กลุ่มภาษาโอคุซ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กลุ่มภาษาโอคุซ
กลุ่มภาษาโอคุซตะวันตกเฉียงใต้
ภูมิภาค:
การจําแนก
ทางภาษาศาสตร์
:
เตอร์กิก
กลุ่มย่อย:
กลอตโตลอก:oghu1243  (Oghuz + Kipchak + Uzbek)[1]
{{{mapalt}}}
  ตุรกี   กากาอุซ   อาเซอร์ไบจาน   ควาซไคว   Chaharmahali   เติร์กเมน   โฆรอซอน   ซาลาร์

กลุ่มภาษาโอคุซ เป็นกิ่งย่อยของกลุ่มภาษาเตอร์กิกที่มีผู้พูดประมาณ 108 ล้านคน สามภาษาที่มีผู้พูดมากที่สุดคือภาษาตุรกี, ภาษาอาเซอร์ไบจาน และภาษาเติร์กเมน ซึ่งรวมแล้วมีผู้พูดมากกว่า 95%

มะห์มูด อัลกาชเฆาะรี นักวิชาการชาวคารา-คานิด ผู้มีชีวิตอยู่ในศตวรรษที่ 11 กล่าวว่า ภาษาโอคุซเป็นภาษาที่เรียบง่ายที่สุดในภาษาเตอร์กิกทั้งหมด[2]

คำศัพท์[แก้]

คำว่า "โอคุซ" กล่าวถึงกิ่งของกลุ่มภาษาเตอร์กิกทั่วไปแถบตะวันตกเฉียงใต้ โดยอิงถึงชาวเติร์กโอคุซที่อพยพมาจากเทือกเขาอัลไต[3] ถึงเอเชียกลางในศตวรรษที่ 8 และขยายไปถึงตะวันออกกลางกับคาบสมุทรบอลข่าน

การจัดหมวดหมู่[แก้]

ในปัจจุบัน กลุ่มภาษาโอคุซถูกแบ่งออกเป็นสามหมวดหมู่ตามรูปแบบและภูมิประเทศ: ตะวันตก, ตะวันออก และใต้

โปรโต-เตอร์กิก เตอร์กิกทั่วไป โอคุซ
ซาลาร์
ตะวันตก
ตะวันออก
ใต้

อีกสองภาษาคือ ภาษาตาตาร์ไครเมียและภาษาอูรุม เป็นกลุ่มภาษาเคียปชัก แต่ได้อิทธิพลจากกลุ่มภาษาโอคุซอย่างมาก

ภาษาเปเชเนกที่สูญพันธุ์ไปแล้วน่าจะอยู่ในกลุ่มนี้ แต่ไม่ค่อยมีการพบเอกสารบันทึก และเป็นเรื่องยากที่จะกำหนดให้อยู่ในวงศ์โอคุซ; ดังนั้น ภาษานี้มักถูกรวมไว้ในการจัดหมวดหมู่ด้วย[4]

ลักษณะทางภาษาศาสตร์[แก้]

กลุ่มภาษาโอคุซมีลักษณะที่คล้ายกัน ซึ่งทำให้นักภาษาศาสตร์จัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน คุณลักษณะบางส่วนแบ่งมาจากกลุ่มภาษาเตอร์กิกอื่น ๆ และอีกส่วนมีเฉพาะวงศ์โอคุซเท่านั้น

ลักษณะร่วมกับกลุ่มภาษาเตอร์กิกอื่น ๆ[แก้]

  • ไม่มีเสียง h ที่ต้นคำ (พบเฉพาะในภาษาคาลาซ)
  • ไม่มีการกเครื่องมือ (พบเฉพาะในภาษาซาฮาและภาษาคาลาซ)

ลักษณะเฉพาะ[แก้]

  • เปลี่ยนเสียงกักเป็นเสียงก้องก่อนสระหน้า (เช่น gör- < kör- "เพื่อดู")
  • ลดเสียง q/ɣ หลังสระ ɯ/u (เช่น quru < quruq "แห้ง", sarɯ < sarɯɣ "สีเหลือง")
  • เปลี่ยนรูปปัจจุบันกาลที่สมบูรณ์จาก -gan เป็น -an

เปรียบเทียบ[แก้]

ความคล้ายคลึงที่เห็นได้ชัดระหว่างกลุ่มภาษาโอคุซอาจสังเกตผ่านประโยค ซึ่งมีคำนามที่มาจากคำกริยาในกรรมรองเป็นจุดเชื่อมระหว่างกริยาหลักกับกริยาช่วย คุณลักษณะนี้สามารถพบได้ในกลุ่มภาษาโอคุซทุกภาษา[5] นักเติร์กวิทยา Julian Rentzsch ใช้ประโยคนี้ในผลงานที่มีชื่อว่า "Uniformity and diversity in Turkic inceptive constructions":[6]

อังกฤษ: ‘The dead man rose, sat down and began to speak.’

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Nordhoff, Sebastian; Hammarström, Harald; Forkel, Robert; Haspelmath, Martin, บ.ก. (2013). "Oghuz". Glottolog 2.2. Leipzig: Max Planck Institute for Evolutionary Anthropology.
  2. D. T. Potts, (2014), Nomadism in Iran: From Antiquity to the Modern Era, p. 177
  3. Danver, Steven (2015). The Native People of the World, An Encyclopedia of Groups, Cultures and Contemporary Issues, Volume 1-3. Routledge. p. 565. ISBN 9780765682222. "Historically, all of the Western or Oghuz Turks have been called Turkmen or Turkomen... In the 7th century C.E., they migrated from their ancestral homeland in the Altay mountains westward..."
  4. Баскаков, Н. А. Тюркские языки, Москва 1960, с. 126-131.
  5. Julian Rentzsch, "Uniformity and diversity in Turkic inceptive constructions", Johannes Gutenberg University, p. 270
  6. Julian Rentzsch, "Uniformity and diversity in Turkic inceptive constructions", Johannes Gutenberg University, pp. 270-271

สารานุกรม[แก้]

แม่แบบ:กลุ่มภาษาเตอร์กิก