กรุสมบัติมิลเดนฮอลล์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
“จานบาคคัส” ที่พบในกรุ
“กรุสมบัติมิลเดนฮอลล์”
Mildenhall Treasure
{{{artist}}}
{{{period}}}
{{{size}}}
ค.ศ. 1942
มิลเดนฮอลล์, ซัฟโฟล์คในอังกฤษ
กรุสมบัติ
พิพิธภัณฑ์แห่งมิลเดนฮอลล์ในประเทศอังกฤษ

กรุสมบัติมิลเดนฮอลล์ (อังกฤษ: Mildenhall Treasure) เป็นกรุสมบัติกรุใหญ่ของเครื่องเงินแบบโรมัน 34 ชิ้นที่ขุดพบในบริเวณมิลเดนฮอลล์, ซัฟโฟล์คในอังกฤษในเดือนมกราคมปี ค.ศ. 1942

กรุสมบัติมิลเดนฮอลล์ขุดพบกอร์ดอน บุชเชอร์ไถนาไปพบก่อนที่จะทำการขุดขึ้นมาด้วยความช่วยเหลือของซิดนีย์ ฟอร์ด แต่ผู้พบทั้งสองคนก็ไม่ทราบถึงคุณค่าของสิ่งที่พบจนได้ข่าวจากเจ้าหน้าที่อีกหลายปีให้หลัง ในปี ค.ศ. 1946 การค้นพบก็ได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการและทางพิพิธภัณฑ์บริติชก็ได้ทำการขวนขวายหาซื้อมาเป็นเจ้าของ

ปัจจุบันสมบัติที่ขุดได้จากกรุสมบัติมิลเดนฮอลล์ตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งมิลเดนฮอลล์ในประเทศอังกฤษ สมบัติที่พบในกรุประกอบด้วย

ประวัติ[แก้]

เชื่อกันว่ากรุสมบัติมิลเดนฮอลล์ถูกฝังไว้ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4[1] สมบัติที่พบในกรุประกอบด้วย “Great Dish” หรือ “จานบาคคัส” ซึ่งเป็นตัวอย่างของงานเครื่องเงินอันวิจิตรของศิลปะโรมันของกลางคริสต์ศตวรรษที่ 4 ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 605 มิลลิเมตร และ หนัก 8256 กรัม จานเงินเป็นเป็นภาพเทพบาคคัสและตกแต่งด้วยแถบกว้างรอบเป็นภาพเกี่ยวกับการเฉลิมฉลองของบาคคัส และที่หัวใจของภาพเป็นการแข่งขันการดื่มเหล้าระหว่างบาคคัสและเฮอร์คิวลีสผู้เมามายจนไม่มีสติสัมปชัญญะจนถึงกับต้องประคอง แถบในเป็นนิเรียดล้อมรอบพฤกษาพักตร์ของพระสมุทรโอเชียนัส

สิ่งอื่น ๆ นอกไปจาก “จานบาคคัส” ก็เป็นสิ่งของที่คล้ายคลึงกันที่เป็นสิ่งตกแต่งสำหรับงานเลี้ยงที่รวมทั้งจานเครื่องถมแบนที่ตกแต่งเป็นลายเรขาคณิต, จานแบนใหญ่ที่ตกแต่งด้วยภาพของเทพแพน และ เมนาด, ชามคุ่มมีฝาปิดที่ตกแต่งด้วยเซนทอร์ และ สัตว์ป่า และ ชามคุ่มที่มีขอบบานออกไป, ทัพพี และ ช้อน แม้ว่าการตกแต่งส่วนใหญ่จะเป็นศิลปะแบบคลาสสิก แต่ช้อนสามช้อนมีคริสต์สัญลักษณ์Chi-Rho” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่หมายถึงพระเยซูที่เป็นอักษรอัลฟา และ โอเมกาไขว้กันที่หมายถึง “พระผู้เป็นจุดเริ่มและจุดจบ” เชื่อกันว่าสิ่งมีค่าเหล่านี้มาจากบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน[2]

โรอัลด์ ดาห์ลเขียนบทความเกี่ยวกับการพบกรุสมบัติมิลเดนฮอลล์ที่พิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ “แซเทอร์เดย์อีฟนิงโพสต์[3] และต่อมาในชื่อ “กรุสมบัติมิลเดนฮอลล์” ในหนังสือรวมเรื่องสั้น “The Wonderful Story of Henry Sugar and Six More[4] ในเรื่องที่รอนัลด์ ดาห์ลเขียนฟอร์ดทราบถึงความสำคัญของสิ่งที่ขุดพบ และไม่อาจจะทนกับการพรากจากสิ่งที่พบได้จึงได้เก็บไว้อย่างเงียบ ๆ แต่มีผู้มาเยี่ยมเยือนไปเห็นชิ้นที่ไม่ได้เก็บไว้เข้า ฉะนั้นจึงทำให้บุชเชอร์ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องเงินรางวัลจากรัฐบาลสำหรับผู้พบของมีค่าได้

อ้างอิง[แก้]

  1. "The Mildenhall Treasure". Mildenhall Museum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-20. สืบค้นเมื่อ May 4, 2006.
  2. "The Great Dish from the Mildenhall treasure". The British Museum. สืบค้นเมื่อ May 4, 2006.
  3. Dahl, Roald (1947). "The Mildenhall Treasure" in Saturday Evening Post (20 September): 20-21, 93-4, 96-7, 99.
  4. Dahl, Roald (1995). The Wonderful Story of Henry Sugar and Six More (5th ed.). London: Penguin Group. p. 215. ISBN 0-14-037348-9.

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]