วงศ์กบลูกศรพิษ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก กบลูกศรพิษ)
วงศ์กบลูกศรพิษ
กบลูกศรสีน้ำเงิน (Dendrobates azureus) (บน), กบลูกศรสีเหลือง (D. leucomelas) (ล่าง)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Amphibia
อันดับ: Anura
วงศ์: Dendrobatidae
Cope, 1865
วงศ์ย่อยและสกุล
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ (สีดำ)
ชื่อพ้อง
  • Phyllobatae Fitzinger, 1843
  • Eubaphidae Bonaparte, 1850
  • Eubaphina Bonaparte, 1850
  • Hylaplesidae Günther, 1858
  • Dendrobatidae Cope, 1865
  • Colostethidae Cope, 1867
  • Hylaplesiina Günther, 1868
  • Calostethina Mivart, 1869
  • Calostethidae Cope, 1875
  • Hylaplesiidae Cope, 1875
  • Hylaplesiida Knauer, 1883
  • Dendrobatinae Gadow, 1901
  • Phyllobatidae Parker, 1933
  • Phyllobatinae Ardila-Robayo, 1979
  • Dendrobatoidae Dubois, 1992

กบลูกศรพิษ (อังกฤษ: Poison dart frogs, Dart-poison frogs, Poison frogs, Poison arrow frogs) เป็นวงศ์ของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกขนาดเล็กวงศ์หนึ่ง ในอันดับกบ (Anura) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dendrobatidae

ลักษณะ[แก้]

มีลักษณะโดยรวม คือ ด้านบนตรงส่วนปลายของนิ้วมีปุ่นหรือสันเจริญขึ้นมา 1 คู่ มีกระดูกสันหลังหน้ากระดูกก้นกบ 6-8 ปล้อง กระดูกสันหลังมีเซนทรัมเป็นแบบอย่างของโพรซีลัส กระดูกหัวไหล่เป็นแบบอย่างของเฟอร์มิสเทอร์นัล กระดูกแอสทรากาลัสและกระดูกแคลลาเนียมเชื่อมรวมกันเฉพาะส่วนต้นและส่วนปลาย ไม่มีชิ้นกระดูกแทรกระหว่างกระดูกนิ้ว 2 ชิ้นสุดท้าย กระดูกนิ้วชิ้นสุดท้ายเป็นรูปตัว T ลูกอ๊อดมีช่องปากมีจะงอยปากและมีตุ่มฟัน ช่องเปิดของห้องเหงือกมีช่องเดียวอยู่ทางด้านข้างลำตัวและทางซ้ายของลำตัว

กบในวงศ์นี้ เป็นกบที่มีขนาดเล็ก มีความยาวลำตัวประมาณ 1-6 เซนติเมตร เท่านั้น อาศัยบนพื้นดินหรือบนต้นไม้หรือใบไม้ของป่าฝนในทวีปอเมริกาใต้และอเมริกากลาง ส่วนใหญ่หากินในเวลากลางวัน ซึ่งกบในวงศ์นี้มีลักษณะเด่นที่เห็นได้ชัดเจนมาก มีสีสันและลวดลายสดใสสวยงามและจัดจ้านมาก ซึ่งมีต่อมพิษที่จะผลิตพิษร้ายแรงมาก เนื่องจากเป็นสารเคมีประเภทอัคคาลอยด์ ที่จะออกฤทธิ์ระหว่างจุดประสานเซลล์ประสาทและระหว่างประสาทกับกล้ามเนื้อ อัลลาลอยด์ของกบวงศ์นี้จะเป็นประเภทละลายในสารละลายอินทรีย์ พิษของกบวงศ์นี้ สามารถทำให้มนุษย์หรือสัตว์ขนาดใหญ่ตายได้เลย เพียงแค่ไปแตะต้องสัมผัสถูก ซึ่งชาวพื้นเมืองของอเมริกาใต้ได้ใช้ประโยชน์จากพิษนี้ อาบหัวลูกศรหรือลูกธนู สำหรับการล่าสัตว์ ซึ่งสามารถล้มหมูป่าตัวใหญ่ให้ล้มลงได้ภายในระยะเวลาไม่นาน [1]ได้มีการจัดอันดับสัตว์ที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก ปรากฏว่า กบในวงศ์นี้ติดอยู่ในอันดับด้วย โดยพิษจากกบเพียง 1 ตัว สามารถฆ่ามนุษย์ได้ถึง 10 คนและหนูถึง 20,000 ตัว ด้วยพิษเพียง 5 ไมโครกรัม[2]

พิษ[แก้]

โดยชนิดที่มีพิษร้ายแรงที่สุด คือ กบลูกศรสีทอง (Phyllobates terribilis) ที่ให้พิษได้ 2 มิลลิกรัมและพิษเพียง 0.2 มิลลิกรัม เมื่อเข้าสู่กระแสเลือดเป็นปริมาณมากพอก็สามารถทำให้มนุษย์ตายได้

แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่ากบในวงศ์นี้ทุกชนิด ทุกสกุลจะมีพิษเสมอไป บางสกุลไม่มีสีสันสดใสก็มี พฤติกรรมการผสมพันธุ์ ส่วนใหญ่ตัวผู้จะไม่กอดรัดตัวเมีย แต่ถ้ามีมีการกอดรัดจะเป็นตำแหน่งบริเวณหัว ส่วนใหญ่วางไข่บนพื้นดินหรือบนต้นไม้และเฝ้าดูแลไข่ มีเพียงบางสกุลเท่านั้นที่วางไข่ในน้ำและไม่ดูแลไข่ เมื่อลูกอ๊อดฟักจากไข่จะอยู่บนหลังของตัวผู้หรือตัวเมียระยะหนึ่งก่อนจึงค่อยลงสู่น้ำ [3]

การจำแนก[แก้]

ปัจจุบันมีการจำแนกแล้วประมาณ 175 ชนิด แบ่งออกได้เป็น 3 วงศ์ย่อย 12 สกุล[4] [5]

สกุลและผู้อนุกรมวิธาน ชื่อสามัญ (ภาษาอังกฤษ) จำนวนชนิด
Adelphobates (Grant, et al., 2006)
3
Ameerega (Bauer, 1986)
31
Colostethus (Cope, 1866) Rocket frogs
21
Dendrobates (Wagler, 1830) Poison dart frogs
5
Epipedobates (Myers, 1987) Phantasmal poison frogs
6
Excidobates (Twomey & Brown, 2008)
2
Hyloxalus (Jiménez de la Espada, 1870)
58
Minyobates (Myers, 1987)
1
Oophaga (Bauer, 1994)
9
Phyllobates (Duméril & Bibron, 1841) Golden poison frogs
6
Ranitomeya (Bauer, 1986)
33
Silverstoneia (Grant, et al., 2006)
3

อ้างอิง[แก้]

  1. กบลูกศร
  2. หน้าที่ 1 - สุดยอดสัตว์มีพิษที่อันตรายที่สุดในโลก‏
  3. หน้า 340-341, วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก โดย วีรยุทธ์ เลาหะจินดา (พ.ศ. 2552) ISBN 978-616-556-016-0
  4. จาก itis.gov (อังกฤษ)
  5. F. Harvey Pough ... (2004). Herpetology. Upper Saddle River, NJ: Pearson/Prentice Hall. pp. 92. ISBN 0131008498.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]