เศรษฐกิจอินเดีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาคารระฟ้าในนครมุมไบ ในภาพเห็นอาคารที่ทำการของตลาดหลักทรัพย์บอมเบย์

เศรษฐกิจของอินเดีย มีขนาดเป็นอันดับที่ 11 ของโลกเมื่อวัดด้วยค่าจีดีพี[1] และเป็นอันดับ 4 ของโลกเมื่อเทียบด้วยความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ[2] หลังจากที่ได้มีการปฏิรูปเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งโดยนักสังคมนิยมเป็นแรงบันดาลใจให้แก่เศรษฐกิจของประเทศหลังจากได้รับเอกราช อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศได้เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยกิจกรรมตลาดเสรีซึ่งริเริ่มในปี พ.ศ. 2533 เพื่อการแข่งขันกับนานาชาติและการลงทุนจากต่างประเทศ อินเดียเป็นประเทศอุตสาหกรรมก้าวหน้าเกิดใหม่โดยมีจำนวนประชากรมหาศาล เช่นเดียวกับทรัพยากรทางธรรมชาติและบุคลากรมืออาชีพมีทักษะที่เพิ่มมากขึ้น นักเศรษฐศาสตร์หลายท่านได้ทำนายว่าในปี พ.ศ. 2563[3] อินเดียจะกลายเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจของโลก

จำนวนชนชั้นกลางกว่า 300 ล้านคนของอินเดียเพิ่มจำนวนโดยเฉลี่ย 5% ต่อปี[4] จากภาพ แสดงถึงการจัดสร้างเขตที่อยู่อาศัยในมุมไบ

อินเดียอยู่ภายใต้นโยบายซึ่งตั้งบนพื้นฐานของสังคมประชาธิปไตย นับจาก พ.ศ. 2490 ถึง พ.ศ. 2534 เศรษฐกิจอินเดียมีลักษณะของข้อบังคับขยาย ลัทธิคุ้มครอง การถือกรรมสิทธิ์โดยเอกชน การคอรัปชั่นและการเจริญเติบโตอย่างช้า ๆ[5][6][7][8] จนกระทั่งเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 ซึ่งมีการเปิดโอกาสเสรีทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง และได้ส่งผลให้ประเทศเปลี่ยนไปเป็นลักษณะของตลาดเศรษฐกิจแทน[6][7] การฟื้นฟูการปฏิรูปเศรษฐกิจและนโยบายทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นในช่วงพุทธทศวรรษ 2540 ได้เร่งให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเร็วยิ่งขึ้น ไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ เมืองต่าง ๆ ในอินเดียได้เริ่มเปิดเสรีในข้อบังคับเกี่ยวกับธุรกิจอย่างต่อเนื่อง[9] โดยในปี พ.ศ. 2551 อินเดียเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่มีอัตราการเติบโตเร็วที่สุดอันดับสองของโลก[10][11][12] อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2552 อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของอินเดียกลับลดลงอย่างมากเหลือ 6.8 เปอร์เซนต์[13] ตลอดจนโครงการฟื้นฟูการขาดดุลปีงบประมาณครั้งใหญ่ที่ 6.8 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี ซึ่งจะเป็นระดับสูงที่สุดของโลก[14][15]

ภาคธุรกิจต่าง ๆ[แก้]

ภาคอุตสาหกรรมและการบริการ[แก้]

อุตสาหกรรมยานยนต์ของอินเดียเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมยานยนต์ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก[16][17] ในรูปคือรถทาทา นาโน ของทาทา มอเตอร์ส ซึ่งเป็นรถยนต์ที่ถูกที่สุดในโลก[18]

