กร็อง-ปลัส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กร็อง-ปลัสเดอบรูว์แซล *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
กร็อง-ปลัสในงานเทศกาลพรมดอกไม้ ปี ค.ศ. 2008
ประเทศธงของประเทศเบลเยียม เบลเยียม
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(ii) (iv)
อ้างอิง857
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2541 (คณะกรรมการสมัยที่ 22)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

จัตุรัสหลักแห่งบรัสเซลส์ หรือ กร็อง-ปลัสเดอบรูว์แซล (ฝรั่งเศส: Grand-Place de Bruxelles, ออกเสียง: [ɡʁɑ̃ plas]) และ โกรเทอมาคท์ (ดัตช์: Grote Markt เกี่ยวกับเสียงนี้ listen ) คือจัตุรัสกลางบรัสเซลส์ซึ่งรายล้อมด้วยเหล่าอาคารเก่าอันสวยงามและกลมกลืนกันทางสถาปัตยกรรม และถือว่าเป็นจัตุรัสที่สวยที่สุดในโลก[1] โดยเฉพาะออแตลเดอวีล (Hôtel de Ville de Bruxelles) และแมซงดูว์รัว (Maison du Roi) จัตุรัสแห่งนี้ถือเป็นบริเวณที่สำคัญที่สุดในการท่องเที่ยวและยังถือเป็นจุดหมายตาที่สำคัญแห่งหนึ่งของเบลเยียมอีกด้วย กร็อง-ปลัสแห่งนี้มีขนาดความกว้าง 68 เมตร ยาว 110 เมตร

ในปัจจุบัน จัตุรัสแห่งนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมโดยองค์การยูเนสโก[2]

ประวัติ[แก้]

ถูกทำลายและก่อสร้างใหม่[แก้]

เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม ค.ศ. 1695 กองทัพฝรั่งเศสกว่า 70,000 นาย นำโดยจอมพลฟร็องซัว เดอ เนิฟวิลล์ ดยุกแห่งวิเยอรัว ได้เปิดฉากถล่มกรุงบรัสเซลส์เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของกองกำลังฝ่ายสันนิบาตออกส์เบิร์กจากการบุกล้อมนามูร์ซึ่งในขณะนั้นเป็นของฝรั่งเศส โดยได้ถล่มด้วยปืนใหญ่และปืนครกจำนวนมากมายเข้าไปยังภายในใจกลางเมืองทำให้เกิดไฟไหม้ใหญ่ไปทั่วนครบรัสเซลส์ในขณะนั้น รวมทั้งสร้างความเสียหายอย่างมากแก่กร็อง-ปลัส และอาคารบ้านเรือนโดยรอบ โดยหลังจากเพลิงสงบลงตัวอาคารของศาลาว่าการนั้นเหลือเพียงแต่โครงเปลือกด้านนอกเท่านั้น

หมู่อาคารโดยรอบจัตุรัส
รายละเอียดของอาคารที่สร้างโดยกลุ่มกิลด์ (Guildhalls)

จัตุรัสกร็อง-ปลัสนั้นต่อมาได้ใช้เวลาบูรณะขึ้นใหม่เกือบทั้งหมดกว่าสี่ปีเต็มโดยฝีมือของกลุ่มกิลด์แห่งบรัสเซลส์ โดยมาจากการอนุญาตโดยสภาที่ปรึกษาของเมือง และผู้ว่าการกรุงบรัสเซลส์ในขณะนั้นซึ่งให้ส่งแบบประกวดของกร็อง-ปลัสเพื่ออนุมัติการก่อสร้าง ซึ่งนี่คือสาเหตุที่ตัวอาคารทั้งหมดโดยรอบจัตุรัสนั้นจึงได้สวยงามกันอย่างกลมกลืนในแบบสถาปัตยกรรมที่คล้ายคลึงกัน แม้ว่าจะต้องตั้งอยู่คู่กับศาลาว่าการกรุงบรัสเซลส์ ซึ่งถูกสร้างในแบบสถาปัตยกรรมกอทิก บาโรก และหลุยส์ที่ 14

ต่อมาในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 เหล่านักปฏิวัติได้บุกเข้ายึดบริเวณจัตุรัสและทำลายรูปปั้นอันเป็นสัญลักษณ์ของระบบศักดินา และศาสนา[2] อาคารโดยรอบซึ่งสร้างและออกแบบโดยกลุ่มกิลด์ (Guildhalls) ได้ถูกริบเป็นของรัฐและถูกขายทอดตลาด ทำให้ต่อมาตัวอาคารต่างๆนั้นถูกทิ้งร้างและอยู่ในสภาพทรุดโทรมจากมลภาวะ และฤดูกาล และต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้ว่าฯ ชาลส์ บุล ได้คืนความงดงามของจัตุรัสนี้ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง โดยให้มีโครงการปรับปรุงและบูรณะอาคารต่างๆให้กลับมาอยู่ในสภาพงดงามเช่นเดิม


คริสต์ศตวรรษที่ 20[แก้]

