กระดูกหน้าผาก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กระดูกหน้าผาก
(Frontal bone)
กระดูกหน้าผากเมื่อแรกเกิด
รายละเอียด
ข้อต่อมีข้อต่อกับกระดูก 12 ชิ้น: กระดูกสฟีนอยด์, กระดูกเอทมอยด์, กระดูกข้างขม่อม 2 ชิ้น, กระดูกจมูก 2 ชิ้น, กระดูกขากรรไกรบน 2 ข้าง, กระดูกแอ่งถุงน้ำตา 2 ชิ้น, และกระดูกโหนกแก้ม 2 ชิ้น
ตัวระบุ
ภาษาละตินos frontale
MeSHD005624
TA98A02.1.03.001
TA2520
FMA52734
ศัพท์ทางกายวิภาคของกระดูก

กระดูกหน้าผาก (อังกฤษ: frontal bone) เป็นกระดูกที่อยู่ในกะโหลกศีรษะของมนุษย์ มีรูปร่างเหมือนเปลือกหอยแครง ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่

  • ส่วนแนวตั้ง (vertical portion) หรือ สความา ฟรอนทาลิส (squama frontalis) ซึ่งสัมพันธ์กับบริเวณของหน้าผาก
  • ส่วนเบ้าตา หรือ ส่วนแนวนอน (orbital or horizontal portion) หรือ พารส์ ออร์บิทาลิส (pars orbitalis) ซึ่งเปิดเข้าสู่หลังคาของเบ้าตาและโพรงจมูก

ขอบกระดูก[แก้]

ขอบกระดูกของสความา ฟรอนทาลิสมีลักษณะหนา เป็นรูปฟันเลื่อยที่แข็งแรงมาก ลาดลงที่แผ่นกระดูกด้านในที่อยู่ด้านบนซึ่งเป็นที่ประกบเข้ากับกระดูกข้างขม่อม (parietal bones) และลาดลงที่แผ่นกระดูกด้านนอกของทั้งสองข้างซึ่งเป็นบริเวณที่รับแรงกดด้านข้างของกระดูกเหล่านี้ ขอบด้านนี้ต่อเนื่องลงมาทางด้านล่างเป็นพื้นผิวรูปสามเหลี่ยมขรุขระและเป็นข้อต่อกับปีกกระดูกใหญ่ของกระดูกสฟีนอยด์ (sphenoid)

ขอบกระดูกด้านหลังของแผ่นเบ้าตา (posterior borders of the orbital plates) มีลักษณะบางและเป็นฟันเลื่อยซึ่งเป็นข้อต่อกับปีกเล็กของกระดูกสฟีนอยด์

โครงสร้าง[แก้]

สความา (squama) และไซโกมาติก โพรเซส (zygomatic processes) มีลักษณะหนามาก ประกอบด้วยกระดูกเนื้อโปร่งซึ่งอยู่ระหว่างแผ่นกระดูกเนื้อแน่น 2 ชั้นด้านนอกที่ประกบอยู่ ในบริเวณของกระดูกที่มีโพรงอากาศหน้าผาก (frontal air sinuse) จะไม่มีส่วนของกระดูกเนื้อโปร่ง

ส่วนเบ้าตามีลักษณะบาง แสงผ่านได้บางส่วน และประกอบด้วยกระดูกเนื้อแน่นเท่านั้น

ภาพอื่นๆ[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]