กระจูด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กระจูด
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Monocots
ไม่ได้จัดลำดับ: Commelinids
อันดับ: Poales
วงศ์: Cyperaceae
สกุล: Lepironia
สปีชีส์: L.  articalata
ชื่อทวินาม
Lepironia articulata
(Retz.) Domin
ชื่อพ้อง
  • Restio articulatus Retz
  • Chondrachne articulata (Retz.) R.Br.
  • Lepironia mucronata Rich. in C.H.Persoon
  • Scirpus coniferus Poir. in J.B.A.M.de Lamarck
  • Choricarpha aphylla Boeckeler
  • Lepironia mucronata var. capitata F.Muell.
  • Lepironia compressa Boeckeler
  • Lepironia mucronata var. compressa (Boeckeler) E.G.Camus in H.Lecomte
  • Lepironia articulata var. capitata (F.Muell.) Domin
  • Lepironia conifera (Poir.) Druce

กระจูด หรือ จูด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Lepironia articalata) เป็นพันธุ์ไม้จำพวก "กก" (Sedge) ลักษณะลำต้นกลมสีเขียวอ่อน ดินสอดำ สูงประมาณ 1 - 2 เมตร ออกดอกเป็นกระจุกแน่นคล้ายดอกกระเทียมที่ข้างลำต้นใกล้ยอดกระจุกหนึ่ง แต่มีช่อดอกปลายลำต้นอีกหนึ่งช่อซึ่งมีใบเล็กประกอบช่อด้วย กระจูดชอบขึ้นในพื้นที่น้ำขังซึ่งเรียกว่าโพระหรือพรุ มีถิ่นกำเนิดจากทางเกาะมาดากัสการ์ มอริเซียส ลังกา สุมาตรา แหลมมาลายู และหมู่เกาะต่าง ๆ ในแหลมมาลายู อินโดจีนตอนริมฝั่งทะเล ฮ่องกง บอร์เนียว ตลอดถึงออสเตรเลีย ริมฝั่งตะวันออก

การใช้ประโยชน์[แก้]

ต้นกระจูด นำไปฝึ่งแดดให้แห้งสนิท สามารถนำมาผลิตงานจักสานเป็น เสื่อปูรองนั่งที่เรียกกันว่า 'เสื่อกระจูด' หรือ 'สาดกระจูด' โดยการสานเสื่อกระจูดโดยทั่วไปนิยมสานลวดลายมาตรฐาน คือ ลายขัดสอง หรือลายขัดสาม และมีการพัฒนาดัดแปลงลวดลาย เช่น ลายลูกแก้ว ลายดาวล้อมเดือน ลายดอกจันทร์ ลายก้านต่อดอก ลายโคม ลายแก้วเนื่อง ลายแก้วบ้านดอน ลายตัวหนังสือ เป็นต้น และมีการทำผลิตภัณฑ์เช่น สายกระเป๋าเครื่องใช้ต่าง ๆ ใช้ทำใบเรือ ทำเชือกผูกมัด

แหล่งผลิตที่สำคัญ อยู่ที่หมู่บ้านทะเลน้อยจังหวัดพัทลุง หมู่บ้านบ่อกรัง จังหวัดสุราษฎร์ธานี หมู่บ้านสะกอม จังหวัดสงขลา หมู่บ้านทอนทอน จังหวัดนราธิวาส ปัจจุปันมีการผลิตจำหน่ายมากในตำบลเคร็ง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Lepironia articulata ที่วิกิสปีชีส์