กฎหมายประชาสงเคราะห์ของอังกฤษ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เคหสงเคราะห์และโรงทำงานเดิมที่แนนท์วิชในอังกฤษที่ก่อตั้งตามบทบัญญัติในกฎหมายประชาสงเคราะห์มาตั้งแต่ราว ค.ศ. 1780

กฎหมายประชาสงเคราะห์ของอังกฤษ (อังกฤษ: English Poor Laws[1]) กฎหมายประชาสงเคราะห์ของอังกฤษเป็นระบบการบรรเทาทุกข์คนยากจนที่มีผลใช้บังคับในอังกฤษและเวลส์[2] ที่วิวัฒนาการมาจากกฎหมายของยุคกลางตอนปลายและของสมัยทิวดอร์ก่อนที่จะนำมาประมวลเป็นกฎหมายในระหว่างปี ค.ศ. 1587 ถึงปี ค.ศ. 1598 ระบบกฎหมายประชาสงเคราะห์ใช้กันมาจนกระทั่งเมื่อเกิดระบบรัฐสวัสดิการขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง[3]

กฎหมายประชาสงเคราะห์ของอังกฤษเริ่มใช้กันมาตั้งแต่ ค.ศ. 1536[4] เมื่อพระราชบัญญัติเพื่อแก้ปัญหา “คนยากจนผู้ทุพพลภาพ” (impotent poor) ผู้ช่วยเหลือตนเองไม่ได้หรือไม่อาจจะทำงานตามปกติได้เช่นผู้สูงอายุหรือเด็กหรือผู้เจ็บป่วย แต่อันที่จริงแล้วอังกฤษมีกฎหมายที่เก่ากว่านั้นที่เป็นพระราชบัญญัติที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยทิวดอร์เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยคนจรจัดและขอทาน[1] ประวัติของกฎหมายประชาสงเคราะห์ของอังกฤษและเวลส์มักจะเป็นสองฉบับ “กฎหมายประชาสงเคราะห์ฉบับเดิม” ที่ได้รับการอนุมัติในรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1[5] “กฎหมายประชาสงเคราะห์ฉบับใหม่” ที่ได้รับการอนุมัติในปี ค.ศ. 1834 ที่เป็นฉบับที่ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบการบรรเทาทุกข์คนยากจนที่ใช้กันอยู่เป็นอันมาก[6] กฎหมายฉบับหลังเปลี่ยนระบบกฎหมายประชาสงเคราะห์จากระบบที่บริหารกันอย่างไม่มีแบบมีแผนโดยเจ้าหน้าที่ระดับท้องถิ่นมาเป็นระบบที่บริหารจากศูนย์กลาง ที่ก่อให้เกิดการก่อตั้งเคหสงเคราะห์และโรงทำงานกันขึ้นอย่างขนานใหญ่โดยสหภาพกฎหมายประชาสงเคราะห์[7]

ระบบกฎหมายประชาสงเคราะห์ของอังกฤษมิได้รับการยกเลิกอย่างเป็นทางการจนกระทั่งปี ค.ศ. 1967[7] เมื่อเนื้อหาบางอย่างยังคงระบุอยู่ในพระราชบัญญัติเพื่อการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้มีความจำเป็น ค.ศ. 1948(อังกฤษ: National Assistance Act 1948[8][9] ระบบกฎหมายประชาสงเคราะห์เริ่มขาดประสิทธิภาพเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 จากสาเหตุหลายประการเช่นการเริ่มใช้ พระราชบัญญัติเพื่อการปฏิรูประบบประชาสงเคราะห์ของอังกฤษ[10] (อังกฤษ: Liberal welfare reforms) และความช่วยเหลือที่เพิ่มขึ้นจากหน่วยงานอื่นๆ ของเอกชนและกลุ่มสหภาพแรงงานต่างๆ ที่ก่อตั้งขึ้น[10] และรวมทั้งการปฏิรูปที่เกิดขึ้นบางครั้งที่ละเลยบทบัญญัติของระบบกฎหมายประชาสงเคราะห์ที่ยังคงมีอยู่[11]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Encyclopedia: English Poor Laws". Eh.net. 2002-05-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-05. สืบค้นเมื่อ 2009-05-17.
  2. "The Poor Law: overview". Victorianweb.org. 2002-11-08. สืบค้นเมื่อ 2009-05-17.
  3. "British social policy 1601–1948". .rgu.ac.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-30. สืบค้นเมื่อ 2009-05-17.
  4. GR Elton, An Early Tudor Poor Law, Economic History Review, 1953
  5. "The Poor Law". Institutions.org.uk. 2007-08-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-04. สืบค้นเมื่อ 2009-05-17.
  6. "1834 Poor Law". Spartacus.schoolnet.co.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-28. สืบค้นเมื่อ 2009-05-17.
  7. 7.0 7.1 Peter Higginbotham. "The Workhouse Web Site". www.workhouses.org.uk. สืบค้นเมื่อ 2009-05-17.
  8. National Assistance Act 1948[ลิงก์เสีย]
  9. "The New Poor Law – 1834 – Britain". Freespace.virgin.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-11. สืบค้นเมื่อ 2009-07-22.
  10. 10.0 10.1 "Encyclopedia: English Poor Laws". Eh.net. 2002-05-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-05. สืบค้นเมื่อ 2009-07-22.
  11. Lees, Lynn Hollen. The Solidarities of Strangers: The English Poor Laws and the People, 1770–1948. Cambridge: Cambridge University Press, 1998

บรรณานุกรม[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]