กรมทรัพยากรน้ำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรมทรัพยากรน้ำ
Department of Water Resources
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง3 ตุลาคม พ.ศ. 2545
สำนักงานใหญ่180/3 ซอยพระรามที่ 6 ซอย 34 (พิบูลย์วัฒนา) ถนนพระรามที่ 6 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
งบประมาณประจำปี8,123.9602 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • ภาดล ถาวรกฤชรัตน์, อธิบดี[2]
  • ธีระชุณ บุญสิทธิ์, รองอธิบดี
  • บุญสม ชลพิทักษ์วงศ์, รองอธิบดี
เว็บไซต์http://www.dwr.go.th

กรมทรัพยากรน้ำ เป็นหน่วยงานระดับกรม ในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก่อตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545

ประวัติ[แก้]

เพื่อให้การบริหารทรัพยากรน้ำมีความก้าวหน้ายิ่งขึ้น ในปี 2543 คณะรัฐมนตรีได้กำหนดกรอบ “วิสัยทัศน์น้ำแห่งชาติ” โดยให้ความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2543 และจากวิสัยทัศน์น้ำแห่งชาติ ได้นำไปสู่การกำหนด “นโยบายน้ำแห่งชาติ” ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ให้ความความเห็นชอบเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2543 ภายใต้แนวคิดที่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 แนะแนวทางการบริหารจัดการน้ำแบบผสมผสานที่มุ่งเน้นการประสาน การพัฒนา และการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำร่วมกับทรัพยากรอื่นที่เกี่ยวข้อง ด้วยการคำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ เพื่อนำไปสู่ผลตอบแทนสูงสุดด้านเศรษฐกิจและสังคม

ผลจากการปฏิรูประบบราชการเมื่อปลายปี 2545 ที่ผ่านมา ได้นำไปสู่การจัดตั้ง กรมทรัพยากรน้ำ ในฐานะหน่วยงานภาครัฐที่มีภารกิจหลักด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างครบวงจร โดยทำหน้าที่เสนอแนะนโยบาย จัดทำแผนแม่บท การศึกษาวิจัย พัฒนาอนุรักษ์ และฟื้นฟูแหล่งน้ำ ตลอดจนการส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน ในรูปของคณะอนุกรรมการลุ่มน้ำ ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล เพื่อส่งเสริมบทบาทของประชาชน ในการมีส่วนร่วมกับการทำงานของภาครัฐ เริ่มจากการคิด การนำเสนอความเห็น การลงมือปฏิบัติ รวมทั้งการติดตามและประเมินผล เพื่อสร้างการยอมรับในแผนงานของโครงการและกิจกรรมของภาครัฐ ที่เข้าไปดำเนินการพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างเปี่ยมประสิทธิภาพ และยั่งยืน

อำนาจและหน้าที่[แก้]

  1. เสนอแนะการจัดทำนโยบาย แผน และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรน้ำ
  2. บริหารจัดการ พัฒนา อนุรักษ์ ฟื้นฟู รวมทั้งควบคุม ดูแลกำกับ ประสาน ติดตาม ประเมินผล และแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ
  3. พัฒนาวิชาการ กำหนดมาตรฐาน และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านทรัพยากรน้ำ ทั้งระดับภาพรวมและระดับลุ่มน้ำ

ผลงานสำคัญ[แก้]

  1. การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 25 ลุ่มน้ำ
  2. การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค
  3. การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเป็นระบบ
  4. การศึกษาและพัฒนาระบบสารสนเทศและแจ้งเตือนภัยด้านน้ำ
  5. การศึกษาระบบเครือข่ายน้ำในประเทศ
  6. การจัดทำระบบฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ด้านทรัพยากรน้ำ สำหรับบริหารและบริการประชาชน (ศูนย์เมขลา)
  7. สำนักเลขาธิการคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย

หน่วยงานในสังกัด[แก้]

อ้างอิง[แก้]