กระดาษอิเล็กทรอนิกส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จอภาพกระดาษอิเล็กทรอนิกส์

กระดาษอิเล็กทรอนิกส์ (อังกฤษ: Electronic paper) บางครั้งก็เรียกว่า อีเปเปอร์ เป็นเทคโนโลยีการแสดงผลที่เลียนแบบลักษณะการใช้หมึกบนกระดาษปกติ แต่แตกต่างจากจอแสดงผลแบบจอแบนโดยทั่วไป ตรงที่มีการใช้แบคไลต์ เพื่อให้ความสว่างแต่เซลล์ภาพ (pixel) ทำให้กระดาษอิเล็กทรอนิกส์สะท้อนแสงได้เหมือนกระดาษทั่วไป และสามารถบันทึกข้อความและภาพโดยไม่ต้องอาศัยไฟฟ้า หรือการใช้กำลังประมวลผล ขณะเดียวกันก็สามารถเปลี่ยนกระดาษได้ด้วย คุณลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งที่จำเป็นก็คือ เซลล์ภาพจะมีเสถียรภาพด้านภาพแบบไบสเตเบิล ทให้สถานะของแต่ละเซลล์ภาพสามารถคงอยู่ โดยไม่ต้องมีการจ่ายกำลังไฟ

กระดาษอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีการพัฒนาขึ้นมาเพื่อเอาชนะข้อจำกัดของจอมอนิเตอร์สำหรับคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างเช่น การใช้แสงแบคไลต์ของมอนิเตอร์นั้นทำให้สายตาของมนุษย์ล้า ขณะที่กระดาษอิเล็กทรอนิกส์นั้นสะท้อนแสงคล้ายกระดาษปกติ ทำให้อ่านเมื่อวางเป็นมุมเอียงได้ง่ายกว่าอ่านจอคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังมีน้ำหนักเบา ทนทาน และโค้งงอได้มากกว่า เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีจอแสดงผลแบบอื่นๆ แม้จะไม่สามารถโค้งงอหรือยับได้เหมือนกระดาษก็ตาม

การประยุกต์ใช้งานในอนาคตนั้นคาดว่าจะมีหนังสือที่ใช้กระดาษอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถเป็นรุ่นเก็บข้อมูลดิจิตอลจากหนังสือต่างๆ มากมาย โดยมีหนังสือเพียงเล่มเดียวที่แสดงผลหน้าต่างๆ พร้อมกัน โปสเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ และโฆษณาอื่นๆ ในร้านค้านั้นได้มีการสาธิตอยู่บ้างแล้ว

สำหรับกระดาษอิเล็กทรอนิกส์นั้นไม่เหมือนกับกระดาษดิจิตอล เพราะกระดาษดิจิตอลนั้น เป็นกระดาษที่มีรูปแบบลวดลายอย่างหนึ่ง ต้องใช้กับปากกาดิจิตอล เพื่อสร้างเอกสารลายมือแบบดิจิตอล รูปแบบของจุดที่พิมพ์นั้นจะบ่งบอกโคออดิเนตที่ชัดเจนบนกระดาษ สำหรับปากกาดิจิตอลที่ใช้จะเก็บลายมือเอาไว้ และโหลดเข้าไปยังคอมพิวเตอร์

เทคโนโลยี[แก้]

กระดาษอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีการพัฒนาครั้งแรก ในราวทศวรรษ 1970 โดย Nick Sheridon แห่งศูนย์วิจัยแพโล แอลโต ของซีรอกซ์ กระดาษอิเล็กทรอนิกส์ชิ้นแรก เรียกว่า Gyricon ประกอบด้วยทรงกลมโพลีเอทีลีน มีขนาดระหว่าง 20-100 ไมโครเมตร แต่ละทรงกลมประกอบด้วยพลาสติกสีดำมีประจุลบที่ด้านหนึ่ง และพลาสติกสีขาวมีประจุบวกอีกด้านหนึ่ง ทรงกลมนี้ถูกฝังอยู่ในแผ่นซิลิโคนโปร่งใส แต่ละลูกจะแขวนลอยอยู่ในฟองน้ำมัน ทำให้มันสามารถหมุนไปได้โดยอิสระ สภาพขั้วของแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายให้ขั้วไฟฟ้าแต่ละคู่ จะพิจารณาว่าด้านขาวหรือด้านดำที่หันขึ้นด้านบน และจะทำให้พิกเซลสีดำหรือสีขาวปรากฏขึ้น

