กรมประชาชน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรมประชาชน
ក្រុមប្រជាជន
หัวหน้าNon Suon
แกว เมียส
Penn Yuth
ก่อตั้งค.ศ. 1954
ถูกยุบค.ศ. 1972
ที่ทำการพนมเปญ, ประเทศกัมพูชา
อุดมการณ์ลัทธิคอมมิวนิสต์[1]
สังคมนิยม
จุดยืนฝ่ายซ้าย
ศาสนาพุทธเถรวาท
การเมืองกัมพูชา
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

กรมประชาชน (เขมร: ក្រុមប្រជាជន กฺรุมบฺรชาชน ออกเสียง กรมปรอเจียจ็วน, อังกฤษ: Citizen's Association หรือ People's Association) เป็นพรรคการเมืองในกัมพูชาที่เข้าร่วมในการเลือกตั้งเมื่อ พ.ศ. 2498 พ.ศ. 2501 และ พ.ศ. 2515 พรรคนี้เป็นองค์กรที่ถูกกฎหมายของพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชาหรือพรรคปฏิวัติประชาชนเขมร

การก่อตั้ง[แก้]

กรมประชาชนจัดตั้งขึ้นหลังจากการประชุมเจนีวา พ.ศ. 2497 ซึ่งรับรองเอกราชและความเป็นกลางของกัมพูชา และได้จัดให้มีการเลือกตั้งในปีต่อมา กลุ่มที่ต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชของเขมรส่วนใหญ่มีความเกี่ยวข้องกับเวียดมิญ ซึ่งต้องถอนตัวออกจากกัมพูชาหลังการประชุมนี้ เขมรฝ่ายซ้ายบางกลุ่มเช่น เซิง งอก มิญได้เดินทางไปฮานอย กลุ่มที่เหลือได้จัดตั้งกรมประชาชนซึ่งเป็นพรรคที่ถูกกฎหมาย นโยบายเน้นแบบสังคมนิยม ในส่วนของพรรคคอมมิวนิสต์ที่นำโดยตู สามุตและเซียว เฮง และสมาชิกรุ่นใหม่อย่างลต ซอ (พล พต) และเอียง ซารี ยังคงอยู่ในฐานะอีกองค์กรหนึ่ง ผู้นำของกรมประชาชนในขณะนั้นเป็นผู้นำของเขมรอิสระเดิมเช่น นอน ซวน แก้ว เมียส และเพ็ญ ยุต[2]

การเลือกตั้ง พ.ศ. 2498[แก้]

การเลือกตั้งในกัมพูชา พ.ศ. 2498 เป็นการเข้าร่วมการเลือกตั้งครั้งแรกของกรมประชาชน ผลปรากฏว่าส่งผู้สมัคร 35 คน ไม่ได้ที่นั่งในสภา พ่ายแพ้ให้แก่พรรคสังคมราษฎร์นิยมของพระนโรดม สีหนุ

การเลือกตั้ง พ.ศ. 2501[แก้]

ในช่วงก่อนการเลือกตั้ง พ.ศ. 2501 พระนโรดม สีหนุมีความกังวลอย่างมากเกี่ยวกับอิทธิพลของเวียดมิญและเวียดนามเหนือ ที่เข้ามามีอิทธิพลมากขึ้นในกัมพูชา ในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง จึงมีการโจมตีและติดตามพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชามาก โดยเน้นว่ากลุ่มฝ่ายซ้ายมีความเกี่ยวข้องกับเวียดนาม [3] กรมประชาชนถูกกดดันมากขึ้น เมื่อมีการเผยแพร่ภาพตึกและทางรถไฟที่ถูกระเบิดทำลาย และคำขวัญที่กล่าวหาว่ากรมประชาชนเป็นพวกขายชาติ และกรมประชาชนไม่ใช่ระบอบสังคม[3] ท่ามกลางความกดดัน กรมประชาชนส่งผู้สมัครเพียง 5 คน และ 4 คนถูกจับและถอดถอนการสมัคร มีเพียงแก้ว เมียสคนเดียวที่ได้ลงรับเลือกตั้ง แต่ก็ถูกบีบจนต้องลี้ภัยไปอยู่ที่ชายแดนเวียดนาม

การเลือกตั้ง พ.ศ. 2505[แก้]

กรมประชาชนเป็นเป้าหมายที่ถูกกดดันโดยรัฐบาลอีกครั้ง ตำรวจของฝ่ายสีหนุจับตัวสมาชิกพรรคไป 14 คนรวมทั้งนอน ซวน เลขาธิการทั่วไปของพรรคในข้อหาว่าร่วมมือกับเวียดนามเหนือในการต่อต้านระบอบสังคม พวกเขาถูกตัดสินประหารชีวิต ทำให้กรมประชาชนสลายตัว สมาชิกพรรคที่นิยมฝ่ายซ้ายหนีออกจากพนมเปญเข้าป่า มีเพียงเขียว สัมพัน ฮู ยวนและฮู นิมที่ยังร่วมมือกับระบอบสังคม ตู สามุต ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์หายตัวไปอย่างลึกลับ ลต ซอขึ้นเป็นผู้นำพรรคแทน

การเลือกตั้ง พ.ศ. 2515[แก้]

หลังจากการโค่นล้มระบบสังคมของสีหนุหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2513 และก่อตั้งสาธารณรัฐเขมร กรมประชาชนถูกรื้อฟื้นขึ้นมาอีกครั้งเพื่อเข้าร่วมการเลือกตั้งเป็นคู่แข่งของพรรคสาธารณรัฐสังคมนิยม ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2515 เพ็ญ ยุตซึ่งในขณะนั้นเป็นเจ้าหน้าในกองทัพและมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับลน นล ขึ้นมาเป็นผู้นำพรรค ทำให้กรมประชาชนถูกมองเป็นพรรคหุ่นเชิดของรัฐบาล[4] ลต ฉาย พี่ชายของลต ซอหรือพล พต เข้าร่วมกับกรมประชาชนด้วย แต่กรมประชาชนไม่ได้รับเลือก พรรคสาธารณรัฐสังคมนิยมได้รับการเลือกตั้งทุกที่นั่ง

อ้างอิง[แก้]

  1. "1955 polls: the Sangkum takes hold". The Phnom Penh Post. 13 February 1998.
  2. Kiernan, Ben. How Pol Pot Came to Power. London: Verso, 1985. pp. 156-157
  3. 3.0 3.1 Dommen, A. The Indochinese experience of the French and the Americans, p.360
  4. Corfield, J. Khmers stand up!: a history of the Cambodian government 1970-1975, 1994, p.166