จัตุรัสกร็องปลัส ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้นยังคงมีสภาพเป็นตลาดจนกระทั่งวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1959 และยังคงเรียกว่าเป็น ตลาดใหญ่ หรือ Grote Markt ในภาษาดัตช์ ถนนรายรอบจัตุรัสนั้นยังคงสะท้อนถึงสภาพเดิมในความเป็นตลาด โดยมักจะตั้งชื่อถนนตามห้างร้านต่างๆ เช่น เนย, ชีส, ปลาแฮริ่ง, ถ่านหิน ฯลฯ จุตรัสแห่งนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม โดยองค์การยูเนสโกในปีค.ศ. 1998 อาคารหลังหนึ่งในบริเวณจัตุรัสนั้นเป็นของผู้ผลิตเบียร์ ซึ่งในปัจจุบันได้กลายเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์เบียร์

จัตุรัสกร็องปลัส ได้รับการโหวตชื่อให้เป็นจัตุรัสที่สวยงามที่สุดในยุโรปเมื่อปีค.ศ. 2010 จากการสำรวจ[3]โดยเว็บไซต์ดัตช์ (stedentripper.com[4]) โดยให้ร่วมเสนอชื่อโหวตจัตุรัสต่างๆในทวีปยุโรป ผลการสำรวจนั้นได้คะแนนเหนือจัตุรัสแดงที่กรุงมอสโก และจัตุรัสสตานิสลาสที่น็องซี โดยมีคะแนนตามมาเป็นอันดับที่สอง และสาม ตามลำดับ

เทศกาลพรมดอกไม้[แก้]

ทุก ๆ สองปีในเดือนสิงหาคม จะมีการจัดเทศกาลพรมดอกไม้ ซึ่งจัดขึ้นในบริเวณกร็อง-ปลัสแห่งนี้ โดยประกอบด้วยดอกบีโกเนีย (หรือดอกดาดตะกั่ว) ประมาณกว่าห้าแสนต้นจัดเรียงเป็นลวดลายสวยงามบนขนาดกว้าง 24 เมตร ยาว 77 เมตร คิดเป็นพื้นที่ดอกไม้รวมถึง 1,800 ตารางเมตร[5] เทศกาลนี้เริ่มจัดขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1971 ซึ่งได้รับเสียงตอบรับและคำชมอย่างล้นหลามจนต้องมีการจัดอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งปัจจุบัน ในช่วงเดือนสิงหาคมจึงเป็นช่วงฤดูท่องเที่ยวของบรัสเซลส์โดยปริยาย[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. จากงานเขียนของวิกตอร์ อูโก
  2. 2.0 2.1 "La Grande-Place de Bruxelles". bruNET. May 17, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ October 9, 2009. (ฝรั่งเศส)
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-13. สืบค้นเมื่อ 2013-08-24.
  4. "Most Beautiful Squares in Europe". stedentripper.com. สืบค้นเมื่อ 2010-11-23.
  5. "History of the Grand Place of Brussels". Commune Libre de l'Îlot Sacré. สืบค้นเมื่อ August 25, 2009.
  6. "Tourist Attractions in Brussels". trabel.com. สืบค้นเมื่อ 2008-06-04.

บรรณานุกรม[แก้]

  • (ฝรั่งเศส) Victor-Gaston Martiny, Bruxelles, architecture civile et militaire avant 1900, éditions J.-M. Collet, Braine-l’Alleud, 1992 (réédition augmentée de la première version de 1980), 100 p. (ISBN 287367007X).
  • (ฝรั่งเศส) Sous la direction de Claire Billen et Jean-Marie Duvosquel : Bruxelles, coll. L’esprit des villes d’Europe – fonds Mercator, 2000, 301 p., (ISBN 90-6153-450-X)
  • (ฝรั่งเศส) Jean d'Osta, Dictionnaire historique et anecdotique des rues de Bruxelles, Bruxelles, éd. Paul Legrain, 1986, 358 p.
  • (ฝรั่งเศส)Maurice Culot, Eric Hennaut, Marie Demanet, Caroline Mierop, Le bombardement de Bruxelles par Louis XIV et la reconstruction qui s’ensuivit, 1695–1700, éditions Archives d’Architecture Moderne เก็บถาวร 2007-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Bruxelles, août 1992, 294 p. (ISBN 2-87143-079-9)
  • (ฝรั่งเศส) Sous la direction de Vincent Heymans : Les maisons de la Grand-Place de Bruxelles, coll. Lieux de Mémoire, CFC Editions, Bruxelles, 2011, 4e éd. revue et complétée, 232 p., contributions de : P. Cordeiro, E. Hennaut, V. Heymans, D. Houbrechts, C. Lambert, D. Laoureux, M. Soenen, A. Vanrie, B. de Ghellinck, Q. Demeure, X. Duquenne, M.-N. Martou et P. Sosnowska (ISBN 9-782930-018898)

พิกัดภูมิศาสตร์: 50°50′48″N 4°21′09″E / 50.8467°N 4.3525°E / 50.8467; 4.3525

ดูเพิ่ม[แก้]