู่ที่ฝูงบินที่ 19 ฐานทัพอากาศกวนตัน
    • ระบบอาวุธ
      • ขีปนาวุธนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลางแบบ R-77
      • ขีปนาวุธนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้แบบ R-73
      • ระเบิด
  •  สหรัฐF/A-18D (จำนวน 8 ลำ)
    • ประจำการอยู่ที่ฝูงบินที่ 18 ฐานทัพอากาศบัตเตอร์เวิร์ท
    • ระบบอาวุธ
      • ขีปนาวุธนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลางแบบ AIM-7 Sparrow
      • ขีปนาวุธนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้แบบ AIM-9 Sidwinder
      • ระเบิดนำวิถี GBU-16
      • จรวดต่อต้านเรือรบ Harpoon
  •  สหราชอาณาจักรHawk 208 (จำนวน 16 ลำ)
    • ประจำการที่ฝูงบิน 15 ฐานทัพอากาศบัตเตอร์เวิร์ท
    • ระบบอาวุธ
      • ขีปนาวุธนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้แบบ AIM-9 Sidwinder
      • ระเบิด
  •  สหราชอาณาจักรHawk 108 (จำนวน 6 ลำ)
    • ประจำการที่ฝูงบิน 15 ฐานทัพอากาศบัตเตอร์เวิร์ท
    • ระบบอาวุธ
      • ขีปนาวุธนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้แบบ AIM-9 Sidwinder
      • ระเบิด
  •  สหรัฐF-5E/F และ RF-5E (จำนวน 10 ลำ)
    • ประจำการอยู่ที่ฝูงบินที่ 12 ฐานทัพอากาศบัตเตอร์เวิร์ท
    • ระบบอาวุธ
      • ขีปนาวุธนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้แบบ AIM-9 Sidwinder
      • ระเบิด

การจัดหาอากาศยานในอนาคต[แก้]

ขณะนี้กองทัพอากาศมาเลเซียกำลังคัดเลือกเครื่องบินรบรุ่นใหม่เพื่อมาแทน MIG-29N โดยเครื่องบินที่กำลังคัดเลือกมี F/A-18F Dassault Rafale JAS-39 GRIPEN EurofighterTyphoon โดยคาดว่าจะประกาศผลได้ในปี พศ 2557

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

แม่แบบ:กองทัพอากาศของทวีปเอเชีย