อุตสาหกรรมมีขนาดเป็นร้อยละ 28 ของจีดีพี และมีการจ้างงานร้อยละ 14 ของจำนวนแรงงานทั้งหมด[19] แต่ประมาณ 1 ใน 3 ของแรงงานภาคอุตสาหกรรมเป็นเพียงแรงงานในอุตสาหกรรมครัวเรือนที่ไม่ซับซ้อน[20] เมื่อเทียบด้วยมูลค่าแล้ว ผลผลิตจากโรงงานของอินเดียนับเป็นอันดับที่ 16 ของโลก

การปฏิรูปเศรษฐกิจทำให้มีการแข่งขันจากต่างชาติ ทำให้เกิดการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เปิดทางให้แก่เอกชนในธุรกิจที่แต่เดิมสงวนไว้ให้ภาครัฐและทำให้การผลิตสินค้าบริโภคขยายตัวอย่างรวดเร็ว[21] ภาคเอกชนของอินเดียเดิมมีลักษณะเป็นตลาดการแข่งขันน้อยรายที่บริหารโดยบริษัทครอบครัวเก่าแก่และอาศัยการมีเครือข่ายทางการเมืองเพื่อที่จะประสบความสำเร็จ แต่หลังการเปิดเสรี บริษัทเหล่านี้ต้องเผชิญจากการแข่งขันโดยบริษัทต่างชาติ รวมทั้งสินค้านำเข้าราคาถูกจากจีน ดังนั้นจึงต้องปรับตัวด้วยการลดต้นทุน ปรับปรุงการบริหาร มุ่งเน้นการออกแบบสินค้าใหม่ ๆ และพึ่งพาแรงงานราคาถูกและเทคโลยีมากขึ้น[22]

การผลิตสิ่งทอ เป็นอุตสาหกรรมที่มีการจ้างงานมากเป็นอันดับ 2 รองจากการเกษตร และมีผลผลิตคิดเป็นร้อยละ 26 ของผลผลิตทั้งหมด[23] ลูเธียนาซึ่งถูกเรียกว่าเป็นแมนเชสเตอร์ของอินเดีย สามารถผลิตผ้าขนสัตว์ได้มากถึงร้อยละ 90 ของอินเดีย ติรุปุร์กลายเป็นที่รู้จักในนามของศูนย์รวมของถุงเท้า เสื้อผ้าถัก เสื้อผ้าลำลอง และเสื้อผ้ากีฬา[24] สลัมธาราวีในมุมไบเป็นที่รู้จักในเรื่องเครื่องหนัง ทาทา มอเตอร์ส พยายามสร้างรถทาทา นาโนให้เป็นรถที่ถูกที่สุดในโลก[18]

อินเดียอยู่ในอันดับที่ 15 ของผลผลิตจากภาคบริการ ซึ่งมีอัตราการจ้างงานร้อยละ 23 ของแรงงานทั้งหมด ภาคบริการมีการขยายตัวเร็วมากด้วยอัตราเติบโตร้อยละ 7.5 ระหว่างปี 2534-2543 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.5 ในระหว่างปี 2494-2523 และมีอัตราส่วนสูงที่สุดในจีดีพีของอินเดีย คือประมาณร้อยละ 55 ในปี 2550 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 15 ในปี 2493[19]

การบริการทางธุรกิจ (เทคโนโลยีสารสนเทศ, การจ้างทำกระบวนการธุรกิจ) เป็นหนึ่งในธุรกิจที่เติบโตเร็วที่สุด โดยนับเป็นหนึ่งในสามของการบริการทั้งหมดในปี 2543 การเติบโตในธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศมีผลมาจากการที่อินเดียมีความสามารถเฉพาะทางที่เพิ่มมากขึ้น บวกกับแรงงานจำนวนมากที่มีค่าแรงถูก แต่ความสามารถสูง มีการศึกษา และสามารถพูดภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว ซึ่งตรงกับความต้องการจากบริษัทต่างชาติที่สนใจในการส่งออกการบริการเหล่านี้ หรือบริษัทที่ต้องการจะจัดจ้างบุคคลภายนอก

