กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation
ตรากรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 (21 ปี)
สำนักงานใหญ่61 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
งบประมาณประจำปี10,928.3281 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • อรรถพล เจริญชันษา[2], อธิบดี
  • ประกิต วงศ์ศรีวัฒนกุล, รองอธิบดี
  • สมหวัง เรืองนิวัติศัย, รองอธิบดี
  • ดร. รุ่งนภา พัฒนวิบูลย์, รองอธิบดี
เว็บไซต์http://www.dnp.go.th

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นหน่วยงานระดับกรม ในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก่อตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545

ประวัติ[แก้]

ในอดีตภารกิจด้านป่าไม้ ได้แก่ งานปลูกบำรุงป่า งานวนวัฒนวิจัย งานอุทยานแห่งชาติ งานด้านสัตว์ป่า งานต้นน้ำ และงานด้านป้องกันปราบปรามและไฟป่า ขึ้นตรงกับกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (เดิมสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์) ต่อมาได้มีการเสนอให้แยกงานที่เกี่ยวกับป่าเศรษฐกิจและงานด้านอนุรักษ์และการคุ้มครองป่าไม้ออกจากกัน โดยให้งานทางด้านป่าเศรษฐกิจอยู่กับกรมป่าไม้ ส่วนงานด้านอนุรักษ์และการคุ้มครอง ให้ไปตั้งเป็นกรมขึ้นมาใหม่ และให้สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นกระทรวงใหม่

ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกา เล่มที่ 119 ตอนที่ 99ก. ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2545 ให้จัดตั้งกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

อำนาจและหน้าที่[แก้]

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ดำเนินกิจภารกิจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ ส่งเสริมและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชในเขตพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์ โดยการควบคุม ป้องกันพื้นที่ป่าอนุรักษ์เดิมที่มีอยู่ และพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมให้กลับสมบูรณ์ด้วยกลยุทธ์การส่งเสริม กระตุ้น และปลุก จิตสำนึกให้ชุมชนมีความหวงแหนและการมีส่วนร่วมในการดูแลทรัพยากรท้องถิ่น เพื่อเป็นการรักษาสมดุลของระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนความหลากหลายทางชีวภาพ สำหรับเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร แหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า แหล่งอาหาร แหล่งนันทนาการและการท่องเที่ยวทางธรรมชาติของประชาชน

หน่วยงานในสังกัด[แก้]

  • สํานักบริหารงานกลาง
  • สํานักอุทยานแห่งชาติ
  • สํานักอนุรักษ์สัตว์ป่า
  • สํานักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ
  • สํานักป้องกันปราบปรามและควบคุมไฟป่า
  • สํานักฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่อนุรักษ์
  • สํานักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช
  • สํานักแผนงานและสารสนเทศ
  • กองนิติกร
  • กองคุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าตามอนุสัญญา

หน่วยงานส่วนกลางที่ตั้งอยู่ในภูมิภาค[แก้]

  • สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1 (ปราจีนบุรี)
  • สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรีราชา)
  • สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 (บ้านโป่ง)
  • สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 4 (สุราษฎร์ธานี)
  • สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 (นครศรีธรรมราช)
  • สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 6 (สงขลา)
  • สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 7 (นครราชสีมา)
  • สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 8 (ขอนแก่น)
  • สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี)
  • สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10 (อุดรธานี)
  • สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 11 (พิษณุโลก)
  • สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 (นครสวรรค์)
  • สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 (แพร่)
  • สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 14 (ตาก)
  • สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 15 (เชียงราย)
  • สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 (เชียงใหม่)
  • สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1 สาขาสระบุรี
  • สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 สาขาเพชรบุรี
  • สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 6 สาขาปัตตานี
  • สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 สาขาลำปาง
  • สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 สาขาแม่สะเรียง

อ้างอิง[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]