กระแตใต้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก กระแตธรรมดา)

กระแตใต้
สถานะการอนุรักษ์
CITES Appendix II (CITES)[1]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
อันดับ: Scandentia
วงศ์: วงศ์กระแต
สกุล: Tupaia
Diard & Duvaucel, 1820[2]
สปีชีส์: Tupaia glis
ชื่อทวินาม
Tupaia glis
Diard & Duvaucel, 1820[2]
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์

กระแตใต้ หรือ กระแตธรรมดา (อังกฤษ: common treeshrew, southern treeshrew; ชื่อวิทยาศาสตร์: Tupaia glis)[3] เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในอันดับกระแต (Scandentia)

รายละเอียด[แก้]

มีรูปร่างทั่วไปคล้ายกับกระรอก มีขนสีน้ำตาลแกมเขียว ส่วนใบหน้าแหลมยาว มีนิ้วที่เท้าหน้า 5 นิ้ว หางเรียวยาวเป็นพู่ มีเส้นขีดที่ไหล่ หัวถึงลำตัวยาวประมาณ 13-21 เซนติเมตร หางยาว 12–20 เซนติเมตร[4] ตัวเมียมีเต้านม 4 เต้า

ที่อยู่อาศัย[แก้]

กระแตใต้พบในบริเวณทางใต้ประมาณละติจูด 10°N ในภาคใต้ของไทยถึงมาเลเซีนตะวันตกและหมู่เกาะชายฝั่งทะเลที่อยู่ติดกับประเทศสิงคโปร์ โดยอาศัยอยู่ในพื้นที่คุ้มครอง เช่น เขตป่าสงวนปาโซะฮ์ในคาบสมุทรมลายู และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเกรา[1] ในประเทศอินโดนีเซีย พบในเกาะซีเบอรุต หมู่เกาะบาตู เกาะสุมาตรา เกาะชวา เกาะบังกา จังหวัดรีเยา เกาะลิงกา และหมู่เกาะอานัมบัซ[5] โดยหลักมักพบในป่าสกุลยางนา แต่สามารถทนต่อการเปลี่ยนแปลงถิ่นที่อยู่ได้ในระดับหนึ่ง และมีการบันทึกสัตว์ชนิดนี้จากป่าทุติยภูมิ พื้นที่เพาะปลูก สวนผลไม้ และต้นไม้ใกล้บริเวณที่อยู่อาศัยของมนุษย์ด้วย[6]

กระแตใต้น่าจะพบได้ทั่วที่ราบลุ่มและเนินที่สูงสุดถึง 1,100 เมตร (3,600 ฟุต) ในที่ราบสูงเกอลาบิตบนเกาะบอร์เนียว ชนิดย่อย T. g. longipes พบในบริเวณตอนเหนือของเกาะบอร์เนียว ในรัฐซาราวัก รัฐซาบะฮ์ และจังหวัดกาลีมันตันตะวันออก ส่วนชนิดย่อย T. g. salatana พบในบริเวณตอนใต้ของแม่น้ำราจังและแม่น้ำกายันในเกาะบอร์เนียว[7]

สถานะทางอนุกรมวิธาน[แก้]

สัตว์ชนิดนีเได้รับการระบุครั้งแรกในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1820 โดย Pierre-Médard Diard และ Alfred Duvaucel นักสำรวจชาวฝรั่งเศสที่ร่วมกันเขียนบทความ "Sur une nouvelle espèce de Sorex — Sorex Glis" ซึ่งมีภาพประกอบอยู่ข้างหน้า ทั้งสองคนสังเกตตัวอย่างชนิดที่รัฐปีนังและประเทศสิงคโปร์และพิจารณาให้เป็นชนิดของ Sorex ไม่ถือเป็นสกุลใหม่[2] ในช่วง ค.ศ. 1821 ถึง 1940 นักสัตววิทยาบางคนระบุสัตว์ชนิดนี้จากพื้นที่อื่น โดยมีหลายชนิดที่ยังคงมีอันดับและความถูกต้องที่ไม่แน่นอนหลายรูปแบบ และอยู่ในระหว่างการศึกษาอย่างละเอียด บางชนิดเคยถือเป็นชื่อพ้องของ Tupaia glis ส่วนบางตัวยกสถานะให้อยู่ในระดับชนิด ชื่อพ้องของกระแตใต้มีดังนี้:[5]

  • ferruginea (Raffles, 1821)[8]
  • press (Raffles, 1821)[8]
  • hypochrysa (Thomas, 1895)
  • chrysomalla (Miller, 1900)
  • sordida (Miller, 1900)
  • phaeura (Miller, 1902)
  • castanea (Miller, 1903)
  • pulonis (Miller, 1903)
  • tephrura (Miller, 1903)
  • demissa (Thomas, 1904)
  • discolor (Lyon, 1906)
  • batamana (Lyon, 1907)
  • siaca (Lyon, 1908)
  • lacernata (Thomas and Wroughton, 1909)
  • raviana (Lyon, 1911)
  • pemangilis (Lyon, 1911)
  • wilkinsoni (Robinson and Kloss, 1911)
  • penangensis (Robinson and Kloss, 1911)
  • longicauda (Kloss, 1911)
  • obscura (Kloss, 1911)
  • longicanda (Lyon, 1913)
  • anambae (Lyon, 1913)
  • redacta (Robinson, 1916)
  • jacki (Robinson and Kloss, 1918)
  • phoeniura (Thomas, 1923)
  • siberu (Chasen and Kloss, 1928)
  • cognate (Chasen, 1940)
  • umbratilis (Chasen, 1940)

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Sargis, E. & Kennerley, R. (2017). "Tupaia glis". IUCN Red List of Threatened Species. 2017: e.T111872341A123796056. สืบค้นเมื่อ 26 January 2022.
  2. 2.0 2.1 Diard, P.M., Duvaucel, A. (1820) "Sur une nouvelle espèce de Sorex — Sorex Glis". Asiatick researches, or, Transactions of the society instituted in Bengal, for inquiring into the history and antiquities, the arts, sciences, and literature of Asia, Volume 14. Bengal Military Orphans Press, 1822
  3. กระแต , กระแตใต้ , กระแตธรรมดา[ลิงก์เสีย]
  4. Shepherd, Chris R.; Shepherd, Loretta Ann (2012). A Naturalist's Guide to the Mammals of Southeast Asia. Wiltshire, UK: John BeauFoy Publishing. p. 16. ISBN 978-1-906780-71-5.
  5. 5.0 5.1 แม่แบบ:MSW3 Helgen
  6. Parr, J. W. K. (2003). Large Mammals of Thailand. Sarakadee Press, Bangkok, Thailand.
  7. Payne J., Francis, C.M., Phillips, K. (1985) A Field Guide to the Mammals of Borneo, Malaysia. The Sabah Society. pp. 161–162.
  8. 8.0 8.1 Raffles, T. S. (1821). "Descriptive Catalogue of a Zoological Collection made on account of the Honourable East India Company, in the Island of Sumatra and its Vicinity, under the Direction of Sir Thomas Stamford Raffles, Lieutenant-Governor of Fort Marlborough; with additional Notices illustrative of the Natural History of those Countries". The Transactions of the Linnean Society of London. Linnean Society of London. XIII: 239–340.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Tupaia glis ที่วิกิสปีชีส์