เมื่อมาถึงทศวรรษ 1990 มีการประดิษฐ์กระดาษอิเล็กทรอนิกส์อีกชนิดหนึ่งขึ้นมา โดยนายโจเซฟ จาคอบสัน (Joseph Jacobson) ซึ่งภายหลังได้ร่วยมก่อตั้งบริษัท E Ink ขึ้น และได้เป็นพันธมิตรกับ Philips Components อีกสองปีต่อมาจึงได้พัฒนาและทำตลาดเทคโนโลยีดังกล่าวขึ้นอย่างจริงจัง

เทคโนโลยีดังกล่าวนี้ใช้ไมโครแคปซูลขนาดจิ๋ว ที่บรรรจุอนุภาคระดับโมเลกุลสีขาวที่มีประจุไฟฟ้า แขวนลอยอยู่ในน้ำมันแร่มีสี กระดาษอิเล็กทรอนิกส์รุ่นแรกๆ นั้นมีวงจรที่ใช้ควบคุมว่าอนุภาคหรือขาวอยู่ที่ด้านบนของแคปซูล (ทำให้ผู้ชมเห็นเป็นสีขาว) หรือที่ด้านล่างของแคปซูล (ทำให้ผู้ชมเห็นเป็นสีของน้ำมัน) ข้อนี้เป็นจุดสำคัญ เพราะเป็นการแนะนำเทคโนโลยีจอแสดงผลแบบ Electrophoresis ขึ้นใหม่ แต่การใช้ไมโครแคปซูลทำให้มีการใช้จอแสดงผลบนแผ่นพลาสติกโค้งงอได้ แทนที่จะเป็นกระดาษ

กระดาษอิเล็กทรอนิกส์รุ่นแรกๆ แบบหนึ่งประกอบด้วยแผ่นแคปซูลโปร่งแสงขนาดเล็กมาก แต่ละแผ่นมีขนาดประมาณ 40 ไมโครเมตร แต่ละแคปซูลประกอบด้วยสารละลายเหมือนน้ำมัน มีสีย้อมสีดำ (หมึกอิเล็กทรอนิกส์) และมีอนุภาคไทเทเนียมไอออกไซด์สีขาวจำนวนมากแขวนลอยอยู่ภายใน อนุภาคเหล่านี้มีประจุไฟฟ้าลบไม่สูงนัก และแต่ละอนุภาคก็มีสีขาวโดยธรรมชาติ

แคปซูลขนาดเล็กที่เรียกว่าไมโครแคปซูลนี้ถูกยึดไว้ในชั้นผิวของพอลิเมอร์เหลว ประกบอยู่ระหว่างขั้วไฟฟ้าสองชุด ด้านบนทำด้วยอินเดียมทินออกไซด์ (ITO) เป็นโลหะนำไฟฟ้าโปร่งแสง

มีสองอาเรย์ที่ถูกเรียงทำทำให้แผ่นแคปซูลถูกแบ่งเป็นพิกเซล ซึ่งแต่ละพิกเซลจะสอดคล้องกับคู่อิเล็กโตรดที่อิ่มตัวทั้งสองด้านของแผ่น แผ่นดังกล่าวถูกเคลือบด้วยพลาสติกโปร่งแสงเพื่อป้องกันความเสียหาย ทำให้มีความหนารูปไข่ 80 ไมโครเมตร หรือสองเท่าของกระดาษธรรมดา

