กองทัพชาติปลดปล่อยประชาพลรัฐเขมร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ค่ายผู้อพยพตามแนวชายแดนของสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา; พ.ศ. 2522 - 2527 ค่ายของแนวร่วมปลดปล่อยชาติเขมรแสดงด้วยสีดำ

กองทัพชาติปลดปล่อยประชาพลรัฐเขมร (เขมร: កងទ័ពជាតិរំដោះប្រជាពលរដ្ឋខ្មែរ กงทัพชาติรํเฎาะบฺรชาพลรฎฺฐขฺแมร; อังกฤษ: Khmer People's National Liberation Armed Forces: KPNLAF) เป็นกองกำลังทางทหารของแนวร่วมปลดปล่อยชาติเขมร ซึ่งเป็นขบวนการทางการเมืองที่จัดตั้งเมื่อ พ.ศ. 2522 เพื่อต่อต้านรัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาที่มีเวียดนามหนุนหลัง[1] หัวหน้ากลุ่มคือ ซอน ซาน ที่เคยเป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยระบอบสังคมของสีหนุ

การจัดตั้ง[แก้]

กองทัพนี้ก่อตั้งเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2522 จากกลุ่มต่อต้านคอมมิวนิสต์หลายกลุ่มที่อยู่ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา และเป็นกลุ่มที่อยู่ตรงข้ามกับสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา ซึ่งเป็นรัฐบาลที่มีเวียดนามหนุนหลัง ผู้นำของกองทัพคือเดียน เดล ซึ่งเคยเป็นทหารสมัยสาธารณรัฐเขมร ในช่วงกลางปี พ.ศ. 2522 มีทหารประมาณ 1,600 คน[2]

การประกาศจัดตั้งมีขึ้นเมื่อ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2511 ที่ค่ายสุขสันต์ ในเขตภูเขากระวานของกัมพูชา โดยอ้างว่ามีทหารราว 2,000 คน[3] ซึ่งรวมมาจากกลุ่มต่างๆ 13 กลุ่ม บางส่วนเคยอยู่ฝ่ายสาธารณรัฐเขมรมาก่อน ผู้ควบคุมกองทัพคือ สัก สุตสคัน ซึ่งอยู่ฝ่ายสาธารณรัฐเขมรมาก่อน

การขยายตัว พ.ศ. 2524 – 2525[แก้]

นายพลเดียน เดลได้เปิดค่ายฝึกที่ค่ายผู้อพยพอัมปึล (บ้านสังแก) เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2524[4] กองทัพนี้ได้รับการสนับสนุนทางอาวุธจากจีน[5]

เพราะจุดยืนของซอน ซานคือการต่อต้านคอมมิวนิสต์ ทำให้กลุ่มนี้สร้างทางเลือกใหม่สำหรับกัมพูชา โดยไม่สนับสนุนทั้งพระนโรดม สีหนุ ฮานอยและเขมรแดง และกลายเป็นกองทัพที่ใหญ่เป็นอันดับสองที่แนวชายแดนไทย เป็นรองแต่กองทัพเขมรแดงเท่านั้น ในช่วงกลางปี พ.ศ. 2524 มีกำลังทหารติดอาวุธประมาณ 7,000 คนเพื่อคุ้มครองค่ายผู้อพยพ และเพื่อเข้ายึดครองประเทศกัมพูชา ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2525 แนวร่วมปลดปล่อยเข้าร่วมในแนวร่วมเขมรสามฝ่าย แม้ว่ากองกำลังทหารจะไม่ได้รวมกันอย่างแท้จริง

ค่ายผู้อพยพหนองจันกลายเป็นศูนย์บัญชาการทางทหารของแนวร่วมปลดปล่อยในช่วงปลายปี พ.ศ. 2525 ส่วนค่ายอัมปึลยังมีความสำคัญทางการบริหารจนถูกทำลายในช่วงต้นปี พ.ศ. 2528 ค่ายผู้อพยพหนองจันเป็นที่ตั้งของกองกำลังที่ 3 7 และ 9 รวมทั้งกองกำลังพิเศษ ในขณะที่หน่วยที่ 1 อยู่ที่ค่าผู้อพยพหนองเสม็ด และหน่วยที่สองอยู่ที่ค่ายอัมปึล[6] ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2527 ซอน ซานกล่าวอ้างว่ามีทหารที่ผ่านการฝึกแล้ว 12,000 และกำลังฝึกอีก 8,000 คน แต่ยังมีอาวุธไม่เพียงพอ[7]

การโจมตีของเวียดนาม[แก้]

การสู้รบกับเวียดนามเกิดขึ้นอย่างรุนแรงในช่วงฤดูแล้งระหว่างพฤศจิกายน พ.ศ. 2524 – มีนาคม พ.ศ. 2525 ซึ่งทำให้กองทัพอ่อนแอลงและทำให้ถอยร่นเข้าหาแนวชายแดนไทยมากขึ้น กองทัพแห่งชาติสีหนุและกองทัพเขมรแดงได้รับผลกระทบจากการโจมตีของเวียดนามด้วย และทำให้จำนวนค่ายผู้อพยพลดลง รัฐบาลไทยและหน่วยงานระดับนานาชาติอื่นๆได้เพิ่มความเข้มงวดในการรักษาความปลอดภัยค่ายผู้อพยพ และให้แยกค่ายผู้อพยพที่เป็นพลเรือนออกจากกำลังทหาร

หลังจากนั้นได้เกิดความแตกแยกระหว่างผู้นำของแนวร่วมคือซอน ซาน และเดียน เดล แต่ได้ไกล่เกลี่ยให้ยุติลงได้ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2529

การสลายตัว[แก้]

กองทัพสลายตัวไปในราวกลางปี พ.ศ. 2532 หลังจากเวียดนามถอนทหารออกจากกัมพูชาหมดเมื่อ 21 กันยายน พ.ศ. 2532[8] นายพลเดียน เดลประกาศสลายกองทัพเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535[9]

อ้างอิง[แก้]

  1. Keat Gin Ooi, Southeast Asia: A Historical Encyclopedia, ABC-CLIO, 2004, ISBN 1576077705
  2. Corfield, p. 10.
  3. Bekaert, J., "Kampuchea: The Year of the Nationalists?" Southeast Asian Affairs, Institute of Southeast Asian Studies, Singapore (1983), pp. 169.
  4. Corfield, P. 13.
  5. Heder, S. "KPNLF’s Guerrilla Strategy Yields Mixed Results," Indochina Issues 45 (April 1984), p. 3.
  6. Radu, M. and Arnold, A. The New Insurgencies: Anticommunist Guerrillas in the Third World New Brunswick, N.J.: Transaction Publishers, 1990, p. 218-19.
  7. Paul Quinn-Judge, “Hanoi’s Headache: Son Sann’s Anti-Vietnamese Coalition Faction is Gaining Strength, Militarily and Politically.” Far Eastern Economic Review, Jan 19, 1984 p. 32. Two months earlier William Branigan reported similar numbers: “…the Khmer People’s National Liberation Front numbers 10,000 to 12,000 armed fighters, with another 6,000 unarmed recruits, diplomats said.” The Washington Post, Nov 22, 1983.
  8. Gottesman E. Cambodia after the Khmer Rouge: Inside the Politics of Nation Building. New Haven: Yale University Press, 2003, pp. 308-09.
  9. "Cambodians Hand Over Weapons to the UN", New Straits Times, Feb 23, 1992.