รัฐประหารในประเทศสยาม มิถุนายน พ.ศ. 2476

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐประหารในประเทศสยาม มิถุนายน พ.ศ. 2476

พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ผู้นำรัฐประหาร ในปี พ.ศ. 2476
วันที่20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 (90 ปีที่แล้ว)
สถานที่
ไทย ราชอาณาจักรไทย
ผล
คู่สงคราม
คณะราษฎร รัฐบาลพระยามโนปกรณนิติธาดา
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
พระยาพหลพลพยุหเสนา
หลวงพิบูลสงคราม
หลวงศุภชลาศัย
พระยามโนปกรณนิติธาดา

รัฐประหารในประเทศสยาม มิถุนายน พ.ศ. 2476 เป็นรัฐประหารในประเทศสยาม เกิดขึ้นเมื่อวันอังคารที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 นำโดย พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา หลวงพิบูลสงคราม หลวงศุภชลาศัย ยึดอำนาจการปกครองของนายกรัฐมนตรี พระยามโนปกรณ์นิติธาดา

อดีตรัฐ

อดีตรัฐในอารักขาของไทยนั้นมีหลายแห่ง ซึ่งบางแห่งในปัจจุบันได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอื่นๆ หรือได้รับเอกราชของตนเอง รัฐเหล่านี้เป็นที่รู้จักในฐานะที่เคยอยู่ในอารักขาหรือภายใต้การควบคุมของสยามในช่วงต่างๆ ของประวัติศาสตร์ ตัวอย่างของรัฐในอารักขาของไทย ได้แก่:

1. **รัฐฉาน (Shan States)**: ปัจจุบันอยู่ในเมียนมา (พม่า) รัฐฉานเคยอยู่ในอารักขาของไทยในช่วงรัชกาลของพระเจ้าตากสินมหาราชและรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 3

2. **หลวงพระบาง**: ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศลาว เคยเป็นรัฐในอารักขาของไทยในช่วงราชวงศ์จักรี

3. **รัฐล้านนา**: ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทยในภาคเหนือ แต่ในอดีตมีการปกครองตนเองภายใต้อิทธิพลของกรุงสยาม

4. **เมืองมะริดและตะนาวศรี**: ปัจจุบันอยู่ในเมียนมา (พม่า) เคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาและธนบุรี

5. **รัฐมลายูตอนบน**: ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของมาเลเซีย ได้แก่ ปัตตานี ไทรบุรี กลันตัน และตรังกานู รัฐเหล่านี้เคยอยู่ในอารักขาของไทยในช่วงสมัยอยุธยาและต้นกรุงรัตนโกสินทร์

เหตุการณ์[แก้]

รัฐประหารครั้งนี้มีหลังจากที่หลวงประดิษฐ์มนูธรรมถูกบังคับให้ออกจากประเทศไทย ด้วยถูกโจมตีว่าเป็นคอมมิวนิสต์จากการเสนอสมุดปกเหลือง ตามด้วยการที่พระยามโนปกรณ์นิติธาดาประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดสภาฯ และงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตราตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน

ในเดือนมิถุนายน สี่ทหารเสือคณะราษฎรลาออกจากตำแหน่งสำคัญทางทหาร พระยามโนปกรณ์นิติธาดาจึงแอบร่วมมือกับพันโทพระยาศรีสิทธิสงคราม ว่าที่เจ้ากรมยุทธการทหารบก วางแผนจับกุมและประหารชีวิตคณะราษฎรจำนวนหกสิบคน[1] แต่ข่าวรั่วถึงพันโทหลวงพิบูลสงครามเสียก่อน

ในเวลาหัวค่ำของคืนวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 คณะทหารบก, ทหารเรือ และพลเรือน นำโดยพระยาพหลพลพยุหเสนา, หลวงพิบูลสงคราม และหลวงศุภชลาศัย ได้นำกำลังทหารบีบให้พระยามโนปกรณ์นิติธาดาลาออกจากตำแหน่ง โดยอ้างเหตุผลว่าเพราะรัฐบาลกระทำการเป็นเผด็จการ ทำลายระบอบใหม่[2]

