กรดไฮโดรโบรมิก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรดไฮโดรโบรมิก
Ball-and-stick model of hydrogen bromide
Ball-and-stick model of hydrogen bromide
Ball-and-stick model of water
Ball-and-stick model of water
Ball-and-stick model of the bromide anion
Ball-and-stick model of the bromide anion
Ball-and-stick model of the hydronium cation
Ball-and-stick model of the hydronium cation
ชื่อ
IUPAC name
Bromane[1]
ชื่ออื่น
Hydronium bromide
Bromhydric acid
เลขทะเบียน
3D model (JSmol)
ChEBI
ChEMBL
เคมสไปเดอร์
ECHA InfoCard 100.240.772 แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
EC Number
  • 233-113-0
620
KEGG
RTECS number
  • MW3850000
UNII
UN number 1048 1788
  • InChI=1S/BrH/h1H checkY
    Key: CPELXLSAUQHCOX-UHFFFAOYSA-N checkY
  • InChI=1/BrH/h1H
    Key: CPELXLSAUQHCOX-UHFFFAOYAZ
  • Br
คุณสมบัติ
HBr(aq)
มวลโมเลกุล 80.91 g·mol−1
ลักษณะทางกายภาพ ของเหลวไม่มีสี
(ตัวอย่างที่ไม่บริสุทธิ์อาจปรากฏเป็นสีเหลือง)
กลิ่น ฉุน
ความหนาแน่น 1.49 g/cm3 (48% w/w aq.)
จุดหลอมเหลว −11 องศาเซลเซียส (12 องศาฟาเรนไฮต์; 262 เคลวิน) (47–49% w/w aq.)
จุดเดือด 122 องศาเซลเซียส (252 องศาฟาเรนไฮต์; 395 เคลวิน) at 700 mmHg (47–49% w/w aq.)
221 g/100 mL (0 °C)
204 g/100 mL (15 °C)
130 g/100 mL (100 °C)
pKa −9[2]
ความหนืด 0.84 cP (−75 °C)
อุณหเคมี
29.1 J/(K·mol)
Std molar
entropy
(S298)
198.7 J/(K·mol)
−36.3 kJ/mol
ความอันตราย
GHS labelling:
The corrosion pictogram in the Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals (GHS)The exclamation-mark pictogram in the Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals (GHS)
อันตราย
H314, H335
P260, P261, P264, P271, P280, P301+P330+P331, P303+P361+P353, P304+P340, P305+P351+P338, P310, P312, P321, P363, P403+P233, P405, P501
NFPA 704 (fire diamond)
จุดวาบไฟ ไม่ติดไฟ
เอกสารข้อมูลความปลอดภัย (SDS) ICSC 0282
สารประกอบอื่นที่เกี่ยวข้องกัน
แอนไอออนอื่น ๆ
กรดไฮโดรฟลูออริก
กรดไฮโดรคลอริก
กรดไฮโดรไอโอดิก
สารประกอบที่เกี่ยวข้อง
ไฮโดรเจนโบรไมด์
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa

กรดไฮโดรโบรมิก (อังกฤษ: hydrobromic acid) เป็นสารละลายของแก๊สไฮโดรเจนโบรไมด์ กรดไฮโดรโบรมิกเป็นกรดที่สามารถกัดกร่อนรุนแรง มีค่า pKa ประมาณ -9 ลักษณะของกรดไฮโดรโบรมิก เป็นกรดไฮโดร (กรดที่มีองค์ประกอบ 2 อย่างคือ ไฮโดรเจนและอโลหะ ในที่นี้คือโบรมีน)

การใช้ประโยชน์[แก้]

ส่วนใหญ่ใช้ในการผลิตสารประกอบอนินทรีย์ของโบรไมด์ โดยเฉพาะกับสังกะสี แคลเซียมและโซเดียม และยังใช้ในการสังเคราะห์สารประกอบอินทรีย์ของโบรมีน อีเทอร์สามารถถูกตัดได้ด้วย HBr นอกจากนี้ HBr สามารถเร่งปฏิกิริยาแอลคิเลชัน และการสกัดแร่ สารประกอบสำคัญทางอุตสาหกรรมที่ผลิตจากกรดไฮโดรโบรมิกได้แก่ แอลลิล โบรไมด์ เตตระโบรโมบิสฟีนอล และกรดโบรโมอะซีติก[3] HBr มีความเป็นเอกลักษณ์คือสามารถเกิดปฏิกิริยาเติมกับแอลคีนแบบแอนติ-มาร์คอฟนิคอฟได้เมื่อมีเปอร์ออกไซด์อยู่ด้วย

การสังเคราะห์[แก้]

กรดไฮโดรโบรมิกเตรียมได้จากปฏิกิริยาระหว่าง Br2, SO2 และน้ำ[4]

Br2 + SO2 + 2 H2O → H2SO4 + 2 HBr

การเตรียมอีกแบบหนึ่งใช้ ไฮโดรเจนโบรไมด์ ที่แห้งมาละลายน้ำ

ในทางอุตสาหกรรมเตรียมโดยนำโบรมีนไปทำปฏิกิริยากับกำมะถัน หรือ ฟอสฟอรัส และน้ำ และผลิตได้ด้วยเคมีไฟฟ้าด้วย[4] นอกจากนั้นยังผลิตได้จากการนำโบรไมด์ไปทำปฏิกิริยากับกรดที่ไม่ออกซิไดส์เช่น กรดฟอสฟอริกหรือกรดอะซีติก กรดชนิดนี้มีขายทางการค้าที่ความเข้มข้นและความบริสุทธิ์หลายระดับ

การสังเคราะห์อีกวิธีคือการใช้กรดซัลฟิวริก (5.8M) กับโพแทสเซียมโบรไมด์

H2SO4 + KBr → KHSO4 + HBr

แต่วิธีนี้หากใช้กรดซัลฟิวริกเข้มข้นมากไปหรืออุณหภูมิสูงเกิน 75 °C จะทำให้เกิดการออกซิไดส์ HBr เป็นแก๊สโบรมีน

อ้างอิง[แก้]

  1. Favre, Henri A.; Powell, Warren H., บ.ก. (2014). Nomenclature of Organic Chemistry: IUPAC Recommendations and Preferred Names 2013. Cambridge: The Royal Society of Chemistry. p. 131. ISBN 9781849733069.
  2. Bell, R. P. The Proton in Chemistry, 2nd ed., Cornell University Press, Ithaca, NY, 1973.
  3. Michael J. Dagani, Henry J. Barda, Theodore J. Benya, David C. Sanders "Bromine Compounds" in Ullmann's Encyclopedia of Industrial Chemistry" Wiley-VCH, Weinheim, 2000. doi:10.1002/14356007.a04_405
  4. 4.0 4.1 Scott, A. (1900). "Preparation of pure hydrobromic acid". J. Chem. Soc., Trans. 77: 648–650. doi:10.1039/ct9007700648.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ กรดไฮโดรโบรมิก