กริมสวอทน์

พิกัด: 64°25′12″N 17°19′48″W / 64.42000°N 17.33000°W / 64.42000; -17.33000
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กริมสวอทน์
Grímsvötn
กริมสวอทน์และธารน้ำแข็งวัทนาโจกุล กรกฎาคม พ.ศ. 2515
จุดสูงสุด
ความสูง
เหนือระดับน้ำทะเล
1,725 เมตร (5,659 ฟุต) [1]
รายชื่อภูเขาไฟในประเทศไอซ์แลนด์
พิกัด64°25′12″N 17°19′48″W / 64.42000°N 17.33000°W / 64.42000; -17.33000
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
กริมสวอทน์ตั้งอยู่ในไอซ์แลนด์
กริมสวอทน์
กริมสวอทน์
ที่ตั้งภูเขาไฟในไอซ์แลนด์
ที่ตั้ง ไอซ์แลนด์
เอิสตือร์ลันต์, ซูทือร์ลันต์
ข้อมูลทางธรณีวิทยา
ประเภทภูเขาแอ่งภูเขาไฟรูปกระจาด
การปะทุครั้งล่าสุดพฤษภาคม พ.ศ. 2554

กริมสวอทน์ (ไอซ์แลนด์: Grímsvötn) เป็นทะเลสาบใต้ธารน้ำแข็งและภูเขาไฟในชื่อเดียวกัน ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของไอซ์แลนด์ กริมสวอทน์ตั้งอยู่ ณ ที่ราบสูงของไอซ์แลนด์ทางฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของชั้นน้ำแข็งปกคลุมวัทนาโจกุล ทะเลสาบมีพิกัดภูมิศาสตร์อยู่ที่ 64°25′N 17°20′W ที่ระดับความสูง 1,725 เมตร[1] ใต้ทะเลสาบเป็นกระเปาะหินหนืดของภูเขาไฟกริมสวอทน์

กริมสวอทน์เป็นภูเขาไฟชั้นบะซอลต์ ซึ่งมีประวัติการปะทุบ่อยครั้งที่สุดในไอซ์แลนด์ และมีระบบรอยแยกที่วางตัวในทิศตะวันตกเฉียงใต้-ตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากภูเขาไฟส่วนใหญ่อยู่ใต้วัทนาโจกุล การปะทุส่วนใหญ่จึงเกิดขึ้นใต้ธารน้ำแข็งเช่นกัน และปฏิกิริยาระหว่างแมกมากับน้ำที่ละลายจากธารน้ำแข็งทำให้เกิดกิจกรรมการปะทุแบบพรีอะตอมแมกมาติก

เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เวลา 19:25 UTC การปะทุเกิดขึ้น โดยมีการพ่นเถ้าภูเขาไฟสูงขึ้นไปในอากาศถึง 12 กิโลเมตร และเกิดแผ่นดินไหวตามมาอีกหลายครั้ง[2][3][4][5] ซึ่งขัดขวางการสัญจรทางอากาศในไอซ์แลนด์[6] กรีนแลนด์ สกอตแลนด์ นอร์เวย์ ไอร์แลนด์และอังกฤษเมื่อวันที่ 22-24 พฤษภาคม ขนาดการปะทุนั้นใหญ่กว่าการปะทุของเอยาฟยาตลาเยอคุตล์ พ.ศ. 2553 การปะทุนั้นหยุดลงเมื่อเวลา 02:40 UTC ของวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2554[7][8][9]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Grímsvötn". Global Volcanism Program. Smithsonian Institution. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2006.
  2. Eldgos í Grímsvötnum เก็บถาวร 2011-08-03 ที่ National and University Library of Iceland, 24 May 2011 (in Islandic)
  3. Njörður Helgason (2011-04-14). "Vegurinn um Skeiðarársand lokaður". mbl.is. สืบค้นเมื่อ 2011-05-22.
  4. "Iceland's most active volcano erupts – Europe". Al Jazeera English. 2011-05-21. สืบค้นเมื่อ 2011-05-22.
  5. "Iceland volcanic eruption 'not linked to the end of the world' | IceNews – Daily News". Icenews.is. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-24. สืบค้นเมื่อ 2011-05-22.
  6. Eurocontrol news
  7. "Volcanic Ash Advisory at 1241 on 25 May 2011". Met Office UK. สืบค้นเมื่อ 25 May 2011.
  8. "Iceland volcano ash: German air traffic resuming". BBC News. สืบค้นเมื่อ 25 May 2011.
  9. "Update on volcanic activity in Grímsvötn". Iceland Met Office. สืบค้นเมื่อ 27 May 2011.