ข้ามไปเนื้อหา

กาโรลึส กลือซียึส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ชาร์ลส์ เดอ เลอคลูส์)
กาโรลึส กลือซียึส
กาโรลึส กลือซียึส
เกิด19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1526
เสียชีวิต4 เมษายน ค.ศ. 1609
สัญชาติชาวเบลเยียม
อาชีพแพทย์และนักพฤกษศาสตร์
ผลงานเด่นExoticorum libri decem
ตำแหน่งนักพฤกษศาสตร์
นักพฤกษศาสตร์

กาโรลึส กลือซียึส (ดัตช์: Carolus Clusius) หรือ ชาร์ล เดอ เลกลูซ (ฝรั่งเศส: Charles de L'Écluse, Charles de L'Escluse; 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1526 - 4 เมษายน ค.ศ. 1609) เป็นนายแพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวเฟลมิชคนสำคัญ เกิดเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1526 ที่เมืองอารัสในประเทศฝรั่งเศสปัจจุบัน และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1609 ที่เมืองไลเดินในประเทศเนเธอร์แลนด์ปัจจุบัน อาจถือว่ากลือซียึสเป็นนักพฤกษศาสตร์ผู้เป็นผู้นำคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งของคริสต์ศตวรรษที่ 16 ของสาขาพืชกรรมสวน

กลือซียึสได้รับการศึกษาด้านการแพทย์ที่มงเปอลีเยกับกีโยม รงเดอแล (Guillaume Rondelet) ศาสตราจารย์แพทย์ศาสตร์คนสำคัญ แต่ก็ไม่มีโอกาสได้ทำหน้าที่เป็นแพทย์ตามที่ได้ร่ำเรียนมา ในปี ค.ศ. 1573 กลือซียึสก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ดูแลสวนสมุนไพรหลวงในกรุงเวียนนาโดยจักรพรรดิมักซีมีเลียนที่ 2 และเป็นพนักงานห้องพระบรรทม แต่รับตำแหน่งอยู่ไม่นานก็ถูกปลดเมื่อจักรพรรดิรูดอล์ฟที่ 2 ขึ้นครองราชย์ในปี ค.ศ. 1576 หลังจากออกจากเวียนนาในปลายคริสต์ทศวรรษ 1580 แล้ว กลือซียึสก็ไปทำงานอยู่ที่แฟรงก์เฟิร์ตก่อนที่จะได้รับตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยไลเดินในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1593 กลือซียึสเป็นผู้ช่วยในการก่อตั้งสวนพฤกษศาสตร์อย่างเป็นทางการของยุโรปเป็นแห่งแรก ๆ ที่ไลเดิน คือ "สวนพฤกษศาสตร์ไลเดิน" (Hortus Botanicus Leiden) รายละเอียดของพืชที่ปลูกที่บันทึกไว้สามารถทำให้สามารถรื้อฟื้นการสร้างสวนเดียวกันนั้นขึ้นใหม่ได้ไม่ไกลจากส่วนเดิมเท่าใดนัก

ในด้านประวัติศาสตร์การสวน กลือซียึสเป็นผู้มีชื่อเสียงไม่แต่ในด้านความรู้ความสามารถแต่ยังในด้านการสังเกตเกี่ยวกับการแตกสีของทิวลิป — ที่ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 จึงได้ทราบกันว่าเกิดจากไวรัส — ที่ทำให้ดอกทิวลิปแตกออกเป็นสีต่าง ๆ และมีลักษณะเป็นเปลว หรือขนนกที่นำไปสู่การเก็งกำไรการซื้อหัวทิวลิปที่เชื่อกันว่าจะแตกสีในเหตุการณ์ที่เรียกกันว่า "ความคลั่งทิวลิป"[1] ที่เกิดขึ้นในเนเธอร์แลนด์ในคริสต์ทศวรรษ 1630 กลือซียึสเป็นผู้วางรากฐานการขยายสายพันธุ์ทิวลิปและระบบการซื้อขายหัวทิวลิปที่กลายมาเป็นอุตสาหกรรมสำคัญของเนเธอร์แลนด์ในปัจจุบัน

กลือซียึสมีงานแปลและงานเขียนหลายชิ้นซึ่งรวม หนังสือสัตววิทยาและพฤกษศาสตร์โพ้นทะเลสิบเล่ม (Exoticorum libri decem) ไว้ด้วย

อ้างอิง[แก้]

  1. Garber, Peter M. (1989), "Tulipmania", Journal of Political Economy, 97 (3): 535–560, doi:10.1086/ {{citation}}: ตรวจสอบค่า |doi= (help)

ดูเพิ่ม[แก้]