อัตราส่วนของอุตสาหกรรมไอทีในอินเดียเมื่อเทียบกับจีดีพีของประเทศเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.8 ในปี 2548-2549 เป็นร้อยละ 7 ในปี 2551 [25][26] ในปี 2552 บริษัทอินเดีย 7 แห่งถูกจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 15 บริษัทรับจ้างทางเทคโนโลยีชั้นนำของโลก[27] ในเดือนมีนาคม 2552 รายได้ประจำปีจากการรับจ้างทางธุรกิจมีจำนวนมากถึง 6 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐคิดเป็นเงินอินเดียอยู่ที่4,495.713ล้านล้านรูปีอินเดีย และมีการประมาณว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 2.25 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐคิดเป็นเงินอินเดียอยู่ที่16,858,923,750,000รูปีอินเดียในปี 2563[28]

ธุรกิจค้าปลีกที่บริหารในรูปบริษัท เช่นซูเปอร์มาร์เก็ต มีจำนวนเป็นร้อยละ 24 ของตลาดทั้งหมดในปี 2551[29] มีกฎเกณฑ์หลายข้อที่ป้องกันต่างชาติไม่ให้เข้ามาลงทุนในธุรกิจค้าปลีก นอกจากนี้ ร้านค้าจะต้องผ่านกฎหมายมากกว่า 30 ฉบับ เช่น “ใบอนุญาตป้าย” และ “มาตรการห้ามการกักตุน” ก่อนที่จะสามารถเปิดร้านได้ และยังมีภาษีที่เก็บเมื่อเคลื่อนย้ายสินค้าระหว่างรัฐ รวมทั้งภายในรัฐเองด้วย[29]

การท่องเที่ยวในอินเดียแม้ยังไม่ได้พัฒนาเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่น ๆ แต่ก็เติบโตด้วยอัตราสองหลัก โรงพยาบาลหลายแห่งพยายามดึงดูดนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์[30]

การทำเหมืองแร่นับเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจอินเดีย อินเดียสามารถผลิตแร่ธาตุได้มากถึง 79 ชนิด (ไม่รวมทรัพยากรเชื้อเพลิงและพลังงานปรมาณู) ในปี 2552-2553 ซึ่งรวมทั้งแร่เหล็ก, แมงกานีส, ไมกา, บอกไซต์, โครไมต์, หินปูน, แร่ใยหิน, ฟลูโอไรต์, ยิปซัม, ดิน ochre, ฟอสฟอไรต์, และทรายซิลิกา[31]

ภาคเกษตรกรรม[แก้]

อินเดียมีผลผลิตทางการเกษตรเป็นอันดับสองของโลก ภาคเกษตรกรรมและภาคที่เกี่ยวข้อง เช่นการป่าไม้ ประมง มีขนาดร้อยละ 15.7 ของจีดีพีในปี 2552-2553, มีอัตรส่วนการจ้างงานร้อยละ 52.1 ของแรงงานทั้งหมด และแม้อัตราส่วนของภาคเกษตรกรรมเมื่อเทียบกับจีดีพีจะมีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ แต่ก็ยังคงเป็นภาคธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดและมีความสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของอินเดีย[32] ผลิตผลทางการเกษตรต่อหน่วยพื้นที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่ปี 2493 เนื่องจากมีการให้เน้นย้ำเรื่องเกษตรกรรมในแผน 5 ปี ประกอบกับการพัฒนาด้านชลประทาน เทคโนโลยี การรับเอาการเกษตรรูปแบบใหม่ และการให้สินเชื่อและเงินสนับสนุนทางการเกษตรในช่วงการปฏิวัติเขียวในอินเดีย อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับระดับนานาชาติแล้ว ผลิตผลทางการเกษตรเฉลี่ยของอินเดียนับเป็นเพียงร้อยละ 30 ถึง 50 ของผลิตผลทางการเกษตรเฉลี่ยที่สูงที่สุดของโลกเท่านั้น[33]

