ข้ามไปเนื้อหา

ฟรันทซ์ ชูเบิร์ท

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ฟรันซ์ ชูแบร์ท)
ฟรันทซ์ เพเทอร์ ชูเบิร์ท
เกิด31 มกราคม ค.ศ. 1797
Himmelpfortgrund ประเทศออสเตรีย
เสียชีวิต19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1828
เวียนนา ประเทศออสเตรีย
สัญชาติออสเตรีย
อาชีพคีตกวี
ฟรันทซ์ ชูเบิร์ท

ฟรันทซ์ เพเทอร์ ชูเบิร์ท (เยอรมัน: Franz Peter Schubert; 31 มกราคม พ.ศ. 234019 พฤศจิกายน พ.ศ. 2371) คีตกวีชาวออสเตรีย

ประวัติ[แก้]

ฟรันทซ์-เพเทอร์ เกิดที่เมืองลิชเทินทาล (Lichtenthal) ใกล้กับกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อปี พ.ศ. 2340 (ค.ศ. 1797) บิดาของเขา ฟรันทซ์-เทโอดอร์ เป็นครูโรงเรียนมัธยม ได้สอนให้เขาเล่นไวโอลินเป็นเครื่องดนตรีชิ้นแรก ในขณะที่อิกนาทซ์ (Ignaz) พี่ชายได้สอนเปียโนให้แก่เขา ระหว่างปี พ.ศ. 2351 ถึง พ.ศ. 2356 (ค.ศ. 1808 - 1813) เขาได้เป็นนักร้องในวงประสานเสียงประจำวิหารหลวงแห่งกรุงเวียนนา และได้เข้าเรียนที่ค็อนวิคท์ (Konvikt, โรงเรียนฝึกหัดนักร้องเพื่อวิหารและราชสำนัก) เขาจึงได้เป็นศิษย์ของอันโตนีโอ ซาลีเอรี ผู้อำนวยการวงดนตรีประจำราชสำนัก

ระหว่างช่วงเวลาที่เขาศึกษาอยู่ที่นี่ เขาเริ่มประพันธ์เพลง โดยเริ่มจากบทเพลงสำหรับเปียโนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2353 (ค.ศ. 1810) ต่อมาก็แต่งเพลงสำหรับวงสตริงควอเท็ตที่ใช้เครื่องสายอย่างน้อยแปดชิ้น รวมถึงเพลงโหมโรง รวมทั้งบทเพลงประเภทอื่น ๆ ในปี พ.ศ. 2356 (ค.ศ. 1813) เขาได้รับอิทธิพลอย่างมากจากว็อล์ฟกัง อมาเดอุส โมทซาร์ท ในการประพันธ์ซิมโฟนี สองปีต่อมาได้ประพันธ์อุปรากรเรื่องแรก เพลงสวดบทแรก และผลงานชิ้นเอกของเขาที่เป็นเพลงร้อง (Lied) ชื่อเพลง Marguerite au rouet จาก Gretchen am Spinnrade

ไม่กี่ปีต่อมาที่ประเทศฮังการี เขาเป็นพ่อทูนหัวให้กับบุตรของเคานต์แห่งแอ็สแตร์ฮาซี ได้พบกับรักที่ไม่สมหวัง และกลับมาใช้ชีวิตที่กรุงเวียนนาอีกครั้ง ทั้งชีวิตของเขาได้อุทิศให้กับดนตรี, การแต่งเพลง และการสังสรรค์กับเพื่อนฝูง (กลุ่มสหายของชูเบิร์ท) ในร้านทำขนมที่กรุงเวียนนา

ในปี พ.ศ. 2365 (ค.ศ. 1822) ชูเบิร์ทป่วยด้วยโรคซิฟิลิส บางคนเชื่อว่าเขาเป็นพวกรักร่วมเพศ สุขภาพของเขาทรุดโทรมลงเป็นอันมาก แต่เขาก็สามารถประพันธ์บทเพลงอันไพเราะออกมาได้จากการเฉียดตายและความทรมานจากความตาย (การเดินทางในฤดูหนาว ควอร์เต็ตหมายเลข 14 ชื่อ หญิงสาวกับความตาย) ชูเบิร์ทเสียชีวิตเมื่อปี พ.ศ. 2371 (ค.ศ. 1828) เพื่อตอบสนองคำขอร้องสุดท้ายขอเขา ชูเบิร์ทได้ถูกฝังใกล้กับหลุมฝังศพของลูทวิช ฟัน เบทโฮเฟิน ผู้ที่ชูเบิร์ททั้งรู้สึกดึงดูดมาตลอดชีวิต

ผลงาน[แก้]

ลายมือของฟรันทซ์ ชูเบิร์ท

ผลงานชิ้นสำคัญ[แก้]

สำหรับวงออร์เคสตรา[แก้]

  • 8e symphonie dite « L'inachevée » D.759 ;
  • 9e symphonie dite « La grande » D.944

สำหรับเปียโน[แก้]

  • Huit impromptus
  • Les six moments musicaux
  • 21 Sonates pour piano, dont
    • 21ème sonate en Si bémol majeur D960
    • 20ème sonate en La majeur D959
    • 19ème sonate en Ut mineur D958
    • 18ème sonate en Sol majeur (Fantaisie) D 894
    • 17ème sonate en en Ré majeur D850
    • 16ème sonate en La mineur D845
    • 15ème sonate en Ut majeur D894
    • 14ème sonate en La mineur D784
    • 13ème sonate en La majeur D664
    • 11ème sonate en Fa mineur D625
    • 9ème sonate en Si bémol majeur D575
    • 8ème sonate en Mi bémol majeur D 568
    • 6ème sonate en Mi majeur D566
    • 5ème sonate en Mi bémol majeur D557
    • 4ème sonate en La mineur D537
    • 1ère sonate en Mi majeur D157
  • Fantaisie à 4 mains en fa mineur D940

เชมเบอร์มิวสิก[แก้]

ดนตรีขับร้อง[แก้]

สื่อ[แก้]

ผู้เล่นผลงานของชูเบิร์ทที่มีชื่อเสียง[แก้]

ผลงานที่มีแรงบันดาลใจจากชูเบิร์ท[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]