ผลสืบเนื่อง[แก้]

พระยาพหลพลพยุหเสนามอบหมายให้เจ้าพระยาพิชัยญาติ ประธานสภาผู้แทนราษฎร นำความกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัววังไกลกังวล หัวหิน เพื่อโปรดเกล้าฯ ให้เปิดประชุมสภาฯ พร้อมถวายรายงานเรื่องการยึดอำนาจ ที่ประชุมสภาลงมติเลือกพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ พระยาพหลพลพยุหเสนาดำรงตำแหน่งเพียงสิบวันก็ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ด้วยเห็นว่าตนเป็นผู้บัญชาการทหารบก มิสมควรจะเป็นผู้นำรัฐบาล แต่ในหลวงยับยั้งการลาออก

อีกด้านหนึ่ง บุคคลสำคัญรัฐบาลชุดที่แล้ว เช่น พระยาทรงสุรเดช ก็เดินทางออกนอกประเทศและถูกกีดกันจากแวดวงการเมือง ส่วนพระยามโนปกรณ์นิติธาดาเลือกเดินทางลี้ภัยไปที่ปีนัง อีกด้านหนึ่ง พระยาศรีสิทธิสงครามก็แค้นหลวงพิบูลสงครามถึงขั้นประกาศว่าจะต้องฆ่าให้ตาย[3]

การรัฐประหารในครั้งนี้มีบันทึกของพระยาพหลพลพยุหเสนาไว้ว่า ง่ายดายกว่าเมื่อครั้งปฏิวัติวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ซึ่งการรัฐประหารครั้งนี้ ผู้ก่อการต้องกระทำ หาไม่แล้ว อาจจะถูกจัดการหมดทั้งคณะจากกลุ่มที่นิยมระบบการปกครองแบบเก่าก็ได้[4]

การเปลี่ยนแปลง:

1. **การเปลี่ยนแปลงทางการปกครอง:** การรัฐประหารทำให้ประเทศไทยไม่ได้มีระบบการปกครองที่มีอำนาจสัมพันธ์กับกษัตริย์เท่านั้นแล้ว แต่มีระบบที่มีการมีส่วนร่วมของพลเมืองทั่วไปในการควบคุมและรับผิดชอบต่อระบบการปกครองของประเทศ

2. **การกำหนดระบอบการปกครองใหม่:** รัฐประหารนี้เปิดทางให้เกิดระบบการปกครองใหม่ที่มีประชาธิปไตยเบื้องต้น โดยมีประธานาธิบดีเป็นตัวแทนของผู้คน ซึ่งจัดตั้งรัฐธรรมนูญใหม่เพื่อระบุสิทธิและเสรีภาพพื้นฐานของประชาชน

3. **ผลกระทบในอาชีพและสังคม:** การปฏิวัติทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในวงการทางการเมือง ธุรกิจ และสังคม โดยเฉพาะในเรื่องของความเสรีและความเป็นธรรมที่มีผลต่อการพัฒนาของประเทศไทยในอนาคต

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ณัฐพล ใจจริง, กบฏบวรเดช: เบื้องแรกปฏิปักษ์ปฏิวัติสยาม 2475, (กรุงเทพ: มติชน, 2559)
  2. หน้า 17, อำนาจ ๒ โดย รุ่งมณี เมฆโสภณ (มีนาคม พ.ศ. 2555) ISBN 978-616-536-079-1
  3. หนังสือที่ระลึกในงานพิธีพระราชทานเพลิงร้อยโทจงกล ไกรฤกษ์. หน้า 35-40
  4. สิริรัตน์ เรืองวงษ์วาร, ประวัติศาสตร์การเมืองไทย ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, พ.ศ. 2539, หน้า 86-87