สกุลเงิน[แก้]

เงินรูปีอินเดียเป็นเงินสกุลเดียวที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายของอินเดีย อัตราแลกเปลี่ยนเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2564 คือ 1รูปีอินเดียเท่ากับ 0.44 บาท [34] และเงินรูปีอินเดียยังสามารถชำระหนี้ได้ตามกฎหมายในประเทศเนปาลและภูฏาน ซึ่งอิงสกุลเงินของตนเองกับรูปีอินเดียได้อีกด้วย เงินรูปีมีค่าเท่ากับ 100 ไพซา ธนบัตรที่ใหญ่ที่สุดคือธนบัตร 1,000 รูปี และเหรียญที่เล็กที่สุดที่หมุนเวียนทั่วไปคือเหรียญ 25 ไพซา (เคยมีการใช้เหรียญ 1, 2, 5, 10 และ 20 ไพซา แต่ภายหลังธนาคารกลางอินเดียยกเลิกไป) [35]

เงินรูปีอ่อนตัวต่ำสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อต้นปี 2552 เนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่ถดถอย แต่เศรษฐกิจของอินเดียฟื้นตัวได้เร็วกว่าประเทศตะวันตกเพราะตลาดภายในประเทศที่แข็งแกร่ง ในเดือนกันยายน 2552 เงินรูปีเริ่มแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักส่วนใหญ่ เงินรูปีที่แข็งค่าขึ้นมีส่วนทำให้รัฐบาลอินเดียซื้อทอง 200 ตันจากไอเอ็มเอฟเพื่อกระจายความเสี่ยง[36]

ธนาคารกลางอินเดียก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2478 ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานทางการเงินของประเทศ ผู้ควบคุมและกำกับระบบการเงิน ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน และเป็นผู้ออกธนบัตร ธนาคารกลางอินเดียถูกควบคุมโดยคณะกรรมการกลางซึ่งมีผู้ว่าที่ถูกแต่งตั้งโดยรัฐบาลกลางของอินเดีย

อ้างอิง[แก้]

