กวางบึง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กวางบึง
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Artiodactyla
วงศ์: Cervidae
สกุล: Rucervus
สปีชีส์: R.  duvaucelii
ชื่อทวินาม
Rucervus duvaucelii
(G. Cuvier, 1823)
อดีต (เหลือง); ปัจจุบัน: duvaucelii (แดง); branderi (เขียว); ranjitsinhi (ฟ้า)
ชื่อพ้อง[2]
  • Cervus duvaucelii G. Cuvier, 1823
  • Cervus eldi M'Clelland, 1842ซันไก

กวางบึง หรือ บาราซิงก้า[3] (อังกฤษ: Barasingha, Swamp deer; ฮินดี: बारह सिंगा; เบงกอล: বারশিঙ্গা; อัสสัม: দল-হৰিণা) เป็นกวางที่พบในตอนเหนือและตอนกลางของประเทศอินเดียและทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศเนปาล อดีตพบในประเทศปากีสถานและบังกลาเทศ[1] ชื่อวิทยาศาสตร์ตั้งตามชื่อนักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศส อาลเฟรด ดูโวเซล (Alfred Duvaucel[4])

คุณสมบัติที่โดดเด่นที่สุดของกวางบึงคือเป็นกวางที่มีกิ่งบนเขา 10 ถึง 14 กิ่งในกวางตัวผู้ที่โตเต็มวัย บางตัวมีถึง 20 กิ่ง ชื่อมาจากลักษณะซึ่งแปลว่า "เขา 12 กิ่ง" ในภาษาฮินดี[5] ในภาษาอัสสัมเรียกว่า dolhorina; dol แปลว่าบึง ในอินเดียตอนกลางเรียกว่า goinjak (ตัวผู้) หรือ gaoni (ตัวเมีย)

ลักษณะ[แก้]

กวางบึงเป็นกวางขนาดใหญ่พอสมควร สูง 119–135 ซm (47–53 in) จรดไหล่ หัวถึงลำตัวยาว 180 ซm (71 in) ตัวผู้สูงมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย ตัวผู้หนัก 170–283 กก. (370–620 ปอนด์) ตัวเมียหนัก 130–145 กก. (290–320 ปอนด์)[6][7] เขายาวประมาณ 75 ซm (30 in) เส้นรอบวง 13 ซm (5.1 in)[8] เท่าที่บันทึกไว้ยาวสุด 104.1 ซm (41.0 in)[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Duckworth, J.W., Samba Kumar, N., Chiranjibi Prasad Pokheral, Sagar Baral, H., Timmins, R.J. (2008). Rucervus duvaucelii. In: IUCN 2008. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 5 April 2009. Database entry includes a brief justification of why this species is of vulnerable.
  2. "Rucervus duvaucelii (G. Cuvier, 1823)". itis.gov. สืบค้นเมื่อ 9 December 2014.
  3. Grubb, Peter (16 November 2005). Wilson, Don E., and Reeder, DeeAnn M., eds. ed. Mammal Species of the World (3rd ed.) เก็บถาวร 2012-03-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Baltimore: Johns Hopkins University Press, 2 vols. (2142 pp.). pp. 668–669. ISBN 978-0-8018-8221-0. OCLC 62265494
  4. Cuvier, G. (1823). Recherches sur les ossemens fossiles de quadrupèdes. Nouvelle édition, Tome Quatrième. Dufour & d'Ocagne, Paris, Amsterdam.
  5. 5.0 5.1 Prater, S. H. (1948) The book of Indian animals. Oxford University Press. (10th impression)
  6. Ungulates[ลิงก์เสีย]. Oldwww.wii.gov.in. Retrieved on 2012-08-23.
  7. Barasingha – Cervus duvaucelii : WAZA : World Association of Zoos and Aquariums. WAZA. Retrieved on 2012-08-23.
  8. "Swamp Deer / Barasingha". wildlywise.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-25. สืบค้นเมื่อ 2012-12-12.

หนังสืออ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Rucervus duvaucelii ที่วิกิสปีชีส์