กฤษติกา คงสมพงษ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กฤษติกา คงสมพงษ์

เกิดกฤษติกา ศิริจรรยา
8 กันยายน พ.ศ. 2508 (58 ปี)
สัญชาติไทย
ชื่ออื่นอ้อ
พลเมืองไทย
การศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยจอร์จวอร์ชิงตัน
ปริญญาโท จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปริญญาเอก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อาชีพพิธีกร, อาจารย์มหาวิทยาลัย, นักธุรกิจ
มีชื่อเสียงจากรองกรรมการผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัทสหการประมูลจำกัด, รายการกำจัดจุดอ่อน
คู่สมรสพลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์

รองศาสตราจารย์ กฤษติกา คงสมพงษ์ (เกิด 8 กันยายน พ.ศ. 2508) อดีตนายกสมาคมแม่บ้านทหารบก, อาจารย์ประจำสาขาการตลาด สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง[1] อาจารย์พิเศษสาขาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, อดีตพิธีกรรายการกำจัดจุดอ่อนทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 และรายการลูกใครหว่า อีกทั้งได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรอยู่บ่อยครั้ง ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นนักวิชาการด้านการตลาดและการบริหารธุรกิจ[2]

ประวัติ[แก้]

กฤษติกา คงสมพงษ์ นามสกุลเดิม ศิริจรรยา เกิดเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2508 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรคนโตในจำนวนพี่น้อง 2 คน มีน้องสาวชื่อ นางสาวดุจฤดี ศิริจรรยา และมีศักดิ์เป็นหลานสาวของ นิรุตติ์ ศิริจรรยา เมื่ออายุ 10 ปี ย้ายไปอยู่สหรัฐ[3]

กฤษติกาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ จากมหาวิทยาลัยจอร์จวอชิงตัน, ระดับปริญญาโทสาขาการตลาด จากสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และระดับปริญญาเอกสาขาการตลาด จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

กฤษติกาสมรสกับพลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ โดยไม่มีบุตรร่วมกัน

ผลงานพิธีกร[แก้]

  • กำจัดจุดอ่อน
  • รวยรายวัน
  • ลูกใครหว่า
  • ก๊วนข่าวเช้าวันหยุด
  • เดินหน้า ประเทศไทย (คสช.)
  • ฝ่าวิกฤติกับกฤษติกา

หนังสือ[แก้]

  • ใครคือจุดอ่อน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภาสถาบันและกรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  2. "รศ. ดร.กฤษติกา คงสมพงษ์". เฮลโลไทยแลนด์.
  3. "สมาร์ทแอนด์สตรองสไตล์ ดร.อ้อ "รศ.ดร.กฤษติกา คงสมพงษ์"". ผู้จัดการออนไลน์.
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๗ ข หน้า ๒๓๕, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๑ ข หน้า ๑๗๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