  1. "India". International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 21 April 2010.
  2. "CIA — The World Factbook — Rank Order — GDP (purchasing power parity)". Cia.gov. 2009-03-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2009-03-13.
  3. "India Vision 2020" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2009-12-12.
  4. Marketing in the 21st Century: New world marketing - By Bruce David Keillor. Books.google.com. ISBN 9780275992767. สืบค้นเมื่อ 2010-04-05.
  5. Eugene M. Makar (2007). An American's Guide to Doing Business in India.
  6. 6.0 6.1 "Economic survey of India 2007: Policy Brief" (PDF). OECD. สืบค้นเมื่อ 2009-06-21.
  7. 7.0 7.1 "India Stumbles in Rush to a Free Market Economy". New York Times.
  8. "India's Rising Growth Potential" (PDF). Goldman Sachs. 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-24. สืบค้นเมื่อ 2009-06-21.
  9. "Doing Business in India 2009". World Bank. สืบค้นเมื่อ 2010-06-08.
  10. "India now second fastest growing economy". Australiannews.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-24. สืบค้นเมื่อ 2010-04-05.
  11. Maurice R. Landes (2009-12-17). "USDA - India". Ers.usda.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-20. สืบค้นเมื่อ 2010-04-05.
  12. Marketing in the 21st Century: New world marketing - By Bruce David Keillor. Books.google.com. ISBN 9780275992767. สืบค้นเมื่อ 2010-04-05.
  13. "World GDP Contracted 2% in 2009". สืบค้นเมื่อ 2010-07-02.[ลิงก์เสีย]
  14. "India's fiscal deficit to be highest in the world: Goldman". Rediff.com. 2004-12-31. สืบค้นเมื่อ 2010-04-05.
  15. http://www.business-standard.com/india/news/pmeac-for-including-expense-targets-in-fiscal-discipline/374074/ PMEAC for including expense targets in fiscal discipline
  16. "Tyres & Accessories". Reifenpresse.de. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-23. สืบค้นเมื่อ 2008-11-03.
  17. "The small car dream-merchants- Tata's People's Car-Specials-The Economic Times". Economictimes.indiatimes.com. สืบค้นเมื่อ 2008-11-03.
  18. 18.0 18.1 "The Next People's Car". forbes.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-03. สืบค้นเมื่อ 2008-01-21.
  19. 19.0 19.1 "CIA - The World Factbook - India". CIA. 2007-09-20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-11. สืบค้นเมื่อ 2007-10-02.
  20. "Census Reference Tables B-Series Economic Tables". Censusindia.gov.in. สืบค้นเมื่อ 2008-11-03.
  21. "Economic structure". The Economist. 6 October 2003.
  22. "Old India awakes". The Economist. 12 February 2004.
  23. "Industry Overview — Indian Overview". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-24. สืบค้นเมื่อ 2010-10-23.
  24. "Helping Tirupur emerge as a leader in knitwear exports in India — Tiruppur". The Hindu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-28. สืบค้นเมื่อ 2010-10-23.
  25. "Share of IT, ITeS in Indias GDP to go up to 7% by 2008". domain-b.com. 20 December 2006.
  26. "The Coming Death Of Indian Outsourcing". Forbes. 2008-02-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-22. สืบค้นเมื่อ 2010-10-27.
  27. Sheth, Niraj (2009-05-28). "Outlook for Outsourcing - WSJ". Online.wsj.com. สืบค้นเมื่อ 2010-04-05.
  28. "India's Revenue From Outsourcing Could Be $225B in 2020". Pcworld.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-12. สืบค้นเมื่อ 2010-04-05.
  29. 29.0 29.1 "Retailing in India Unshackling the chain stores". Economist. 2008.
  30. Mudur, Ganapati (June 2004). "Hospitals in India woo foreign patients". British Medical Journal. 328 (7452): 1338. doi:10.1136/bmj.328.7452.1338. PMC 420282. PMID 15178611.
  31. "National Mineral Scenario" (PDF). Ministry of Mines, Government of India. สืบค้นเมื่อ 2010-11-19.[ลิงก์เสีย]
  32. Economic Survey 2010, p. 180.
  33. Datt & Sundharam 2009, pp. 499–501
  34. "Historical Foreign Exchange Rates". ธนาคารแห่งประเทศไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-28. สืบค้นเมื่อ 2010-10-19.
  35. "RBI". RBI. สืบค้นเมื่อ 2009-03-13.
  36. "Full circle: India buys 200 tons gold from IMF". The Times of India. 2009-11-04. สืบค้นเมื่อ 2010-10-19.

เชิงอรรถ[แก้]

หนังสือ
  • Alamgir, Jalal (2008). India's Open-Economy Policy. Routledge. ISBN 9780415776844.
  • Bharadwaj, Krishna (1991). "Regional differentiation in India". ใน Sathyamurthy, T.V. (ed.) (บ.ก.). Industry & agriculture in India since independence. Oxford University Press. pp. 189–199. ISBN 0195643941. {{cite book}}: |editor= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  • Kumar, Dharma (Ed.) (1982). The Cambridge Economic History of India (Volume 2) c. 1757 - c. 1970. Penguin Books.
  • Nehru, Jawaharlal (1946). Discovery of India. Penguin Books. ISBN 0-14-303103-1.
  • Roy, Tirthankar (2000). The Economic History of India. Oxford University Press. ISBN 0-19-565154-5.
  • Sankaran, S (1994). Indian Economy: Problems, Policies and Development. Margham Publications.
เอกสาร
สิ่งพิมพ์ของรัฐบาล
ข่าว
บทความ

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

เว็บไซต์ของรัฐบาลอินเดีย
สิ่งพิมพ์และสถิติ