กองทัพรัฐฉานใต้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กองทัพรัฐฉานใต้
ရှမ်းပြည်တပ်မတော် - တောင်ပိုင်း တပ်ႉသိုၵ်းၸိုင်ႈတႆး - ပွတ်းၸၢၼ်း
มีส่วนร่วมในความขัดแย้งภายในประเทศพม่า
ธงกองทัพรัฐฉานใต้
ปฏิบัติการพ.ศ. 2539 - ปัจจุบัน
แนวคิดชาตินิยมไทใหญ่
ระบอบสหพันธรัฐ
ผู้นำเจ้ายอดศึก (1996–2014)
กองบัญชาการดอยไตแลง, รัฐฉาน, ประเทศพม่า
พื้นที่ปฏิบัติการรัฐฉาน,
แนวชายแดนพม่า-จีน
แนวชายแดนพม่า-ไทย
กำลังพล12,000[1][2]
ถือกำเนิดที่ กองทัพเมิงไต

กองทัพปฏิวัติสหฉาน

กองทัพแห่งชาติรัฐฉาน
(รวมกับกองทัพรัฐฉานใต้เมื่อ พ.ศ. 2548)
พันธมิตร กองทัพปลดปล่อยอาระกัน

กองทัพแห่งชาติชีน
กองทัพเอกราชชีน
กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง

กองทัพกะเหรี่ยงแดง
ปรปักษ์รัฐฝ่ายตรงข้าม

'ฝ่ายตรงข้ามที่ไม่ใช่รัฐ

การสู้รบและสงครามความขัดแย้งภายในประเทศพม่า

กองทัพรัฐฉานใต้ (อังกฤษ: Shan State Army-South; พม่า: ရှမ်းပြည် တပ်မတော် (တောင်ပိုင်း); ไทใหญ่: တပ်ႉသိုၵ်းၸိုင်ႈတႆး - ပွတ်းၸၢၼ်း) เป็นกลุ่มกอบกู้เอกราชของชนชาติไตหรือไทใหญ่ในแผ่นดินรัฐฉานที่ใหญ่ที่สุดที่ยังต่อสู้เพื่อต่อต้านพม่า ผู้นำคนปัจจุบันของกองทัพรัฐฉานใต้คือเจ้ายอดศึก เมื่อ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เจ้ายอดศึกได้ประกาศว่าไม่มีการแบ่งแยกระหว่างกองทัพรัฐฉานใต้และเหนือ ณ ที่มั่นที่กองทัพที่ดอยไตแลง[3] โดยเจ้าจายทูรองผู้บัญชาการกองทัพรัฐฉานเหนือได้ยืนยันถึงการรวมตัวเป็นพันธมิตรระหว่างกองทัพทั้งสองด้วย

เขตพื้นที่[แก้]

กองทัพรัฐฉานใต้มีฐานที่มั่น 5 แห่งตามแนวชายแดนไทย-พม่าได้แก่ ดอยไตแลงเป็นฐานที่มั่นหลักตรงข้ามอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ดอยมูนเมิง อยู่ตรงข้ามอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ดอยดำ อยู่ตรงข้ามอำเภอเวียงแหงจังหวัดเชียงใหม่ ดอยสามสิบ อยู่ตรงข้ามอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ดอยก่อวันอยู่ตรงข้ามอำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย[4]

ขนาด[แก้]

ประมาณว่าในปัจจุบันกองทัพรัฐฉานมีทหารราว8,000-14,000 คน[ต้องการอ้างอิง] โดยมีเจ้ายอดศึกเป็นผู้นำ แม้จะมีฐานที่มั่นโดดเดี่ยวบนยอดเขาแต่เชื่อว่าได้รับการสนับสนุนด้านอาวุธจากจีนและสหรัฐ[ต้องการอ้างอิง]

พันธมิตร[แก้]

เมื่อ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 กองทัพรัฐฉานใต้ได้ร่วมมือกับกองทัพแห่งชาติรัฐฉานในการต่อต้านรัฐบาลทหารพม่าเพื่อให้ได้การปกครองตนเอง[5] ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ได้จัดตั้งสภารัฐฉานที่ดอยไตแลงภายใต้การนำของเจ้ายอดศึกโดยรวมกลุ่มที่ไม่ใช่ชาวไทใหญ่ด้วย คือสหภาพประชาธิปไตยลาหู่ องค์กรปลดปล่อยแห่งชาติปะโอ สภาฟื้นฟูแห่งรัฐฉาน คณะกรรมการความร่วมมือไต องค์กรแห่งชาติว้า[6] และยังเป็นพันธมิตรกับกองทัพก้าวหน้าแห่งชาติกะเหรี่ยงแดง พรรคเสรีภาพอาระกัน แนวร่วมแห่งชาติชีน สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง และองค์การแห่งชาติกะชีน นอกจากนั้น เจ้ายอดศึกยังแสดงความต้องการให้จัดการเลือกตั้ง พ.ศ. 2553 ใหม่[ต้องการอ้างอิง]

อ้างอิง[แก้]

  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ MMPeaceMonitor
  2. Burma center for Ethnic Studies, Jan. 2012, "Briefing Paper No. 1" http://www.burmalibrary.org/docs13/BCES-BP-01-ceasefires(en).pdf
  3. www.shanland.org/index.php?option=com_content&view=article&id=3708:ssa-south-ssa-north-declare-we-are-one-&catid=85:politics&Itemid=266
  4. "Shan army set to cast a wide net". S.H.A.N., 8 June, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-09. สืบค้นเมื่อ 2009-06-12.
  5. "Shan rebels unite against Rangoon". BBC Burmese. May 24, 2005. สืบค้นเมื่อ 2008-02-07.
  6. "Shan State Congress formed". S.H.A.N., 24 December, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-29. สืบค้นเมื่อ 2009-06-12.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]