โครงข่ายของอิเล็กโตรดจะถูกเชื่อมต่อเข้ากับวงจรแสดงผล ซึ่งเปลี่ยนหมึกอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็น เปิด และ ปิด ที่พิกเซลหนึ่งๆ โดยการจ่ายแรงดันไฟฟ้าไปยังคู่อิเล็กโตรดนั้นๆ การจ่ายประจุลบไปยังอิเล็กโตรดที่พื้นผิว จะผลักอนุภาคไปยังด้านล่างสุดของแคปซูลนั้นๆ เป็นการผลักสีย้อมดำไปยังพื้นผิว และทำให้เซลล์ภาพนั้นปรากฏเป็นสีดำ เมื่อมีการแปลงสลับแรงดันไฟฟ้า ก็มีผลตรงกันข้าม คือทำให้อนุภาคถูกขับจากพื้นผิว ทำให้เซลล์ภาพปรากฏเป็นสีขาว

เมื่อเร็วๆ นี้มีการใช้อิเล็กโตรดชั้นเดียวใต้ไมโครแคปซูล ซึ่งนับว่าลดความยุ่งยากลงได้เป็นอย่างมาก

กระดาษสี หรือโพลีโครม[แก้]

กระดาษอีเปเปอร์แบบสีอย่างง่าย ประกอบด้วยฟิลเตอร์เสริมเป็นสี ขนาดบาง เพิ่มเข้าไปยังเทคโนโลยีโมโนโครม (กระดาษสีเดียว หรือขาวดำ) ที่กล่าวมาข้างต้น อาร์เรย์ของพิกเซลนั้นแบ่งเป็นแม่สี ซึ่งปกติประกอบด้วยสีแดง เขียว และน้ำเงินมาตรฐาน ในลักษณะเดียวกับมอนิเตอร์แบบ CRT จอแบบนี้จะถูกควบคุมคล้ายกับจอแสดงผลภาพสีแบบอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ

การประยุกต์ใช้[แก้]

มีแนวทางการใช้กระดาษอิเล็กทรอนิกส์นี้มากมายหลายอย่าง โดยใช้ร่วมกับเทคโนโลยีที่กำลังพัฒนาร่วมของบริษัทต่างๆ ที่มีความสนใจและชำนาญในสาขานี้ เทคโนโลยีด้านอื่นๆ ที่ถูกประยุกต์เข้ากับกระดาษอิเล็กทรอนิกส์ได้แก่ การปรับปรุงจอแสดงผลแบบผลึกเหลว (liquid crystal display : LCD), จอแสดงผลอิเล็กโตรโครมิก (electrochromic display) และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ จาก Etch-A-Sketch ที่มหาวิทยาลัยคิวชู ประเทศญี่ปุ่น

Gyricon ได้พัฒนากระดาษอิเล็กทรอนิกส์อีกแบบหนึ่ง ร่วมกับ Philips Electronics, Kent Displays (จอแสดงผลคอเลสเตอริก), Nemoptic (เทคโนโลยี bistable nematic - BiNem), NTERA (จอแสดงผล electrochromic NanoChromics), E Ink และ SiPix Imaging (electrophoretic) และอื่นๆ อีกมาก

การประยุกต์ใช้ในเชิงพาณิชย์[แก้]

E Ink Corporation ได้ร่วมงานกับบริษัทต่างๆ เช่น Phillips และ Sony เพื่อพัฒนาการประยุกต์ใช้ในเชิงพาณิชย์ ทั้งยังประกาศเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 2005 ว่า จะเริ่มจัดส่ง shipping developer kits เป็นกระดาษอิเล็กทรอนิกส์ ความละเอียด 800 x 600 ขนาด 6 นิ้ว ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2005 และวันที่ 14 – 15 กรกฎาคม ค.ศ. 2005 Fujitsu ได้แสดงกระดาษอิเล็กทรอนิกส์ที่ตนร่วมพัฒนา ที่ Tokyo International Forum โดยมีการใช้กำลังไฟต่ำ และไม่ต้องการไฟฟ้า เว้นแต่ในช่วงการเปลี่ยนภาพบนจอเท่านั้น ทำให้กระดาษเล็กทรอนิกส์เหมาะสมเป็นพิเศษ สำหรับเป็นแผ่นป้ายโฆษณา หรือป้ายแจ้งข่าวสารในสถานที่สาธารณะ แทนที่กระดาษที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

ในประเทศจีนให้ความสำคัญของเทคโนโลยีนี้ ด้วยจัดเป็นวิสาหกิจ กระดาษอิเล็กทรอนิกส์ iRex [1]

อ้างอิง[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]